วันศุกร์

ว่าด้วยเรื่องของ คอนกรีตหมดอายุ ปูนผสมเสร็จหมดอายุ คืออะไร

คอนกรีตผสมเสร็จหมดอายุ คืออะไร

         สำหรับท่านที่เคยเห็นรถปูน หรือรถโม่ปูน วิ่งเร็วแข่งกับเวลาบนท้องถนนทุกวันนั้น เนื่องจากเพื่อทำเวลาไม่ให้คอนกรีตผสมเสร็จที่บรรทุกอยู่ด้านในนั้นหมดอายุหรือเสียไปนั้นเอง

         คำว่าหมดอายุนี้ ไม่ได้หมายความว่าเนื้อคอนกรีตนั้นจะเน่าหรืออย่างไร แต่หมายความว่าคอนกรีตนั้นเริ่มเข้าสู่กระบวนการการแข็งตัวหรือเซ็ตตัวแล้วต่างหาก เนื่องจากคอนกรีตที่ผสมเสร็จมาจากโรงงานนั้นเป็นคอนกรีตที่ผสมมาในอัตราส่วนที่เหมาะสมสำหรับงานนั้นๆ เช่น เทพื้น หล่อเสา เป็นต้น ซึ่งจะมีค่ากำลังอัด หรือค่ายุบตัวตามที่เจ้าของงาน หรือวิศวกรกำหนดมา โดยเมื่อซีเมนต์ผสมน้ำ หิน และสารประกอบต่างๆ จนกลายเป็นคอนกรีตแล้ว จะเริ่มแข็งตัวภายในเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้น (เช่นเดียวกันกับคอนกรีตที่ผสมเองหน้างาน) ยกเว้นถ้าทางโรงงานผสมน้ำยาหน่วงคอนกรีตมาให้ ซึ่งสามารถยืดอายุคอนกรีตให้นานขึ้นได้ เป็น 2-4 ชั่วโมง (สำหรับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 1 เท่านั้น) แต่ปกติจะไม่เกิน 2 ชั่งโมง ซึ่งโดยส่วนใหญ่ทางโรงงานจะคำนวณระยะทางและเวลาเพื่อเติมน้ำยาหน่วงคอนกรีตไว้ให้แล้วเพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่ง และลำเลียงไปยังหน้างาน เพื่อผู้รับเหมาจะได้เทคอนกรีตลงแบบได้ทันท่วงทีก่อนที่คอนกรีตจะหมดอายุ
             
       ดังนั้น ก่อนสั่งซื้อคอนกรีตผสมเสร็จจากโรงงาน ควรตรวจสอบระยะทาง และระยะเวลาในการเดินทางให้ดี รวมถึงการวางแผนกำลังพล (คนงาน) และการเตรียมพื้นที่หน้างานให้พร้อม ไม่เช่นนั้นคอนกรีตอาจแข็งตัวคาโม่รถปูนได้ เพราะหากนำมาผสมน้ำเพิ่มเติมที่หน้างานเพื่อให้คอนกรีตเหลว จะทำให้คุณภาพของคอนกรีตลดลงและผิดเพี้ยนไป ส่งผลต่อค่ากำลังอัดของคอนกรีตโดยตรง หรือติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อเช็คเส้นทางได้

วันพฤหัสบดี

มาตราส่วน : การหาขนาดของพื้นที่ ที่ดิน สำหรับการคำนวณหาพื้นที่ใช้เทคอนกรีตผสมเสร็จ และพื้นที่ทั่วไป (ไร่ - งาน - ตารางวา - ตารางเมตร)

มาตราส่วนที่ดิน สำหรับการหาขนาดของพื้นที่ สำหรับเทคอนกรีตผสมเสร็จ หรือ พื้นที่ใช้งานทั่วไป

โดยปกติในปัจจุบัน หน่วยที่ใช้สำหรับบงบอกขนาดของพื้นที่ สำหรับงานก่อสร้างทั่วไป หรือสำหรับงานเทคอนกรีตผสมเสร็จ มักจะใช้ หน่วยเป็น "ตารางเมตร หรือ ตร.ม." ในการคำนวณพื้นที่ใช้งานหรือปริมาณวัสดุก่อสร้าง หรือ หาปริมาณคอนกรีตผสมเสร็จ โดยการเปรียบเทียบมาตราส่วนที่ดินแบบง่ายๆ คือ

1 ตารางวา = 4 ตารางเมตร
100 ตารางวา = 400 ตารางเมตร หรือเท่ากับ  1 งาน
4 งาน = 400 ตารางวา หรือ 1,600 ตารางเมตร หรือเท่ากับ 1 ไร่
(มาตราส่วน :  1 วา เท่ากับ 2 เมตร )

และการหาพื้นที่ต่อตารางเมตร ก็ไม่ยาก คือ นำด้านกว้าง หน่วยเป็นเมตร คูณ ด้านยาว หน่วยเป็นเมตร
เช่น กว้าง(ม.) X ยาว(ม.) : กว้าง 2 เมตร X ยาว 4 เมตร  = 8 ตารางเมตร

เมื่อได้พื้นที่ต่อตารางเมตรแล้ว สามารถคำนวณหาปริมาณคอนกรีตที่จะใช้ได้ ที่นี้-> การคำนวณ การใช้คอนกรีตผสมเสร็จ ว่าต้องใช้กี่คิว

สามารถดูตารางด้านล่างเปรียบเทียบมาตราส่วนได้


ตัวอย่างการแปลงค่า เพื่อหาขนาดพื้นที่ที่ต้องการ เมื่อทราบหน่วยใดหน่วยหนึ่ง โดยยึดมาตรฐานส่วนที่ดินด้านบน^^

วันเสาร์

จำหน่ายคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ สุขสวัสดิ์ พระประแดง พระสมุทรเจดีย์ ปูเจ้าสมิงพราย สำโรงใต้ บางจาก เพชรรุงษ์ บางปลากดบางหญ้าแพรก บางกระสอบ ประชาอุทิศ คู่สร้าง นาเกลือ คลองสวน ศรีเขื่อนขันธ์ สมุทรปราการ

บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ คอนกรีตเทพื้นเทคาน เข็มเจาะ ปูนผสมเสร็จ ถนนสุขสวัสดิ์ พระปะแดง พระสมุทรเจดีย์ ถนนปูเจ้าสมิงพราย สำโรงใต้ สำโรงกลาง ถนนเพชรรุงษ์ บางจาก บางครุ บางหญ้าแพรก บางยอ บางน้ำผึ้ง สะพานติมิพล วงแหวนอุตสหกรรม สมุทรปราการ บางหัวเสือ บางกอบัว บางกระสอบ บางปลากด แหลมฟ้าฝ่า ประชาอุทิศ คู่สร้าง นาเกลือ คลองสวน

ต้องการเช็คราคา จองคิว สั่งซื้อคอนกรีตผสมเสร็จ คลิกที่นี้

กำลังอัดคอนกรีต(Cube)และ(Cylinder) ที่ 180,210,240,280,300,320,350,380,400

หากไม่ทราบกำลังอัดที่ใช้ สามารถดู ตารางแนะนำการเลือกใช้กำลังอัดคอนกรีตให้เหมาะสมกับงาน

โปรดแจ้งปริมาณคอนกรีตผสมเสร็จที่ต้องการใช้ หากไม่ทราบ สามารถดู วิธีการคำนวณหาปริมาณคอนกรีตผสมเสร็จที่ใช้

วันศุกร์

ขายคอนกรีตผสมเสร็จ คอนกรีตสำเร็จ ปูนมิกซ์ บางปูใหม่ บางปู ตำหรุ ถนนสุขุมวิท แพรกษา สมุทรปราการ

ขายคอนกรีตผสมเสร็จ คอนกรีตสำเร็จ เทคอนกรีตมิกซ์ ปูนมิกซ์ ปูนตราช้าง บริการรถโม่เล็กโม่ใหญ่ เทพื้นเทคาน สมุทรปราการ ฝั่งเหนือติดถนนแพรกษา ตะวันตกถนนสุขุมวิท จดชายฝั่งอ่าวไทย ตะวันออกเทศบาลบางปู  มีสถานที่สำคัญคือ นิคมอุสาหกรรมบางปู วิทยาลัยเทคนิดสมุทรปราการ เมืองโบราณ วัดหัวลำภูทอง โรงพยาบาลรัทรินทร์ ซอยเทศบาลบางปู บ้านพักตากอากาศบางปู สถานพยาบาลเมืองสมุทรบางปู วัดศรีจันทร์ประดิษฐ์ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติ กองทัพบก สถานตากอากาศบางปู หมู่บ้านบางปูแลนด์ ตลาดบางปูใหม่ สำนักงานขนส่งสมุทรปราการ เทศบาลบางปู สโมสรฟุตบอล สมุทรปราการ หมู่บ้านรสิกาเทพารักษ์ พิพิธภัณฑ์ครุฑ วัดน้อยสุวรรณาราม ถนนคลองตะเคียน คลองลำบางผี โรงเรียนวัดคลองเก้า หมู่บ้านเค.ซี.พาร์ควิลล์ หมู่บ้านพฤษา15 สำนักงานที่ดินสมุทรปราการ หมู่บ้านศุภาลัยวิลล์ สุขุมวิท-แพรกษา หมู่บ้านชันยพร วิทยุการสุน เคหะบางพลีใหม่ วัดโสธรนิมิตร ซอยสินสมบูรณ์ โรงเรียนอุ่นอารี ซอยเรวัต โรบินสันสมุทรปราการ ซอยอู่ทอง โรงเรียนวัดแพรกษา  ถนนตำหรุ-บางพลี เทศบาลบางปู โรงเรียนคลองกระบือ หมู่บ้านมัณฑกานต์ หมู่บ้านออมทอง โรงเรียนวัดตำหรุ โรงเรียนตำหรุมิตรภาพ ถนนสุขุมวิท สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรปราการ หมู่บ้านพรจิรา โรงเรียนคลองเสาธง โครงการชลประทานสมุทรปราการ โรงเรียนชุมชนวัดราษฐ์บำรุง วัดราษฏบำรุง วัดแสงธรรมบุราราม สถานีอนามัยบางปู วัดศรีจันทาราม ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสมุทรปราการ โครงการระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ โรงเรียนนวมิทราชินูทิศ(สวนกุหลาบ) ซอยวิทยุบางปลา โรงเรียนคลองบางปู วัดแสงธรรมบุราธรรม วัดศรีจันทราราม

ต้องการเช็คราคา จองคิว สั่งซื้อคอนกรีตผสมเสร็จ คลิกที่นี้

กำลังอัดคอนกรีต(Cube)และ(Cylinder) ที่ 180,210,240,280,300,320,350,380,400

หากไม่ทราบกำลังอัดที่ใช้ สามารถดู ตารางแนะนำการเลือกใช้กำลังอัดคอนกรีตให้เหมาะสมกับงาน

บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนผสมเสร็จ แพรกษา บางปู ท้ายบ้าน ปากน้ำ สมุทรปราการ

จำหน่ายปูนมิกซ์ บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนตราช้าง ซีเมนต์เทพื้นเทคาน เข็มเจาะ หล่อเสา พื้นที่สมุทรปราการ โซนท้ายบ้าน ปากน้ำ บางปู แพรกษา โดยด้านใต้ถนนสุขุมวิท ปากแม่น้ำเจ้าพระยาสิ้นสุดฝั่งตะวันออกที่เมืองโบราณ สถานที่สำคัญได้แก่ ถนนสายลวด โรงพยาบาลสมุทรปราการ ซอยท้ายบ้าน วัดอัครเทวดาราฟาแอลปากน้ำ โรงเรียนเซนต์ราฟาแอล สุสานปากน้ำ โรงเรียนบัวยฮัว สวนสาธารณะป้อมปีกกา ซอยหงษ์ลดารมณ์ ฟาร์มจระเข้ วัดทองดง เทศบาลบางปู สมาคมการประมงสมุทรปราการ สุขสวัสดิ์30 โรงเรียนคลองแสนสุข บ้านจอยกะโอ โรงเรียนหาดอมราอักษร วัดอโศกการาม ไปรษณีย์บางปู  สวางคนิวาส สภากาชาติไทย โรงฟอกหนัง โรงเรียนบ้านคลองหลวง ตลอดจนเทคอนกรีตผสมเสร็จ ถนนแพกษา ตำหรุ-บางพลี คลองทับนาง วิทยาลัยเทคโนโลยีสุวรรณภูมิ โครงการนครทองซิตี้  หมู่บ้านเพชรงามแพรกษา ซอยรุ่งโรจน์ โรงเรียนอนุบาลอนงค์เวช สุนทรวสุ หมู่บ้านเด่นชัย โรงเรียนปทุมคงคาสมุทรปราการ หมู่บ้านเดอะทรัสต์ หมู่บ้านกล่อมพิรุธ พฤกษาวิลล์9 ศรีนครินทร์ พฤกษาวิลเวจ15 เทพารักษ์-วงแหวน ซอยนาคทอง ซอยธรรมวงศ์ ซอยสังค์ทอง โครงการบ้านเอื้ออาทร ซอยมังกรบันดี หมู่บ้านเฟื่องฟ้าวิลล่า ซอยสุขสำราญ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเทพารักษ์ หมู่บ้านบุรีรมย์ สำนักสงฆ์ธรรมสถิตย์ โรงเรียนคลองใหม่ หมู่บ้านลลิลศรีนครินทร์ เทพารักษ์ หมู่บ้านชุติมา โรงเรียนเจริญผลแพรกษา โรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ อบต.แพรกษา พงส์สกุล หมู่บ้านรัตนธานี ซอยแพมอพัฒนา ตลาดสดแพรกษา วัดแพรกษา โรงเรียนวัดแพรกษา โรงเรียนเสงี่ยมพัทยานุกูลอนุบาล ทรัพย์บุญชัย เทศบาลบางปู ซอยปลั่งเปล่ง จัดสรรเสนาะ ซอยเอื้ออารีย์ โรงเรียนชำนิเทคโนโลยี ทองนพคุณ โรงเรียนคลองบางปิ้ง โรงแรมฮาร์ทอินท์ ถนนศรีนครินทร์ บ้านพฤกษา 47 เทพารักษ์ หนามแดง ชุมชนแพรกษานิมิตรใหม่ หมู่บ้านทรัพย์มงคล พนาสนธิซิตี้ คลองแพรกษา

ต้องการเช็คราคา จองคิว สั่งซื้อคอนกรีตผสมเสร็จ คลิกที่นี้

กำลังอัดคอนกรีต(Cube)และ(Cylinder) ที่ 180,210,240,280,300,320,350,380,400

หากไม่ทราบกำลังอัดที่ใช้ สามารถดู ตารางแนะนำการเลือกใช้กำลังอัดคอนกรีตให้เหมาะสมกับงาน

วันอังคาร

ขายปูนมิกซ์ เทคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนซีเมนต์สำเร็จ ปากน้ำ บางโปรง บางด้วน บางปู บางเมือง ศรีนครินทร์ เทพารักษ์ สุขุมวิท สายลวด สมุทรปราการ

จำหน่ายขายปูนมิกซ์ บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จคุณภาพจากปูนตราช้าง มาตรฐานซีแพค(C-pac) ทั้งงานเทพื้นงานหล่อเสา ตอหม้อเทคาน งานคอนกรีตต่างๆ ในจังหวัดสมุทรปราการ โซนปากน้ำ บางโปรง บางด้วน บางปู บางเมือง ถนนศรีนครินทร์ เทพารักษ์ สขุมวิทย์ สายลวด

คอนกรีตผสมเสร็จ : กำลังอัดคอนกรีต(Cube)และ(Cylinder) ที่ 180,210,240,280,300,320,350,380,400

เช็คราคา จองคิว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : คลิกที่นี้

*เลือกใช้กำลังอัดคอนกรีตให้เหมาะสมกับงาน : ตารางแนะนำการเลือกใช้กำลังอัดคอนกรีตผสมเสร็จ

วิธีการคำนวณ หาปริมาณคอนกรีตผสมเสร็จ ว่าต้องใช้กี่คิว คลิก!

วันเสาร์

บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ซีเมนต์สำเร็จ สำโรงเหนือ เทพารักษ์ ด่านสำโรง แบริ่ง ศรีด่าน ศรีนครินทร์ สุขุมวิท บางเมือง สมุทรปราการ

จำหน่ายขายและบริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนมิกซ์  คอนกรีตสำเร็จ ปูนเทพื้นเทคาน งานหล่อเสา เข็มเจาะ ต่างๆ ปูนซีเมนต์ตราช้าง จังหวัดสมุทรปราการ โซน สำโรงเหนือ เทพารักษ์ ซอยแบริ่ง ถนนศรีนครินทร์  สุขุมวิท ด่านสำโรง ศรีด่าน บางปูใหม่ พื้นที่ย่อยอาทิ บริเวณอิมพีเรียลเวิลด์สำโรง ซอยเหรียญ ซอยสุขุมวิท ซอยศิริคาม บิ๊กซีสำโรง โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ ถนนรางรถไฟเก่า สำโรงพลาซ่า โจหลุยส์สปอร์ตคัพ โรงเรียนมัธยมวัดด่านสำโรง วัดด่านสำโรง ซอยสองพี่น้อง ซอยสำโรงเหนือ สันติคาม ซอยพรสว่าง โรงแรมสวีทอินน์ ทิพวัลเทพารักษ์ กลุ่มพัฒนาอาชีพสตรีบางปูใหม่ ซอยแบริ่ง โรงเรียนดรุณรัตน์ ซอยด่านสำโรง ศาลหลวงพ่อทุ่ง ศรีสุวรรณ ซอยกัญญา สำนักงานเทศบาลตำบลด่านสำโรง โรงขวด ศาลาธรรมาธารพภคุณ โรงแรมเพชรอินน์ ตลาดศรีนครินทร์ ไปรษณีย์ด่านสำโรง นิยมเคหะ โรงเรียนมหาภาพกระจาดอุปถัมภ์ ซอยสามัคคี-สำโรง ซอยศรีด่าน ศุภาลัย วิลล์ สุขุมวิท-ศรีนครินทร์ โรงเรียนอนุบาลเจริญพงศ์ โรงเรียนกระทุ่มราษฏร์อุทิศ โรงแรมดี.ซี. โรงเรียนดนตรีราชพฤกษ์  โซนด้านซ้ายตัดถนนศรีนครินทร์ ฝั่งใต้ถนนเทพารักษ์ระหว่างถนนกาญจนาภิเษก  เทพารักษ์วิลเลจ หมู่บ้านร่มโพธิ์2 ภัทรนิเวศน์ เด่นทอง โรงพยาบาลจุฬารัตน์4 ตลาดเทพประทาน(หนามแดง) ล้วนพฤษา หมู่บ้านนันทวัน ตลาดสดศรีเทพา สำนักงานจัดหางาน จ.สมุทรปราการ ซอยร่มโพธิ์ ซอยชวาล ซอยที่ดินทอง ซอยหมู่บ้านทหารเรือ หมู่บ้านสกุลไพศาล หมู่บ้านภัทรนิเวศน์ ซอยยามาโมโต้ หมู่บ้านเที่ยวฟ้าวิลล่า หมู่บ้านเสรีวิลล่า นันทวรุณ ซอยนันทลัดดา หมู่บ้านธนาภิรมย์ศรีนครินทร์  หมู่บ้านพัฒนาสุข หมู่บ้านสุภาวัลย์ หมู่บ้านทรัพย์ดินทอง หมู่บ้านศรีเจริญวิลล่า ซอยสราลี ซอยมหามงกุฏ ซอยเพชรวินีรย์ นารายณ์รักษ์3 หมู่บ้านสยามนิเวศน์ ซอยมณฑาทิพย์ อบต.เทพารักษ์ โรงเรียนสุขเจริญผล หมู่บ้านพัดชา สำหรับงานเทคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ โซนต.เทพารักษ์ สมุทรปราการ ได้แก่ วัดไตรสามัคคี โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ โรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวิล โรงพยาบาลจุฬารัตน์2 ซอยภานุวงษ์ ซอยอภิชาติ หมู่บ้านนรินทร์ทอง หมู่บ้านทัพวิล หมู่บ้านทวีทอง โรงเรียนเทพศิรินทร์สมุทรปราการ โรงเรียนบางเมืองอนุสรณ์เขียนผ่องอนุสรณ์ ถนนประดิษฐ์สโมสร พฤกษาทาวน์ สขุมวิท-เทพารักษ์ โรงเรียนสิรวุฒิวิทยา โรงพยาบาลจุฬาเวช สำโรงเหนือ หมู่บ้านศรีเพชรการเคหะ หมู่บ้านเปรมฤทัย ศรีนครินทร์  หมู่บ้านเรวัตินิเวศน์ โรงแรมสตาร์อิน ซอยเทวา หมู่บ้านหมอเสนอ บางปูใหม่ ตลาดนัดทวีทอง ศาลเจ้าพ่อขุนด้านเจ้าพ่อเสือ ฮีโน่ประเทศไทย เด็นโซ่ประเทศไทย

สามารถตรวจสอบพื้นที่การให้บริการคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ หรือจองคิว เช็คราคา และสั่งซื้อได้ คลิกที่นี้

กำลังอัดคอนกรีต(Cube)และ(Cylinder) ที่ 180,210,240,280,300,320,350,380,400

วันอังคาร

ขายปูนมิกซ์ คอนกรีตผสมเสร็จ ซีเมนต์ผสมเสร็จ บางเสาธง บางบ่อ สมุทรปราการ คลองด่าน บางนา บางปะกง สุขุมวิท เทพารักษ์ เคหะบางพลี

จำหน่ายคอนกรีต บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนซ์มิกซ์ เทพื้นซีเมนต์ หล่อเสา คาน งานคอนกรีตต่างๆ โดยปูนซีเมนต์ตราช้าง จังหวัดสมุทรปราการ เขตพื้นที่อำเภอบางเสาธงและบางบ่อ 11ตำบลกับ 112 หมู่บ้าน คลองด่าน คลองสวน บางเพรียง บางพลีน้อย บ้านระกาศ ศรีษะจระเข้น้อย-ใหญ่ ถนนเทพารักษ์ ถนนเคหะบางพลี บางนา-บางปะกง ถนนกรุงเทพ-ชลบุรี ถนนรัตนราช สุขุมวิท

กำลังอัดคอนกรีต(Cube)และ(Cylinder) ที่ 180,210,240,280,300,320,350,380,400

ต้องการใช้คอนกรีตผสมเสร็จ สอบถามเพิ่มเติมโทร. คลิกที่นี้

ท่านสามารถเลือกกำลังอัดได้ตามความเหมาะสมแนะนำ จาก ตารางแนะนำการเลือกใช้กำลังคอนกรีตผสมเสร็จ


ตรวจสอบพื้นที่ให้บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนซีเมนต์ผสมเสร็จ รถโม่เล็ก-ใหญ่ ตามข้อมูลด้านล่างนี้

วันอาทิตย์

บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนผสมเสร็จเทพื้น พื้นที่บางพลี บางปู บางปลา แพรกษา เทพารักษ์ บางนา กิ่งแก้ว หนองปรือ สมุทรปราการ

จำหน่าย ขาย บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนซีเมนต์เทพื้นเทคาน งานหล่อเสา เข็มเจาะ งานคอนกรีตซีเมนต์ต่างๆ ใช้ปูนซีเมนต์ตราช้าง ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ 6ตำบลและ83หมู่บ้าน ในเขตอำเภอบางพลี ทั้งเส้นถนนเทพารักษ์ ถนนกิ่งแก้ว และบริเวณโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ ตลอดจนรับเทคอนกรีตผสมเสร็จ บางนา บางปู บางปลา แพรกษา บางพลีใหญ่ หนองปรือ ราชาเทวะ บางแก้ว บางโฉลง

กำลังอัดคอนกรีต(Cube)และ(Cylinder) ที่ 180,210,240,280,300,320,350,380,400

ทั้งนี้หากสนใจเทคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ สามารถโทรสอบถามราคาและเช็คคิวจองคอนกรีตที่ได้ที่ คลิกที่นี้

*หากยังไม่ทราบกำลังอัดที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน สามารถดู ตารางแนะนำการใช้งานคอนกรีต คลิก!ก่อนการตัดสินใจเลือกกำลังอัดคอนกรีตที่เหมาะสม หรือสอบถามเจ้าหน้าที่

ทั้งนี้สามารถตรวจสอบพื้นที่การให้บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จโดยละเอียดด้วยตัวท่านเองได้จากข้อมูลด้านล่าง

การให้บริการคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ โซน บางพลี สมุทรปราการ (ถนนบางนา-ตราด) ฝั่งตะวันตกของถนนกาญจนาภิเษก : หมู่บ้านปรีชา หมู่บ้านลดาวัลย์ หมู่บ้านเลคไซค์วิลล่า ซอยศรีด่าน ซอยพัฒนา  ถนนบ้านนครินทร์ หมู่บ้านมงคล หมู่บ้านสายรุ้ง ปลัดเปรียง โรงเรียนวัดหนามแดง Ikea Bang(ไอคีย์ บางนา) หอประชุมคุรุสภา หมู่บ้านสวนลาชาล โรงพยาบาลศิศรินทร์ วัดคลองปลัดเปรียง หมู่บ้านศุภาลัย วิลล์ กิ่งแก้ว-ศรีนครินทร์ โรงเรียนนานาฃาติคอนคอร์เดียน เมกาบางนา โรงเรียนแก้วประชาสรรค์ บางเพรียง

วันอังคาร

การซ่อมเสาและปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการซ่อมเสาคอนกรีต (Repair of Concrete Columns & Column Repair Parameters)

การซ่อมเสาคอนกรีต (Repair of Concrete Columns)
     ในการซ่อมเสาคอนกรีตควรคำนึงถึงแรงกดที่กระทำต่อเสานั้น โดยทั่วไปแล้วแรงกระทำในเสาจะประกอบด้วย แรงในแนวดิ่ง แรงทางด้านข้าง และแรงที่เกิดจากโมเมนต์ นอกจากนี้ยังจะต้องพิจารณาทั้งน้ำหนักคงที่ของตัวโครงสร้างเอง และน้ำหนักบรรทุกจร

1.ประเภทของการซ่อมเสาคอนกรีต
     การซ่อมเสาคอนกรีตแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ (1) การซ่อมผิวหรือการซ่อมเพื่อความสวยงามใช้เพื่อจัดการกับความเสียหายเฉพาะจุด และ (2) การซ่อมเพื่อเพิ่มกำลังใช้เพื่อเสริมหรือคืนกำลังการรับน้ำหนักให้แก่เสาที่เสียหาย ในกรณีที่ความเสียหายหรือผุกร่อนไม่ได้ทำให้พื้นที่หน้าตัดเสาลดลงไปมากนัก การซ่อมโครงสร้างคอนกรีตโดยวิธีทั่วไปก็สามารถใช้จัดการกับความเสียหายนี้ได้ แต่ในกรณีที่เสาชำรุดเสียหายอย่างมาก การถ่ายโอนน้ำหนักออกจากเสาเป็นเรื่องจำเป็ นเพื่อหน้าตัดทั้งหมดของเสาจะสามารถรับน้ำหนักได้ตามต้องการภายหลังการซ่อมแซมเสาเสร็จสมบูรณ์แล้ว

2.วิธีการซ่อมแซมเสา การซ่อมแซมเสามีด้วยกันหลายวิธี ขึ้นอยู่กับลักษณะของความเสียหาย เช่น
     2.1 ขยายหน้าตัดเสาให้ใหญ่ขึ้น
     2.2 เพิ่มการโอบรัดด้วยแผ่นเหล็ก เส้นใยคาร์บอนหรือเส้นใยแก้ว
     2.3 เพิ่มปลอกรับแรงเฉือน เพื่อเพิ่มกำลังรับแรงเฉือน
     2.4 ปะกับด้วยแผ่นเหล็ก เพื่อเพิ่มกำลังรับโมเมนต์ดัด
     2.5 เพิ่มจำนวนเสา
     2.6 ใช้ระบบป้องกันต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดการกัดกร่อนเพิ่มเติมในอนาคต

วันอาทิตย์

คำศัพท์ คำนิยาม เกี่ยวกับคอนกรีต และสารประกอบอื่น ที่ควรรู้จัก

คำศัพท์ คำนิยาม เกี่ยวกับคอนกรีต อาการ และสารประกอบอื่น ที่ควรรู้จัก 

1.“การกัดกร่อน (Corrosion)” หมายถึง การที่โลหะถูกทำลายโดยการกัดกร่อนทางเคมี ทางการแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าในปฏิกริยาเคมี การเกิดปฏิกริยาทางไฟฟ้าในการแลกเปลี่ยนประจุกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว

2.“การซ่อมแซม (Repair)” หมายถึง การเปลี่ยนหรือการแก้ไข ส่วนของโครงสร้างที่ถูกทำลายหรือเสียหาย

3.“การซ่อมแซมส่วนที่เป็นโครงสร้างหลัก (Structural Repair)” หมายถึง การซ่อมแซมโครงสร้างที่มีการทำขึ้นมาใหม่หรือการเสริมเพิ่มให้โครงสร้างมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น

4.“การซ่อมแซมส่วนที่ไม่เป็นโครงสร้างหลัก (Non-Structural Repair)” หมายถึง การซ่อมแซมเฉพาะส่วนที่เสียหายที่ไม่มีผลกระทบกับความแข็งแรงของโครงสร้างหลัก

5.“การดาด (Lining)” หมายถึง การปรับปรุงผิวของโครงสร้างด้วยคอนกรีตหรือวัสดุอื่นๆ เพื่อให้เกิดผิวที่คงตัวแข็งแรงหรือสามารถทนการกัดกร่อนขัดสีจากการไหลผ่านของน้ำ

6.“การป้องกันความชื้น (Damp Proofing)” หมายถึง วิธีการป้องกันไม่ให้น้ำผ่านหรือซึมผ่านคอนกรีตหรือปูนมอร์ต้าร์ เช่น การผสมสารผสมเพิ่ม (Admixture) หรือปรับปรุงคุณสมบัติของปูนซีเมนต์ การสร้างฟิล์มกันชื้นด้วยการใช้แผ่นพอลิเอทธิลีน (Polyethylene) ปูรองพื้นก่อนเทพื้นคอนกรีต

แสดงขั้นตอนการสกัดคอนกรีตและการเตรียมพื้นผิว

ภาพแสดงขั้นตอนการสกัดคอนกรีตและการเตรียมพื้นผิว

การติดตั้งคํ้ายันชั่วคราว
1.การติดตั้งค้ำยันชั่วคราว โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของวิศวกร


สรุป! ขั้นตอนการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต

สรุป ขั้นตอนการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต
     ความรู้พื้นฐานที่จำเป็น คือการประเมินสภาพคอนกรีตที่ถูกต้องและการซ่อมแซมที่ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพที่เสียหาย เพื่อให้โครงสร้างคอนกรีตใช้งานต่อได้ยาวนาน เมื่อพบเห็นโครงสร้างคอนกรีตที่แสดงอาการเสียหายหรือพบข้อบกพร่องผู้ตรวจสอบจะต้องค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของข้อบกพร่องนั้น เนื่องจากอาการที่พบเห็นอาจไม่เกี่ยวข้องกับสาเหตุของความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่น ถ้าพบรอยร้าวที่ผิวคอนกรีตซึ่งแสดงว่าคอนกรีตอยู่ในสภาพอันตรายหรือไม่ปกติ แต่สาเหตุที่ทำให้คอนกรีตแตกร้าวมีได้หลายสาเหตุเช่น การหดตัวจากผิวที่ขาดน้ำ (Drying Shrinkage) การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างเป็นวัฎจักร (Thermal Cycling) การรับน้ำหนักบรรทุกเกินขีดจำกัด การกัดกร่อนของเหล็กเสริมภายในคอนกรีต การออกแบบและก่อสร้างที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน เป็นต้น ดังนั้นเมื่อได้มีการวิเคราะห์หาสาเหตุที่คอนกรีตเสียหายได้ถูกต้องแล้วจึงมีการเลือกระบบการซ่อมแซมที่เหมาะสมและทำการซ่อมแซมต่อไป ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 กระบวนการการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต

วิธีการทำแนวและอุดแนวบริเวณรอยร้าว (Routing และ Sealing) สำหรับการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตเพื่อให้รับน้ำหนักได้ดังเดิม

การทำแนวและอุดแนวบริเวณรอยร้าว (Routing และ Sealing)

     วิธีการนี้ประกอบด้วยการทำแนวตามรอยร้าวให้มีขนาดใหญ่กว่ารอยร้าวที่ปรากฎอยู่และอุดแนวนั้นด้วยวัสดุที่เหมาะสมดังรูปที่ 1 หากไม่ทำแนวอาจทำให้การซ่อมได้ผลไม่ถาวร วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดและใช้มากสำหรับการซ่อมรอยร้าวที่หยุดขยายตัวแล้ว และรอยร้าวที่อยู่ระดับตื้น (รอยร้าวลึกไม่ถึงระดับเหล็กเสริม)

1.วัสดุ
1.1 วัสดุ ให้เลือกใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติ อีพอกซีเรซิน หรือ ซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หดตัว
1.2 วัสดุปิดแนวที่ใช้อาจเลือกใช้ประเภทไหนก็ได้ขึ้นอยู่กับความแน่นหรือความคงทนถาวรที่ต้องการ ประเภทที่นิยมใช้คือส่วนประกอบของ อีพอกซีเรซิน
1.3 วัสดุปิดแนวแบบเทขณะร้อนเหมาะที่สุดสำหรับกรณีที่ไม่จำเป็นต้องซ่อมแนวรอยแตกเพื่อให้ทึบน้ำหรือให้มีความสวยงาม
1.4 การใช้สารประเภทยูเรเทน พบว่าเหมาะสำหรับรอยร้าวขนาดกว้างถึง 19 มิลลิเมตร(EM 1110-2-2002) และลึกพอสมควร เพราะเป็นวัสดุที่คงความยืดหยุ่นอยู่ได้ในช่วงอุณหภูมิที่ต่างกันมาก

วิธีการอัดฉีดด้วยซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หดตัว (Nonshrink Cement for Grouting) สำหรับงานซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตเพื่อรับน้ำหนักได้ดังเดิม

การอัดฉีดด้วยซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หดตัว (Nonshrink Cement for Grouting)

1.วัสดุและอุปกรณ์การอัดฉีด
     1.1 วัสดุ ให้เลือกใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติตามหัวข้อ วัสดุประเภทที่มีส่วนผสมของซีเมนต์ : ซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หัวตัว
     1.2 อุปกรณ์การอัดฉีด หรือเครื่องสูบ (Pump)เครื่องสูบที่ใช้ในการอัดฉีดมีหลายประเภท เช่น เครื่องสูบแบบ Positive-Displacement หรือ เครื่องสูบแบบลูกสูบ (Piston Pump) รายละเอียดอุปกรณ์การอัดฉีดคลิก!

2.การใช้งานและข้อจำกัด
     2.1 ซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หดตัวอาจใช้เพื่อซ่อมรอยร้าวที่หยุดขยายตัว หรือเพื่อยึดคอนกรีตที่เทแต่ละครั้ง และหรือเพื่อเติมช่องว่างบริเวณรอบ ๆ หรือใต้โครงสร้างคอนกรีต ซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หดตัวมักจะมีราคาถูกกว่าสารเคมีสำหรับการเทซ่อมและเหมาะสำหรับการใช้งานในปริมาณมาก

วันเสาร์

วิธีการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตเพื่อให้รับนํ้าหนักได้ดังเดิม : ประเภทของรอยร้าวและวิธีการซ่อมแซม

วิธีการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตเพื่อให้รับนํ้าหนักได้ดังเดิม
ประเภทของรอยร้าวและวิธีการซ่อมแซม
รอยร้าวโดยทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ รอยร้าวที่ยังคงมีการขยายตัวอยู่ และรอยร้าวที่หยุดการขยายตัวแล้ว การเลือกวิธีการซ่อมแซมที่เหมาะสมสำหรับรอยร้าวแต่ละประเภทแสดงไว้ในรูปที่ 1 และ 2 อนึ่ง การตัดสินว่าโครงสร้างต้องมีการปรับปรุงให้รับน้ำหนักได้ดังเดิมหรือไม่ ให้อยู่ในดุลยพินิจของ วิศวกร โดยให้เป็นไปตามหลักวิศวกรรม และให้มีความมั่นคงปลอดภัยเพียงพอในการใช้งาน

รูปที่ 1 การเลือกวิธีการซ่อมแซมที่เหมาะสมสำหรับรอยร้าวที่ยังคงมีการขยายตัวอยู่

ปัจจัยในการเลือกใช้วัสดุในงานซ่อมแซม โครงสร้างคอนกรีต

ปัจจัยในการเลือกใช้วัสดุในงานซ่อมแซม โครงสร้างคอนกรีตผสมเสร็จ

1.ความมีเสถียรภาพด้านขนาด (Dimensional Stability)
      นอกเหนือจากที่วัสดุในงานซ่อมจะต้องมีกำลังทางกล และความทึบแน่นตามที่ต้องการแล้วจำเป็นที่จะต้องมีเสถียรภาพในด้านมิติด้วย ความสามารถในการยึดเกาะจะเป็นตัวทำให้วัสดุซ่อมและคอนกรีตมีสภาพเหมือนวัตถุเดียวกัน หากวัสดุซ่อมและคอนกรีตไม่สามารถรักษาสภาพความเป็นหนึ่งเดียวกันไว้ได้ย่อมเกิดการเสียหายขึ้นก่อนเวลาอันควร เนื่องจากวัสดุซ่อมที่ทำจากปูนซีเมนต์จะมีการหดตัวหลังจากใช้งานในขณะที่คอนกรีตซึ่งใช้งานมานานแล้วแทบจะไม่มีการหดตัวเกิดขึ้นอีก ดังนั้นวัสดุที่ใช้ซ่อมจึงจำเป็นต้องมีการหดตัวที่ต่ำมากหรือต้องสามารถที่จะหดตัวได้ในขณะที่ไม่เสียการยึดเกาะ การหลีกเลี่ยงการสูญเสียการยึดเกาะเนื่องจากการหดตัวเกิดสามารถทำได้ 2 แนวทางด้วยกันคือ
          1.1 ใช้วัสดุซ่อมที่มีอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ต่ำ หรือใช้วิธีการซ่อมที่ทำให้เกิดการหดตัวต่ำที่สุด
          1.2 ใช้วัสดุที่มีการขยายตัวในขณะที่ผสมและเท

2.ค่าสัมประสิทธ์ิการขยายตัวเนื่องจากอุณหภูมิ (Coefficient of Thermal Expansion)
     ค่าสัมประสิทธิ์ดังกล่าว คือ การเปลี่ยนแปลงความยาวของวัสดุที่เกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิขนาดการยืดหรือหดตัวของวัสดุจะขึ้นอยู่กับค่าสัมประสิทธ์ินี้ เมื่อมีการซ่อมโดยการปะหรือการเททับที่มีพื้นที่ซ่อมขนาดใหญ่หรือลึก มีความจำเป็นมากที่ต้องพิจารณาเลือกใช้วัสดุซ่อมแซมที่มีค่าสัมประสิทธ์ิการขยายตัวใกล้เคียงกับค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวของคอนกรีต(ค่าสัมประสิทธ์ิการขยายตัวเนื่องจากอุณหภูมิของคอนกรีตมีค่าประมาณ 7x10-6 ถึง 11x10-6 ต่อองศาเซลเซียสต่อมิลลิเมตร) มิฉะนั้นจะทำให้เกิดการวิบัติขึ้นในวัสดุที่มีกำลังต่ำกว่าใกล้แนวการยึดเกาะ

วิธีการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตเพื่อรับน้ำหนักได้ดังเดิม : การอัดฉีดด้วยอีพอกซีเรซิน

วิธีการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตเพื่อรับน้ำหนักได้ดังเดิม ขั้นตอนการอัดฉีดด้วยอีพอกซีเรซิน

1.วัสดุและอุปกรณ์
     สารอีพอกซีเรซิน เป็นสารซึ่งประกอบด้วยสารละลายสองชนิดขึ้นไปที่ทำปฏิกิริยาแล้วทำให้เกิดเจลหรือตะกอนแข็ง อีพอกซีเรซินเมื่อแข็งตัวแล้วจะมีกำลังรับน้ำหนักและค่าโมดูลัสสูงและยึดเกาะกับคอนกรีตเดิม
     1.1 วัสดุ ให้เลือกใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติตามหัวข้อ สารเคมีที่ใช้ในการอัดฉีด
     1.2 อุปกรณ์ผสมสารอัดฉีด
     อุปกรณ์ผสมสารอัดฉีดโดยทั่วไป ทำด้วยวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีที่ใช้อัดฉีดหรือ สารละลายแต่ละชนิดที่ใช้ ส่วนประกอบของตัวถังสามารถเลือกใช้วัสดุอลูมิเนียม สแตนเลส หรือพลาสติกชนิดพิเศษได้ตามความเหมาะสม โดยทั่วไปความจุของถังที่ต้องการจะไม่มากนัก โดยขนาดและรูปร่างของถังจะขึ้นอยู่กับปริมาณส่วนผสมและระบบการฉีดที่ใช้ โดยทั่วไปถังที่ใช้ในการผสมอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ระบบหลัก ได้แก่ ระบบผสมรวม (Batch System) ระบบผสมแบบสองถัง (Two-Tank System) และระบบ Equal-Volume Method ดูอุปกรณ์ผสมสารอัดฉีดคลิก!
      1.3 อุปกรณ์การอัดฉีด หรือเครื่องสูบ (Pump)
      เครื่องสูบที่ใช้ในการอัดฉีดมีหลายประเภท เช่น เครื่องสูบแบบ Positive-Displacement หรือ เครื่องสูบแบบลูกสูบ (Piston Pump) ดูอุปกรณ์การอัดฉีดหรือเครื่องสูบคลิก!

วันศุกร์

การซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต : การทดสอบการยึดเกาะระหว่างคอนกรีตเก่ากับวัสดุซ่อมแซม

การทดสอบการยึดเกาะระหว่างคอนกรีตเก่ากับวัสดุซ่อมแซม

1 ในการซ่อมแซมคอนกรีตสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงคือการยึดเกาะระหว่างคอนกรีตเก่ากับวัสดุซ่อมแซม ถ้าการยึดเกาะไม่ดีจะทำให้การซ่อมแซมไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นก่อนติดตั้งวัสดุซ่อมแซมจึงจำเป็นต้องทาหรือเคลือบผิวคอนกรีตเก่าด้วยน้ำยาประสานคอนกรีตโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการสั่นสะเทือนสูงพื้นที่ที่มีอากาศหรือของไหลผ่านด้วยความเร็วสูง เป็นต้น และภายหลังการซ่อมแซมแล้วเสร็จให้ทดสอบการยึดเกาะของคอนกรีต (Pull-Off test) ตามมาตรฐาน ASTM D-4541 ดังรูปที่ 1 ถึงรูปที่ 3 (โดยปกติควรทดสอบไม่น้อยกว่า 1 จุด ต่อพื้นที่ 10 ตารางเมตรและอย่างน้อย 3 จุดต่องานซ่อม หรือขึ้นอยู่กับดุลพินิจของวิศวกรควบคุมงาน) (ค่าหน่วยแรงยึดเหนี่ยวระหว่างวัสดุใหม่และวัสดุเก่าควรมีค่าไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของกำลังรับแรงอัดประลัยของคอนกรีตเดิม)

วัสดุที่ใช้ในการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต : ประเภทวัสดุเคลือบผิวเหล็กเสริม และวัสดุเสริมกำลัง(Reinforcement)

วัสดุที่ใช้ในการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต 

วัสดุเคลือบผิวเหล็กเสริม (Coatings on Reinforcement)
     สารเคลือบผิวเหล็กเสริมคือสารเคลือบผิวประเภทอีพอกซี ลาเทกซ์ ซีเมนต์ และสังกะสีซึ่งข้อจำกัดในการใช้งานสำหรับวัสดุเคลือบผิวเหล็กเสริมแต่ละชนิดมีแตกต่างกันไป (มีผลงานวิจัยในห้องปฏิบัติการ แต่อยู่ในระหว่างการศึกษาประสิทธิภาพและศักยภาพในการใช้งานจริงและผลกระทบในระยะยาวนอกจากนี้ เมื่อเคลือบผิวแล้วจะไม่สามารถตรวจสอบการกัดกร่อนของเหล็กเสริมภายในได้ด้วยวิธีมาตรฐานทั่วๆไป และเนื่องจากมีข้อจำกัดในการใช้งาน สำหรับวัสดุเคลือบผิวเหล็กเสริมแต่ละชนิด ดังนั้นจึงควรปรึกษาผู้ผลิตวัสดุเคลือบผิวเหล็กเสริม)

วัสดุเสริมกำลัง (Reinforcement)
โดยทั่วไปแล้วโครงสร้างคอนกรีตจำเป็นต้องใช้วัสดุเสริมกำลังเพื่อต้านทานหน่วยแรงดึงที่เกิดจากแรงดัด แรงเฉือน และแรงตามแนวแกน วัสดุเสริมกำลังที่ใช้ในงานซ่อมแซมมีหลากหลายประเภท ดังนี้

อุปกรณ์สำหรับงานซ่อมแซมหรือเพิ่มส่วนผสมโครงสร้างคอนกรีต : ถังที่ใช้ในการผสม และอุปกรณ์การอัดฉีด

ถังที่ใช้ในการผสม และอุปกรณ์การอัดฉีด

1.ถังที่ใช้ในการผสม (Mixing and Blending Tank)
     ถังที่ใช้สำหรับผสมสารอัดฉีด ดังรูปที่ 1 ควรทำด้วยวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีที่ใช้อัดฉีด หรือสารละลายแต่ละชนิดที่ใช้ ส่วนประกอบของตัวถังสามารถเลือกใช้วัสดุอลูมิเนียม สแตนเลส หรือพลาสติกชนิดพิเศษได้ตามความเหมาะสม โดยทั่วไปความจุของถังที่ต้องการจะไม่มากนัก โดยขนาดและรูปร่างของถังจะขึ้นอยู่กับปริมาณส่วนผสมและระบบการฉีดที่ใช้ โดยทั่วไปถังที่ใช้ในการผสมอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ระบบหลัก ได้แก่ระบบผสมรวม (Batch System) ระบบผสมแบบสองถัง (Two-Tank System) และระบบ Equal-Volume Method

1.1 ระบบผสมรวม (Batch System)
     ระบบผสมรวม เป็นระบบผสมสารที่ง่ายที่สุด ซึ่งใช้มากในกรณีอัดฉีดด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ โดยส่วนประกอบทั้งหมด รวมทั้งตัวเร่งปฏิกิริยาจะผสมรวมกันในถังเดียว ณ เวลาเดียวกัน ระบบนี้มีข้อเสีย คือ ระยะเวลาการอัดฉีดจะจำกัดด้วยช่วงเวลาการก่อตัวของเจล ถ้ามีการก่อตัวของเจลก่อนที่การอัดฉีดจะเสร็จสิ้น เครื่องสูบ ท่อและช่องทางการไหลอาจเกิดการอุดตันได้

รูปที่ 1 ถังที่ใช้สำหรับผสมสารของการอัดฉีด

วันพุธ

วัสดุที่ใช้ในการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต : ประเภทสารเชื่อมประสาน

สารเชื่อมประสาน (Bonding Agent)
    สารเชื่อมประสานใช้เพื่อยึดวัสดุซ่อมแซมเข้ากับพื้นผิวของคอนกรีตเดิม แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
ได้แก่ (1) อีพอกซี (2) ลาเทกซ์ และ (3) ซีเมนต์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1.อีพอกซี เป็นสารเชื่อมประสานที่มีวัสดุประเภทอีพอกซีเป็นส่วนประกอบหลัก
     มาตรฐาน ASTM C881 กล่าวถึงระบบอีพอกซี ในขณะที่อากาศร้อนควรใช้สารเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง อุณหภูมิสูงอาจทำให้เกิดการบ่มตัวก่อนเวลา และทำให้เสียแรงยึดเกาะได้
     วัสดุยึดเกาะพวกอีพอกซีเรซิน ส่วนใหญ่จะก่อให้เกิดชั้นกั้นความชื้นขึ้นระหว่างผิวของโครงสร้างเดิมกับวัสดุซ่อมแซม บางครั้งชั้นกั้นความชื้น อาจทำให้เกิดความเสียหายของส่วนที่ซ่อมแซมได้ ถ้าความชื้นถูกกักไว้ในคอนกรีตหลังชั้นกั้นความชื้นพอดีและเกิดการแข็งตัว ณ บริเวณนั้น

 2.ลาเทกซ์ เป็นสารเชื่อมประสานที่มีวัสดุประเภทลาเทกซ์เป็นส่วนประกอบหลัก
     มาตรฐาน ASTM C1059 กล่าวถึงระบบลาเทกซ์ สารยึดเกาะชนิดนี้ แบ่งได้เป็น 2ประเภท คือ (1) แบบกระจายตัวใหม่ได้ (Redispersible) และ (2) แบบกระจายตัวใหม่ไม่ได้ (Nonredispersible)
     สารยึดเกาะประเภทที่ 1 สามารถทาบนพื้นผิวที่จะซ่อมแซมได้หลายวันก่อนจะลงวัสดุซ่อม แต่จะมีกำลังยึดเกาะน้อยกว่าประเภทที่ 2 นอกจากนี้ลาเทกซ์ประเภทที่ 1 ไม่ควรใช้กับบริเวณที่เปียกน้ำ ความชื้นสูง หรือกำลังใช้งาน ลาเทกซ์ประเภทที่ 2 เหมาะกับการยึดเกาะเมื่อใช้ผสมกับปูนซีเมนต์และน้ำ
     ลาเทกซ์ประเภทที่ 1 มีหน่วยแรงยึดเกาะไม่น้อยกว่า 2.8 เมกาปาสกาลเมื่อแห้ง ส่วน
     ลาเทกซ์ประเภทที่ 2 มีหน่วยแรงยึดเกาะไม่น้อยกว่า 8.6 เมกาปาสกาลเมื่อพื้นผิวชุ่มน้ำ

  3.ซีเมนต์ เป็นสารเชื่อมประสานที่มีวัสดุประเภทซีเมนต์เป็นส่วนประกอบหลักระบบยึดเกาะโดยซีเมนต์ ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ หรือส่วนผสมของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์กับมวลรวมละเอียดบดในอัตราส่วน 1:1 โดยน้ำหนัก และจะผสมน้ำเพื่อให้ได้ความข้นเหลวที่สม่ำเสมอและพอเหมาะ

วัสดุที่ใช้ในการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต ผิวซีเมนต์ คอนกรีตผสมเสร็จ : ประเภทวัสดุพอลิเมอร์ (Polymer)

วัสดุที่ใช้ในการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต ผิวซีเมนต์ คอนกรีตผสมเสร็จ : ประเภทวัสดุพอลิเมอร์ (Polymer)
     การเติมสารพอลิเมอร์ สามารถช่วยพัฒนาคุณสมบัติของคอนกรีตแข็งตัวแล้วได้ เอกสาร ACI 548.1R
กล่าวถึงข้อมูลของวัสดุพอลิเมอร์ต่างๆ การจัดเก็บ การจัดการ และการใช้ รวมถึงสูตรผสมคอนกรีตวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ขั้นตอนการทำงาน และการใช้งาน วัสดุคอนกรีตที่ใช้พอลิเมอร์เป็นส่วนประกอบแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1.พอลิเมอร์ซีเมนต์คอนกรีตและมอร์ต้าร์ (Polymer Cement Concrete and Mortar) เป็นคอนกรีตที่ได้รับการพัฒนาคุณภาพโดยการเติมสารพอลิเมอร์เหลวร่วมกับปูนซีเมนต์และมวลรวมในขณะที่ทำการผสม โดยสารพอลิเมอร์ส่วนใหญ่เป็นของเหลวชนิดสไตลีนบิวทะไดอีน (Styrene Butadiene) หรือ อะคริลิกลาเทกซ์ (Acrylic Latex)

   ประโยชน์
(1) เพิ่มกำลังรับแรงดัดและกำลังแรงดึง จากการทดลองพบว่าการใช้อะคริลิกลาเทกซ์ และสไตลีนบิวทะไดอีน ช่วยเพิ่มกำลังรับแรงดัดของคอนกรีตโดยเฉพาะกรณีใช้อะคริลิกลาเทกซ์จะช่วยเพิ่มกำลังรับแรงดัดขึ้นถึงร้อยละ 100
(2) เพิ่มความทึบน้ำของคอนกรีต ลดการซึมผ่านของน้ำและสารต่างๆ ที่มากับน้ำเหมาะกับการซ่อมโครงสร้างเกิดสนิมในเหล็กเสริมเนื่องจากช่วยลดการซึมผ่านของคลอไรด์และลดอัตราการเกิดปฏิกิริยาคาร์บอเนชั่น

วัสดุที่ใช้ในการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต : ประเภทสารเคมีที่ใช้ในการอัดฉีด

วัสดุที่ใช้ในการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต : สารเคมีที่ใช้ในการอัดฉีด
     สารเคมีที่ใช้ในการอัดฉีดเป็นส่วนผสมทางเคมีที่อยู่ในรูปของเจลโฟม หรือสารตกตะกอน ซึ่งจะตรงกันข้ามกับซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หดตัวซึ่งมีการแขวนลอยของอนุภาคในสารอัดฉีด ปฏิกิริยาในสารอัดฉีดอาจจะเกิดขึ้นระหว่างส่วนผสมด้วยกันหรือกับสารอื่น เช่น น้ำที่ใช้ในกระบวนการอัดฉีดปฏิกิริยาที่เกิดจะทำให้การไหลตัวลดลง และก่อตัวเติมเต็มช่องว่างในคอนกรีตที่ต้องการซ่อม

  ประโยชน์
     ประโยชน์ของการอัดฉีดด้วยสารเคมี คือสามารถใช้ได้ในสภาวะแวดล้อมที่มีความชื้นสูงและมีความหลากหลายของเจล ความหนืด และระยะเวลาการก่อตัว นอกจากนี้ยังสามารถใช้ซ่อมรอยร้าวในคอนกรีต

วันศุกร์

วัสดุที่ใช้ในการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต ผิวซีเมนต์ คอนกรีตผสมเสร็จ : วัสดุประเภทที่มีส่วนประกอบของซีเมนต์

วัสดุซ่อมแซมประเภทต่างๆที่ใช้ในการซ่อมแซมหรือเสริมกำลังโครงสร้างคอนกรีตคุณสมบัติทั่วไป ประโยชน์ ข้อจำกัด การใช้งาน และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องในวัสดุซ่อมแซมแต่ละประเภทรวมทั้งข้อเสนอแนะในการเลือกใช้วัสดุซ่อมแซมแต่ละประเภทด้วย 

วัสดุประเภทที่มีส่วนประกอบของซีเมนต์ (Cementitious)
     คอนกรีต ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนทราย หรือวัสดุซีเมนต์ประสานอื่นๆที่มีส่วนประกอบคล้ายกับคอนกรีตดั้งเดิมที่จะซ่อมแซม เป็นทางเลือกของวัสดุซ่อมแซมที่ดีที่สุด เพราะมีคุณสมบัติเหมือนกับคอนกรีตดั้งเดิม วัสดุซ่อมใหม่อื่นๆ ที่เลือกใช้ต้องเข้ากันได้กับคอนกรีตเดิมด้วย
     
1. คอนกรีตธรรมดา (Conventional Concrete)
     คอนกรีตธรรมดาทั่วไปที่ประกอบด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ มวลรวมและน้ำ และสารผสมเพิ่ม

วันจันทร์

การสกัดคอนกรีตที่เสียหาย : วิธีการยึดฝัง และวัสดุที่ใช้ และ เทคนิคการติดตั้งวัสดุซ่อมแซมประเภทต่างๆ หลังการสกัด

วิธีการยึดฝัง และวัสดุที่ใช้ (Anchorage Methods and Materials)

การยึดฝังจะใช้เพื่อยึดเหล็กเสริมคอนกรีตใหม่ให้สามารถอยู่ในตำแหน่งที่กำหนด และทำให้สามารถ
ถ่ายแรงการยึดเกาะได้ดีขึ้น วิธีการยึดฝังมี 2 วิธีคือ

1.วิธีเจาะติดตั้งภายหลัง (Post-Installed) เป็นระบบในการติดตั้งเหล็กเสริมคอนกรีตโดยวิธีการเจาะรูในคอนกรีตแล้วติดตั้งสลักเกลียว (Bolt) ในรูที่เจาะไว้แล้วด้วยน้ำยาประสานคอนกรีตหรือระบบเบ่งตัวของสลักเกลียว (Expansion Bolt) การเลือกระบบการติดตั้งควรให้วิศวกรเป็นผู้เลือกให้เหมาะสมกับระดับการใช้งาน ได้แก่ การใช้งานหนัก การใช้งานปานกลาง การใช้งานที่ไม่รับน้ำหนัก เป็นต้น(อาจพิจารณาใช้ตะปูเพื่อยึดฝังคอนกรีต เป็นระยะกริดทุกๆ 500 มิลลิเมตร และใช้ลวดกรงไก่เพื่อเสถียรภาพของคอนกรีตที่ซ่อมได้ ในกรณีความหนาของคอนกรีตที่จะทำการซ่อมแซมน้อยกว่า 50 มิลลิเมตร)

2.วิธีการหล่อในที่ (Cast-in-Place) เป็นระบบในการติดตั้งสลักเกลียวหรือเหล็กเสริมในเนื้อคอนกรีตโดยการสกัดคอนกรีต และเทคอนกรีตฝังสลักเกลียวหรือเหล็กเสริมดังกล่าวไว้

เทคนิคการติดตั้งวัสดุซ่อมแซมประเภทต่างๆ (Material Placement for Various Repair Techniques)

การซ่อมแซมเหล็กเสริมในคอนกรีต สำหรับงานคอนกรีตทั่วไป ตามมาตรฐาน

การซ่อมแซมเหล็กเสริม

1. การสกัดคอนกรีตรอบเหล็กเสริม
การสกัดคอนกรีตรอบเหล็กเสริมคอนกรีตเป็นขั้นตอนแรกในการซ่อมแซมเหล็กเสริม การสกัดคอนกรีตต้องระมัดระวังไม่ให้เหล็กเสริมเสียหายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล็กเสริมในโครงสร้างคอนกรีตอัดแรง ก่อนสกัดควรตรวจสอบขนาดและตำแหน่งของเหล็กเสริมเทียบกับแบบก่อสร้างจริง หรือ จากการทดสอบโดยวิธีไม่ทำลาย เครื่องมือที่ใช้ในการสกัดได้แก่ สว่านหัวกระแทก การสกัดด้วยมือ เป็นต้น รูปร่างของคอนกรีตที่เหมาะสมภายหลังเมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการสกัดออกในกรณีที่ต้องการซ่อมแซมเหล็กเสริมแสดงไว้ในรูปที่ 1

รูปที่ 1 รูปร่างของคอนกรีตที่ถูกสกัดออกเมื่อต้องการซ่อมแซมเหล็กเสริม

วันอาทิตย์

มาตรฐานการซ่อมแซมคอนกรีต : การเตรียมผิว หลังการสกัด

การเตรียมผิว
           การเตรียมผิวเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในกระบวนการซ่อมแซมคอนกรีตเพื่อให้พื้นผิวคอนกรีตเดิมมีความหยาบพอเหมาะและมีความสะอาดเพียงพอต่อการซ่อมแซมในขั้นตอนต่อไป โดยทั่วไปสามารถ
ทำได้โดยการใช้เครื่องมือสกัด หรือ การใช้เครื่องมือขัด ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้กันเนื่องจากมีความสะดวก
และรวดเร็ว ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการเตรียมผิว เช่น เครื่องมือขัด (Grinding) ดังรูปที่หรือ

Scrifyer ดังรูปที่ 2 หรือ Scabbler ดังรูปที่ 3 เป็นต้น
รูปที่ 1 เครื่องมือขัด (Grinding)

มาตรฐานการซ่อมแซมคอนกรีต : วิธีการสกัดคอนกรีต

วิธีการสกัดคอนกรีต (Concrete Removal)
1 การตัดคอนกรีต (Cutting Method)
การตัดคอนกรีตมีหลายวิธี ได้แก่ การใช้น้ำที่มีความดันสูง การใช้สายตัดเพชร เครื่องเฉือนเป็นต้น การตัดคอนกรีตต้องคำนึงถึงขอบเขตที่จะต้องตัดคอนกรีต วิธีการยกหรือขนเศษวัสดุออกจากบริเวณที่ตัดคอนกรีต และการตรวจสอบคอนกรีตที่ตัดแล้วว่าถึงคอนกรีตเนื้อเดิมที่แกร่งแข็งแรงตามที่วิศวกรกำหนดในแบบหรือไม่ เครื่องมือที่ใช้ในการตัดคอนกรีตมี ดังนี้

          1.1 เครื่องตัดด้วยน้ำแรงดันสูง ( High-Pressure Water Jet ) เป็นเครื่องมือที่ฉีดน้ำให้เป็นลำเล็กๆ ด้วยแรงดันประมาณ 69 ถึง 310 เมกาปาสกาล เหมาะสำหรับใช้ตัดแผ่นพื้นหรือโครงสร้างอาคาร มีข้อดี คือ สามารถตัดคอนกรีตได้แม่นยำ ไม่ก่อให้เกิดฝุ่นไม่ก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนที่จะทำโครงสร้างอาคารเสียหาย คอนกรีตที่ตัดออกจะเป็นชิ้นใหญ่ ข้อเสีย คือ ต้องเก็บกวาดตะกอนฝุ่นที่เกิดจากการตัด และตัดได้เฉพาะส่วนโครงสร้างที่บาง การตัดทำได้ช้า ค่าใช้จ่ายสูง และมีเสียงดัง ต้องมีการควบคุมความปลอดภัยในการใช้งานน้ำที่มีแรงดันสูง

การซ่อมแซมคอนกรีต : การสกัดคอนกรีตที่แตกร้าว ชำรุดเสียหาย

การสกัดคอนกรีต (Concrete Removal)

1 การซ่อมแซมคอนกรีตจำเป็นต้องสกัดคอนกรีตเดิมที่เสียหายออก เพื่อให้การซ่อมแซมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปกติแล้วจะต้องกำจัดคอนกรีตที่ไม่ดีออกให้หมดจนถึงเนื้อคอนกรีตที่แกร่ง ซึ่งบางครั้งอาจต้องสกัดคอนกรีตจนถึงแนวเหล็กเสริมคอนกรีตหรือเลยแนวเหล็กเสริมคอนกรีตก็ได้

2 การสกัดคอนกรีตที่ใช้วัตถุระเบิดหรือวิธีการทำลายที่รุนแรง (การสกัดโดยใช้เครื่องมือสกัดที่มีน้ำหนัก

วันเสาร์

การออกแบบส่วนผสมคอนกรีต(ตามมาตรฐานอเมริกา)

การออกแบบตามมาตรฐานอเมริกา
           ในการหาสัดส่วนผสมของคอนกรีตธรรมดา (Normal Weight Concrete) ตามมาตรฐานของอเมริกานี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ออกแบบต้องทราบคุณสมบัติ ต่างๆ กล่าวคือ

ปูนซีเมนต์
 - ความถ่วงจำเพาะ ทดสอบตามมาตรฐาน ASTM C188 แต่สามารถใช้ค่า 3.15 สำหรับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ทั่วไป

มวลรวม
 - ขนาดคละ ควรมีส่วนคละตามมาตรฐาน ASTM C33
 - ความถ่วงจำเพาะ
    ทราย ทดสอบมาตรฐาน ASTM C 128
    หิน     ทดสอบมาตรฐาน ASTM C 127
 - ความชื้น ทดสอบตามมาตรฐาน ASTM C 70 และ ASTM C 566
 - ความละเอียดของทราย ทดสอบตามมาตรฐาน ASTM C 125
 - หน่วยน้ำหนักของมวลรวม ทดสอบตามาตรฐาน ASTM C 29

วันศุกร์

การออกแบบส่วนผสมคอนกรีตโดยปริมาตร(วิธีคำนวณการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ)

    สำหรับงานก่อสร้างขนาดเล็ก ส่วนใหญ่จะกำหนดสัดส่วนโดยปริมาตร เช่น 1:2:4 อัตราส่วนที่กล่าวถึงนี้ คือ ใช้ปูนซีเมนต์ 1 ส่วน ทราย 2 ส่วน หิน 4 ส่วน โดยปริมาตร การที่จะแปลงส่วนผสมโดยปริมาตรดังกล่าวให้เป็นส่วนผสมโดยน้ำหนัก สามารถทำได้ดังนี้

ข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณ
1.หน่วยน้ำหนักของปูนซีเมนต์ = 1,400 กก./ลบ.ม.
2.หน่วยน้ำหนักของหินทราย   = 1,450 กก./ลบ.ม.


ประเภทของสัดส่วนผสมคอนกรีตและมาตรฐานการออกแบบคอนกรีต การผันแปรของกำลังอัด

ประเภทของสัดส่วนผสมคอนกรีต

1.สัดส่วนผสมโดยปริมาตร
ผู้ออกแบบจะกำหนดอัตราส่วนโดยปริมาตรของปูนซีเมนต์,ทราย,หิน, เช่น 1:2:4 คือใช้ปูน 1 ส่วน ทราย 2 ส่วน และหิน 4 ส่วนโดยปริมาตร วิธีการนี้เหมาะสำหรับ งานก่อสร้าง ขนาดเล็กๆเท่านั้น

2.Prescribed Mix
วิศวกรผู้ออกแบบโครงสร้างหรือผู้รับเหมาจะกำหนดสัดส่วนผสมสำหรับโครงก่อสร้างหนึ่งๆ รวมทั้งรับผิดชอบว่าสัดส่วนผสมนี้ จะสามารถผลิตเป็นคอนกรีตที่มีคุณสมบัติตามต้องการ

3.Designed Mix
ผู้ผลิตคอนกรีต เช่น ผู้ผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ จะเป็นผู้กำหนดสัดส่วนผสมเพื่อให้ตรงกับความต้องการตามข้อกำหนด รวมทั้งต้องรับผิดชอบต่อสัดส่วนผสมนี้ว่าเป็นไปตามความต้องการ

วันพฤหัสบดี

การออกแบบส่วนผสมคอนกรีต(3.ความสัมพันธ์ที่มีประโยชน์ในการออกแบบ)

ความสัมพันธ์ที่มีประโยชน์ในการออกแบบส่วนผสมคอนกรีต

1.กำลังอัดและอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์
    สำหรับวัสดุผสมคอนกรีตที่กำหนดไว้ ค่ากำลังอัดจะมี ความสัมพันธ์กับอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ ตาม Ablam's Law  ดังนี้

fcm  คือ ค่ากำลังอัดของคอนกรีต ณ อายุที่กำหนด
A      คือ  ค่าคงที่
B      คือ   ค่าคงที่ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของซีเมนต์ และค่า อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์โดยน้ำหนัก

การออกแบบส่วนผสมคอนกรีต(2.ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการออกแบบ)

ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการออกแบบส่วนผสมคอนกรีต

    การออกแบบและเลือกใช้คอนกรีตให้เหมาะกับงานก่อสร้างนั้นที่จะต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ซึ่งอาจกระทบต่อการเลือกใช้คอนกรีตประเภทนั้นๆ โดยสามารถแยกพิจารณาได้เป็น 2 ประการคือ
1.ปัจจัยด้านเทคนิค
2.ปัจจัยด้านราคา

ปัจจัยด้านเทคนิค
     วิศวกรผู้ออกแบบต้องพิจารณาปัจจัยด้านเทคนิคซึ่งแบ่งตามสภาพของคอนกรีตได้เป็น 2 ประการ คือ
1.สภาพที่คอนกรีตบังเหลวอยู่   ปัจจัยที่ต้องพิจารณา 2 ประการ คือ
-ความสามารถเทได้
-การอยู่ตัว
โดยผู้ออกแบบควรเลือกคอนกรีตสดที่มีคุณสมบัติ ดังนี้

การออกแบบส่วนผสมคอนกรีต (1.หลักการในการออกแบบส่วนผสม)

หลักการในการออกแบบส่วนผสมคอนกรีต
     เป้าหมายหลักของการหาสัดส่วนผสมของคอนกรีตหรือการออกแบบส่วนผสมคอนกรีต มีด้วยกัน 2 ประการ คือ
 1.เพื่อเลือกวัสดุผสมคอนกรีตที่เหมาะสมอันได้แก่ ปูนซีเมนต์ หิน ทราย น้ำ น้ำยาผสมคอนกรีต ให้เป็นไปตามข้อกำหนดและวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
 2.คำนวณหาสัดส่วนผสมของวัสดุผสมนี้ เพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามข้อกำหนดและการใช้งานทั้งในสภาพคอนกรีตสดและคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว ในราคาที่เหมาะสมที่สุด

     เพื่อให้บรรลุเป้าหมายข้างต้นผู้ออกแบบส่วนผสมคอนกรีตต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ต่อไปนี้
-การหาได้ของวัสดุผสมคอนกรีต
-การผันแปรในคุณสมบัติของวัสดุผสม
-ความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนผสมกับธรรมชาติของวัสดุผสม
-การผันแปของคุณสมบัติที่ต้องการในสภาพการใช้งาน

Cr:CPAC concrete Technology

คอนกรีตงานห้องเย็นซีแพค

คอนกรีตงานห้องเย็นซีแพค
คอนกรีตถึงแม้จะเป็นวัสดุที่มีความแข็งแกร่งทนทานสูงในสภาพอุณหภูมิปกติก็ตาม แต่เมื่อต้องอยู่ในสภาพอากาศที่หนาวเย็นถึงระดับจุดเยือกแข็ง เช่น ในห้องแช่แข็งหรือห้องเย็นที่มีอุณหภูมิที่ต่ำถึง -40 องศาเซลเซียส คอนกรีตจะเกิดการแตกร้าวหลุดร่อนหลักการใช้งาน จึงต้องทำการซ่อมแซมเกือบปี นอกจากทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมที่มากมายแล้วยังต้องปิดห้องเย็นเพื่อซ่อมซึ่งทำให้การค้าต้องหยุดชะงัก อีกทั้งยังต้องเสียค่าพลังงานในการลดอุณหภูมิหลังการซ่อมให้ได้ ณ จุดเดิมอีก ปัญหา ดังกล่าวจะหมดไปด้วย อีกหนึ่งวัตกรรมจากซีแพค

วันพุธ

คอนกรีตรถโม่เล็ก คอนกรีตผสมเสร็จงานรถโม่เล็ก

คอนกรีตรถโม่เล็ก...บริการในรูปแบบใหม่

   คอนกรีตรถเล็กเป็นอีกหนึ่งบริการ ที่ช่วยให้คุณทำงานได้สะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายโดยรวมกว่าการผสมปูนเอง โดยอาศัยรถเล็กที่สามารถวิ่งไปส่งได้ทุกจุดของหน่วยงาน โดยเฉพาะในบริเวณที่ยากลำบากต่อการจัดส่ง
   ไม่ว่างานก่อสร้างของคุณจะมีขนาดเล็กเท่าใดก็ไม่มีปัญหา คอนกรีตเตรียมส่วนผสมที่เหมาะสม ที่ทำให้คุณมั่นใจด้วยคอนกรีตคุณภาพมาตรฐานและเตรียมพร้อมสำหรับการจัดส่งตลอดเวลา

งาน บริการคอนกรีตผสมเสร็จ คอนกรีตซีแพค CPAC

งานบริการเทครอนกรีตของซีแพคCpac นอกจากจะมี คอนกรีตมาตรฐานของซีแพคแล้ว ยังมีคอนกรีตประเภทอื่นอีก เพื่อเลือกใช้ตามชนิดงานให้ถูกประเภท

คอนกรีตความร้อนต่ำซีแพค   CPAC Low Heat Concrete 
     การเทคอนกรีตในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่มีขนาดกว้างยาวมากกว่า 1 เมตร และความหนามากกว่า 0.5 เมตร เช่น เขื่อนคอนกรีต ตอม่อ ฐานรากแผ่ กำแพงพืด (Diaphragm Wall) ความร้อนจากปฏิกิริยาระหว่างปูนซีเมนต์กับน้ำ (Heat of Hydration) จะสะสมอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อุณหภูมิในเนื้อคอนกรีตสูงขึ้นมากกว่า 70 องศาเซลเซียส

     ความร้อนที่สะสมในโครงสร้างคอนกรีตนั้นจะถูกถ่ายเทสู่ภายนอก ความร้อนที่อยู่ภายในจะถ่ายเทออกได้ช้ากว่าบริเวณผิวคอนกรีต ก่อให้เกิดความแตกต่างของอุณหภูมิที่ผิว และภายในโครงสร้าง (Differential Temperature) ทำให้โครงสร้างของคอนกรีตเกิดการหดตัวและการยึดรั้งที่ต่างกันในที่สุดคอนกรีตจะแตกร้าว(Thermal Crack)
      หลังการแตกร้าว น้ำและความชื้นจะซึมผ่านโครงสร้างคอนกรีต เข้าทำลายเหล็กเสริม ทำให้โครงสร้างไม่สามารถรับกำลังตามที่ออกแบบไว้ และความทนทานของโครงสร้างจะลดลงอย่างมาก 

คอนกรีตผสมเสร็จสำหรับงานทั่วไป : งานพื้นที่ภายนอกอาคาร,ถนน- คอนกรีตพื้นภายในอาคาร

งานเทคอนกรีตผสมเสร็จ สำหรับงานทั่วไป สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะงานใหญ่ๆ คือ งานเทคอนกรีตภายนอกอาคาร  และงานเทคอนกรีตภายในอาคาร


สำหรับคอนกรีตงานพื้นภายในอาคาร 
พื้นอาคารขนาดกลาง : คอนกรีตมาตรฐานซีแพคถูกออก แบบมาให้เหมาะสำหรับพื้นในบ้านพักอาศัย และอาคารขนาดกลาง มีกำลังอัดให้เลือกตั้งแต่ 240-280 กก./ตร.ซม.

วันจันทร์

การเลือกกำลังอัดคอนกรีตผสมเสร็จ ของงานเทคอนกรีตแต่ละประเภท ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

การใช้งานคอนกรีตผสมเสร็จแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะเป็นงานเทพื้น เทคาน หรือถนน อาคาร สิ่งหนึ่งที่ต้องกำหนดในการใช้งานคอนกรีตผสมเสร็จทุกครั้ง คือ ค่ากำลังอัด โดยส่วนใหญ่ผู้ที่เลือกใช้บริการคอนกรีตผสมเสร็จ ที่เป็นเจ้าของบ้านเอง หรือผู้ที่ไม่ใช้ผู้รับเหมา วิศวกร ก็มักจะไม่ทราบเรื่องค่ากำลังอัดที่ควรจะใช้งาน ควรจะใช้เท่าไหร่ เทพื้นควรมีกำลังอัดเท่าไหร่ เลือกแบบไหน ดังนั้นจึงขอเสนอตารางและข้อแนะนำในการเลือกใช้กำลังอัดคอนกรีต ให้เหมาะสม ถูกหลัก ถูกประเภทของงาน เพื่อให้ไม่เกิดความเสียหายภายหลัง  (ต้องการทราบเรื่องค่ากำลังอัดคอนกรีต และ การสั่งคอนกรีตตามกำลังอัด เพิ่มเติม คลิก!)

วันเสาร์

ส่วนผสมคอนกรีตที่ทำให้ปั๊มได้ง่าย

ในการออกแบบส่วนผสมของคอนกรีตทั่วๆไป เราจะพิจารณาเพียงให้ได้ค่ากำลังอัด ค่ายุบตัวตามต้องการและสามารถทำงานได้เท่านั้น แต่การออกแบบส่วนผสมของคอนกรีตในงานคอนกรีตปั๊มนั้นต้องออกแบบให้สามารถเคลื่อนที่ผ่านท่อปั๊มได้ง่าย โดยมีองค์ประกอบสำคัญที่ต้องพิจารณาถึงดังนี้ คือ

1.หินและทราย จะต้องมีส่วนคละที่ดี ถุกต้องตามมาตรฐาน ASTM C 33

ส่วนคละของหิน


ส่วนคละของทราย

2.ค่ายุบตัวควรอยุ่ระหว่าง 3"-5" หรือ 7.5 - 12.5 เซนติเมตร
3.ควรมีส่วนละเอียด ซึ่งได้แก่ปูนซีเมนต์ และทรายเพียงพอที่จะอุดช่องว่าง โดยปริมาณปูนซีเมนต์ ต้องไม่น้อยกว่า 300 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร
4.ควรมีทรายที่ผ่านตะแกรงมาตรฐาน 50(300u) 10-30% 
5.ขนาดโตสุดของหินไม่ควรเกิน 1/5 ของเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อ
6.ต้องใช้มอร์ตาอัตราส่วน ซีเมนต์ : ทราย = 1:2 ปั๊ม เพื่อไปเคลือบท่อก่อนการปั๊มคอนกรีตทุกครั้ง
7.ต้องใส่น้ำยาผสมคอนกรีตประเภทยืดเวลาการแข็งตัวทุกครั้งที่ใช้คอนกรีตปั๊ม

วันศุกร์

น้ำยาผสมคอนกรีตสำหรับงานคอนกรีตปั๊ม

น้ำยาผสมคอนกรีตสำหรับงานคอนกรีตปั๊ม

น้ำยาผสมคอนกรีตใช้สำหรับงานคอนกรีตปั๊มนี้จะแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย น้ำยาผสมคอนกรีตที่เหมาะสำหรับงานคอนกรีตปั๊ม คือ น้ำยาประเภทลดน้ำและยืดเวลาการแข็งตัว ซึ่งน้ำยาประเภทนี้มีประโยชน์ คือ
1.ยึดเวลาการแข็งตัวของคอนกรีต ทำให้สามารถทำงานได้นานกว่า คอนกรีตไม่ใส่น้ำยา และในกรณีที่มีปัญหา ก็มีเวลาแก้ไขก่อนที่คอนกรีตจะแข็งตัวในปั๊มหรือในท่อ
2.ทำให้คอนกรีตลื่น สามารถเคลื่อนที่ไปในท่อได้สะดวก
3.ทำให้คอนกรีตเหลวอยู่เป็นเวลานาน สะดวกในการปั๊ม

นอกจากน้ำยาประเภทลดน้ำ และยืดเวลาการแข็งตัวแล้ว ยังมีน้ำยาที่ช่วยให้ปั๊มคอนกรีตได้ง่าย (PUNPING AIDS) น้ำยาประเภทนี้เมื่อใส่ไปในคอนกรีตจะทำให้คอนกรีตลื่นไหลไปในท่อได้สะดวก ทำให้ปั๊มคอนกรีตได้ง่าย ถึงแม้ว่าคอนกรีตนี้จะใช้ปริมาณปูนซ๊เมนต์ไม่มากนัก แต่น้ำยาประเภทนี้ยังไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบันเพราะราคาแพง

วันพฤหัสบดี

อิทธิพลของ มวลรวม ต่อความสามารถในการปั๊ม คอนกรีตผสมเสร็จ

1.ขนาด (size)
ขนาดของมวลรวมมีผลต่อความสามารถในการปั๊มได้ สมมุติว่าหินมีรูปร่างเป็นรูปทรงลูกบาศก์ ขนาด 2x2x2เซนติเมตร จะมีปริมาตร 8 ลูกบาศก์เซนติเมตร และพื้นที่ผิว 6x2 เซนติเมตร x 2 เซนติเมตร = 24 ตารางเซนติเมตร

แต่ถ้าหินก้อนนี้ถูกแบ่งออกเป็น 8 ก้อนเท่าๆ กัน ปริมาตร ยังเท่าเดิมคือ 8 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่พื้นที่ผิวเพิ่มเป็น 8x6x1 เซนติเมตร x1 เซนติเมตร = 48 ตารางเซนติเมตร

จากตัวอย่างพบว่า พื้นที่ผิวจะขึ้นอยู่กับขนาดของมวลรวมแต่ละก้อนและเมื่อพื้นที่ผิวเพิ่มขึ้นจำเป็นต้องเพิ่มมอร์ตา เพื่อให้คอนกรีตสามารถปั๊มผ่านท่อไปได้

 2.รูปร่าง (SHAPE)
การผลิตคอนกรีตในประเทศไทย ส่วนใหญ่ใช้หินย่อย (CRUSHED ROCK)เป็นมวลรวมหยาบ หินย่อยในแต่ละแหล่งจะมีรูปร่างแตกต่างกัน ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเรื่องนี้มาพิจารณาในการออกแบบส่วนผสมของคอนกรีตด้วย

สมมุติว่าหินมีรูปร่างเป็นทรงลูกบาศก์ ขนาด 2x2x2 เซนติเมตร จะได้ปริมาตร 8 ลูกบาศก์เซนติเมนตร และพื้นที่ผิว 24 ตารางเซนติเมตร แต่ถ้าหินนี้มีรูปร่างยาว (FLAKY , LONGITUDINAL GRAIN) ขนาด 0.5 เซนติเมตร x2 เซนติเมตร x8 เซนติเมตร ปริมาตร 8 ลูกบาศก์เซนติเมตร พื้นที่ผิว = 2x(0.5 เซนติเมตร x2 เซนติเมตร) + 2x(0.5 เซนติเมนตร x8 เซนติเมตร) +2x(2 เซนติเมตร x8 เซนติเมตร) = 42 ตารางเซนติเมตร

จากตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่า พื้นที่ผิว จะขึ้นอยู่กับรูปร่างของหินอย่างมาก

มวลรวมที่มีพื้นผิวหยาบ เป็นเหลี่ยมมุม เช่น หินย่อย จะต้องปรับส่วนผสมให้มีส่วนละเอียดเพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันการขัดกันระหว่างมวลรวม
มวลรวมที่มีความพรุน จะดูดซึมน้ำได้เร็ว อาจทำให้ปั๊มติดขัดได้ แนวทางแก้ไขคือ พยายาม ทำให้มวลรวมเปียกชื้นอยู่เสมอ

วันพุธ

คุณสมบัติของคอนกรีตที่จะสามารถปั๊มได้

1.ต้องมีความเหลวที่เหมาะสม
-คอนกรีตที่เหมาะสมสำหรับนำไปปั๊ม ควรจะมีค่ายุบตัวอยู่ระหว่าง 7.5-12.50 ซม. หรือ 3-5 นิ้ว
-ถ้าค่ายุบตัวน้อยเกินไปคอนกรีตจะปั๊มยาก และต้องใช้แรงดันสูงมาก ซึ่งจะเกิดผลเสียคือท่อสึกหรอเร็ว และปั๊มเสียได้ง่าย
-ถ้าค่ายุบตัวมากเกินไป คอนกรีตมีแนวโน้มที่เกิดการแยกตัว

ค่ายุบตัวนอกจากจะเป็นตัวชี้ชั้นตันอย่างง่ายว่า คอนกรีตมีความเหลวพอที่จะปั๊มได้หรือไม่แล้ว ยังเป็นตัวบ่งชี้ได้ด้วยว่า คอนกรีตเหมาะที่จะนำไปปั๊มหรือไม่ด้วย กล่าวคือ

เมื่อวัดค่ายุบตัวของคอนกรีตแล้ว คอนกรีตล้มแบบเฉือน สรุปได้ว่า คอนกรีตนี้ส่วนผสมยังไม่เหมาะสม ส่วนละเอียดน้อยเกินไป ควรปรับปรุงส่วนผสมใหม่

วันอังคาร

การเคลื่อนที่ของคอนกรีตในท่อ สำหรับงานคอนกรีตปั๊ม

ส่วนผสมของคอนกรีตเป็นองค์ประกอบสำคัญ ในการลำเลียงคอนกรีตโดยใช้คอนกรีตปั๊ม

ส่วนผสมของคอนกรีตแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นของแข็งได้แก่ หิน,ทราย,ซีเมนต์ และส่วนที่เป็นของเหลว คือ น้ำ ซึ่งในส่วนผสมทั้งหมด มาผสมเป็นคอนกรีต เนื้อคอนกรีตจะสามารถปั๊มได้เมื่อส่วนผสมทั้งหมดถูกนำมาผสมกัน ด้วยอัตราส่วนที่พอเหมาะ โดยที่น้ำเป็นตัวส่งผ่านแรงดันไปยังส่วนผสม อื่นๆ

การเครื่องที่ของคอนกรีตในท่อนั้น จะเคลื่อนที่ไปในลักษณะทรงกระบอกหรือที่เรียกว่า PLUG FLOW โดยมีมอร์ตาเป็นตัวหล่อลื่น

การเคลื่อนที่ของคอนกรีตในท่อ
จากรูปคอนกรีตที่เคลื่อนที่ในท่อจะมีแรงอยู่ 3 ส่วนที่มาเกี่ยวข้อง คือ แรง P.D.R
P คือ แรงดันจากปั๊ม
R คือ แรงต้านทานการเคลื่อนที่ของคอนกรีตในท่อ ทั้งในแนวราบ แนวดิ่ง รวมทั้งตามข้อต่อ ข้องอ และส่วนคอดต่างๆ (HEAD OF MATERIAL)
D คือ แรงเสียดทาน (FRICTION) ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ 
-ความเร็ว แรงเสียดทานจะเพิ่มขึ้นตามความเร็วของคอนกรีตที่เคลื่อนที่ในท่อ
-ขนาดของท่อ แรงเสียดทานในท่อเล็กจะมากกว่าแรงเสียดทานในท่อใหญ่
-ชนิดของท่อ ท่อยางทำให้เกิดแรงเสียดทานกว่าท่อเหล็ก
จากแรงทั้ง 3 นี้ คอนกรีตจะเคลื่อนที่ไปได้ต่อเมื่อ
แรง P มากกว่า R รวมกับแรง D (P>R+D)

วันอาทิตย์

การดูรอยแตกร้าวของคอนกรีต ว่าเกิดจากสาเหตุใด

รอยแตกร้าวเป็นของคู่กันกับคอนกรีต เนื่องจากคอนกรีตเป็นวัสดุที่รับแรงดึงได้น้อย รอยแตกส่วนใหญ่ที่เกิดกับคอนกรีตจึงมักมีสาเหตุมาจากแรงดึงเป็นหลัก แต่ก็ไม่ใช่รอยแตกร้าวทุกชนิดจะบ่งชี้ถึงอันตรายของโครงสร้างหรือไความไม่มั่นคงปลอดภัยของอาคารเสมอไป รอยแตกร้าวบางชนิดอาจเกิดเพราะฝีมือการก่อสร้าง ความเสื่อมสภาพหรือเกิดตรงตำแหน่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างเลยก็เป็นได้ เพื่อให้ชัดเจนจึงควรจำแนกชนิดและสาเหตุของรอยร้าวแต่ละประเภทไว้เพื่อสะดวกในการใช้ตรวจสอบอาคารต่อไป

ประเภทของรอยร้าว..
จำแนกรอยร้าวตามสาเหตุที่เกิดได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่
1.รอยร้าวเนื่องจากคุณภาพของวัสดุและฝีมือการทำงานที่ไม่ดี
2.รอยร้าวเกิดจากความเสื่อมสภาพของวัสดุ
3.รอยร้าวเนื่องจากโครงสร้างรับน้ำหนักไม่ได้
4.รอยร้าวเนื่องจากฐานรากทรุดตัว

รูปที่ 1  รอยแตกลายงา รอยร้าวเล็กๆ สั้นๆ ไม่ลงลึก ถึอว่าเป็นตัวบ่งชี้ คุณภาพการก่อสร้าง ไม่ได้บ่งชี้ด้านความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร

วันเสาร์

ลักษณะการแตกของก้อนตัวอย่างคอนกรีต

ลักษณะการชำรุดแตกหักของก้อนตัวอย่างคอนกรีตที่รับแรงอัด มันแตกออกเป็นรูปกรวยคู่ (Shear Failure) โดยมีปลายกรวยอยู่ที่กึ่งกลางของทรงกระบอก โดยเกิดจากการถูกเฉือนในระนาบที่เอียงกับแรงกด อันเนื่องมาจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่าง วัสดุผสมและความเสียดทาน ภายในดังนั้นมุมของการแตกหัก จึงมีค่าเท่ากับ 45 - ∅/2 เมื่อ ∅ เป็นมุมของความเสียดทานภายใน ของคอนกรีตซึ่งมีค่าประมาณ 20 องศา ดังนั้นระนาบของความเสียหายของตัวอย่างคอนกรีตจึง เบี่ยงประมาณ 35 องศา ลักษณะการแตกของก้อนตัวอย่างอาจเป็นการแตกแบบแยกออก (Spliting Failure) หรืออาจเป็นการรวมของลักษณะการแตกของทั้ง 2 แบบ (Combination Shear and Splitting Failure)
การแตกของก้อนตัวอย่างรูปทรงกระบอก

วันศุกร์

การประเมินผลการทดสอบกำลังอัดและสาเหตุที่กำลังอัดของคอนกรีตไม่เป็นไปตามข้อกำหนด

วัตถุประสงค์หลังของการทดสอบกำลังอัดของตัวอย่างคอนกรีตจากหน่วยงานก่อสร้าง คือ เพื่อประเมินผลและควบคุมให้แน่ใจว่า คอนกรีตที่ผลิตขึ้นมีคุณภาพและกำลังอัดที่สม่ำเสมออยู่ในระดับที่ต้องการแต่เนื่องจากคอนกรีตไม่ใช่มวลที่เกิดจากการผสมของวัตถุจนเป็นเนื้อเดียวกัน ดังนั้นคอนกรีตจึงมีคุณสมบัติที่แตกต่างกับไปในแต่ละรุ่นผสมและแม้แต่รุ่นผสมเดียวกันก็ยังมีคุณสมบัติผันแปรกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ อัตราส่วนผสมการผสม การลำเลียง การเท การบ่ม และตัวอย่างคอนกรีต นอกจากการผันแปรอันเกิดจากลักษณะของคอนกรีตเองแล้ว คุณสมบัติของคอนกรีตยังถูกทำให้เปลี่ยนแปลงออกไปได้เนื่องจากวิธีการทดสอบ เพื่อหาคุณสมบัตินั้นๆ อีกด้วย เช่น การหล่อแท่งตัวอย่าง การดูแล และการทดสอบตัวอย่างคอนกรีต เป็นต้น สรุปแล้วก็คือ ในการทดสอบกำลังอัดของตัวอย่างคอนกรีตจากสนามต้องยอมรับว่า ค่ากำลังอัดที่ได้จากการทดสอบจะมีค่าที่แตกต่างและค่าผันแปรนี้ต้องอยู่ในขอบเขตที่กำหนดไว้ด้วย สำหรับการที่จะกำหนดขอบเขตและควบคุมนั้นสามารถทำได้ด้วยวิธีการทางสถิติพร้อมกันกับความเข้าใจในลักษณะของคอนกรีตและการทดสอบคอนกรีตด้วย

ความผันแปรของกำลังอัดตัวอย่างคอนกรีต
กำลังอัดของตัวอย่างคอนกรีต จะมีค่ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับการควบคุมทั้งวัตถุดิบ ขบวนการผลิตและขบวนการทดสอบ ซึ่งเมื่อสรุปจะได้ว่ากำลังอัดของตัวอย่างคอนกรีต มีค่าผันแปรอันเนื่องจากสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ
1.การผันแปรเนื่องจากคุณสมบัติของคอนกรีต (ผันแปรในขบวนการผลิต)
2.การผันแปรเนื่องจากการทดสอบ (ผันแปรในขบวนการควบคุมคุณภาพ)
สรุปความผันแปรของกำลังอัด

การทำก้อนตัวอย่างและการทดสอบกำลังอัดคอนกรีต

คอนกรีตที่เหมาะสำหรับงานก่อสร้าง นอกจากมีความเหลวที่จะเทได้แล้ว เมื่อเป็นคอนกรีตที่แข็งตัวแล้วยังต้องสามารถรับกำลังอัดได้ตามต้องการ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องการเก็บก้อนตัวอย่าง และนำมาทดสอบตามเวลาต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้

ก้อนตัวอย่างในงานคอนกรีตที่ใช้ในประเทศไทย มีดังนี้
1.ตัวอย่างรูปลูกบาศก์ขนาด 15x15x15 ซม.
2.ตัวอย่างรูปทรงกระบอกเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 ซม. สูง 30ซม.
3.ตัวอย่างรูปคานขาด 15x15x60 ซม.

วันพฤหัสบดี

ความสัมพันธ์ระหว่างกำลังอัดก้อนตัวอย่างทรงลูกบาศก์และทรงกระบอก

การทดสอบทำโดยการหล่อก้อนตัวอย่างคอนกรีตมาตรฐานแบ่งออกเป็น 2 มาตรฐาน  คือ
1.รูปทรงลูกบาศก์ ตามมาตรฐานอังกฤษ  BS 1881:Part 3 ขนาดที่ใช้คือ 15x15x15 ซม.
2.รูปทรงกระบอก ตามมาตรฐานอเมริกัน ASTM C 192 ขนาดที่ใช้คือ ขนานเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 ซม. สูง 30 ซม.

กำลังอัดของคอนกรีตทั้ง 2 รูปทรงนี้ จะให้ค่ากำลังอัดที่แตกต่างกัน ถึงแม้ว่าจะใช้ส่วนผสมของคอนกรีตเดียวกัน โดยกำลังอัดตัวอย่างรูปทรงกระบอกจะมีค่าน้อยกว่ากำลังอัดของตัวอย่างรูปทรงลูกบาศก์ทั้งนี้เนื่องจากองค์ประกอบ

1.แรงเสียดทานระหว่างผิวของก้อนตัวอย่างกับแผ่นรองกดก่อให้เกิด Confining Stress ซึ่งจะมีผลทำให้ค่ากำลังอัดของรูปทรงลูกบาศก์ที่ได้สูงกว่าความเป็นจริง

2.องค์ประกอบเรื่องความชะรูด กล่าวคือเนื่องจากรูปทรงกระบอกมีความสูงมากกว่าด้านกว้างทำให้ผลด้าน Confining Stress ลดลงอย่างมาก

ตามมาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (มาตรฐาน วสท.) ได้ให้กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกำลังอัดรูปทรงลูกบาศก์กับกำลังอัด รูปทรงกระบอก ดังรูปที่ 9.3

ปัจจัยที่มีผลต่อกำลังอัดของคอนกรีต (4.การทดสอบกำลังอัด)

4.การทดสอบกำลังอัดคอนกรีต

การควบคุมคุณภาพคอนกรีต สำหรับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กจะทำในรูปของการซักตัวอย่างคอนกีตสดมาทำก้อนตัวอย่างโดยถือว่ากำลังของก้อนตัวอย่างเป็นตัวแทนของคอนกรีตที่หล่อเป็นโครงสร้าง ดังนั้นจึงควรพิจารณาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทดสอบตัวอย่างคอนกรีตต่อไปนี้

ขนาดและลักษณะของแท่งทดสอบ 
การใช้แท่งทดสอบที่ต่างขนาดและต่างลักษณะกันจะมีผลทำให้ค่ากำลังของคอนกรีตเกิดความแตกต่าง ดังแสดงในตารางที่ 9.1

วันพุธ

ปัจจัยที่มีผลต่อกำลังอัดของคอนกรีต (3.การบ่มคอนกรีต)

3.การบ่มคอนกรีต

ความชื้น จะมีอิทธิพลต่อกำลังของคอนกรีต เพราะปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันระหว่างปูนซีเมนต์กับน้ำนั้นจะค่อยเป็นค่อยไป นับตั้งแต่ปูนซีเมนต์เริ่มผสมกับน้ำเป็นซีเมนต์เพสต์ และซีเมนต์เพสต์จะมีกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้ามีความชื้นอยู่ตลอดเวลา ถ้าซีเมนต์เพสต์ในคอนกรีตไม่มีความชื้นอยู่ คอนกรีตก็จะไม่มีการเพิ่มกำลังอัดอีกต่อไป ในทางปฏิบัติเรามักจะบ่มคอนกรีตจนถึงอายุ  28 วัน เมื่อคอนกรีตเริ่มแข็งตัวควรทำการบ่มด้วยความชื้นทันที

ปัจจัยที่มีผลต่อกำลังอัดของคอนกรีต (2.การทำคอนกรีต)

2.การทำคอนกรีต

การชั่งตวงส่วนผสม
-  การชั่งตวงส่วนผสม หากใช้การตวงโดยปริมาตรจะมีโอกาสผิดพลาดมากกว่าการชั่งส่วนผสมโดยน้ำหนัก ซึ่งหากอัตราส่วนผสมคอนกรีตผิดไปจะทำให้คุณสมบัติของคอนกรีตเปลี่ยนแปลงได้
-  อัตราส่วนผสม จะมีอิทธิพลต่อกำลังของคอนกรีตโดยตรง  โดยเฉพาะอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์

การผสมคอนกรีต
    การผสมคอนกรีตจะต้องผสมวัสดุทำคอนกรีตให้รวมเป็นเนื้อเดียวกันให้มากที่สุด เพื่อให้น้ำมีโอกาศทำปฎิกิริยากับปูนซีเมนต์ได้อย่างทั่วถึง และเพื่อให้ซีเมนต์เพสต์กระจายแทรกตัวอยู่ในช่องว่างระหว่างมวลรวมได้เต็มที่ ดังนั้น การผสมคอนกรีตหากกระทำอย่างไม่ทั่วถึง จะมีผลทำให้กำลังของคอนกรีตมีค่าไม่คงที่ได้

ปัจจัยที่มีผลต่อกำลังอัดของคอนกรีต (1.คุณสมบัติของวัสดุผสม)

1.คุณสมบัติของวัสดุผสม

ปูนซีเมนต์ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลที่สำคัญมาก เพราะปูนซีเมนต์แต่ละประเภท จะก่อให้เกิดกำลังของคอนกรีตที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีของปูนซีเมนต์ นอกจากนี้แม้ว่าจะเป็นปูนซีเมนต์ประเภทเดียวกันแต่มีความละเอียดแตกต่างกันแล้ว อัตราการเพิ่มกำลังของคอนกรีตก็จะแตกต่างไปด้วย คือ ถ้าปูนซีเมนต์ที่มีความละเอียดมากก็จะให้กำลังสูง โดยเฉพาะหลังจากที่แข็งตัวไปแล้วไม่นาน

น้ำ น้ำมีผลต่อกำลังของคอนกรีตตามความใส และปริมาณของสารเคมีหรือเกลือแร่ที่ผสมอยู่ น้ำที่มีเกลือคลอไรด์ผสมอยู่ จะทำให้อัตราการเพิ่มกำลังของคอนกรีตในระยะต้นสูง น้ำขุ่นหรือน้ำที่มีสารแขวนลอยปนอยู่ จะทำให้กำลังของคอนกรีตต่ำลง ซึ่งอาจจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณและขนิดของสารแขวนลอยนั้น

วันอังคาร

กำลังอัดของคอนกรีต

คุณสมบัติของคอนกรีตในขณะที่ยังอยู่ในสภาพเหลวจะมีความสำคัญเพียงขณะก่อสร้างเท่านั้น ในขณะที่คุณสมบัติของคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว จะมีความสำคัญไปตลอดอายุในการใช้งานของโครงสร้างคอนกรีตนั้น ในทางปฏิบัติ คุณสมบัติของคอนกรีตทั้ง 2 ลักษณะ จะมีผลต่อกันและกัน การที่จะให้ได้คุณสมบัติของคอนกรีตที่แข็งตัวแล้วดี จะต้องมาจากการเลือกสัดส่วนผสมเพื่อให้คอนกรีตที่อยู่ในสภาพเหลวมีความเหมาะสมอย่างมากในการใช้งาน

คุณสมบัติของคอนกรีตที่แข็งตัวแล้วได้แก่ กำลัง ความทนทาน และการเปลี่ยนแปลงปริมาตร ซึ่งในบทนี้จะกล่าวเพียงกำลังอัดของคอนกรีต ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของคุณสมบัติด้าน กำลัง ส่วนคุณสมบัติอื่นๆ จะกล่าวในบทต่อๆไป

วันอาทิตย์

แผนผังเว็ปไซค์ - PSP CEMENT THAI:จำหน่ายวัสดุก่อสร้างราคาถูก สมาร์ทบอร์ด สมาร์ทวูด กระเบื้องหลังคาซีแพคโมเนีย หลังคาลอนคู่ จัดส่งทั่วประเทศ ร้านย่านมีนบุรี ปูนถุงราคาถูก สินค้าตราช้าง SCG แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป hollow core ปูนถุงตราช้าง ปูนตราเสือ มอร์ตาร์ หลังคาเซรามิค ทดแทนไม้ ไม้สังเคราะห์ แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ ราคาถูก A3DA928D48F4919488EE5DBC79D5D260

แผนผังเว็ปไซค์ - PSP CEMENT THAI:จำหน่ายวัสดุก่อสร้างราคาถูก สมาร์ทบอร์ด สมาร์ทวูด กระเบื้องหลังคาซีแพคโมเนีย หลังคาลอนคู่ จัดส่งทั่วประเทศ ร้านย่านมีนบุรี ปูนถุงราคาถูก สินค้าตราช้าง SCG แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป hollow core ปูนถุงตราช้าง ปูนตราเสือ มอร์ตาร์ หลังคาเซรามิค ทดแทนไม้ ไม้สังเคราะห์ แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ ราคาถูก A3DA928D48F4919488EE5DBC79D5D260