วันพฤหัสบดี

การสั่งคอนกรีตผสมเสร็จ

คอนกรีตผสมเสร็จ เป็นคอนกรีตที่ผสมโดยผู้ผลิตที่โรงงาน ซึ่งจะแตกต่างจากคอนกรีตที่ผสมเองตามสถานที่ก่อสร้าง เพราะไม่ต้องซื้อปูน หิน ทราย แล้วนำมาผสมเองด้วยมือ หรือโม่ผสมคอนกรีต โดยคอนกรีตผสมเสร็จจะบรรทุกมาในรถขนส่งคอนกรีต และนำมาเทที่หน่วยงานก่อสร้าง

การเลือกใช้คอนกรีตผสมเสร็จนั้น จะต้องตรวจสอบว่ารถขนส่งคอนกรีตสามารถเข้ามายังสถานที่ก่อสร้างได้หรือไม่ ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนการขนส่งล่วงหน้า ในการสั่งซื้อคอนกรีตจะต้องระบุ ค่ากำลังอัด (Strength) ค่ายุบตัว (Slump) ของคอนกรีต และลักษณะการใช้งานที่ต้องการให้ผู้ผลิตทราบ และควรสั่งคอนกรีตมากกว่าที่คำนวณได้เล็กน้อย อย่างน้อยครึ่งคิว สำหรับเป็นส่วนเผื่อในกรณีที่ระดับของพื้นที่มีความแตกต่างกัน หรือสำหรับคอนกรีต ที่ติดค้างกับอุปกรณ์ต่างๆ

ค่ากำลังอัดของคอนกรีตผสมเสร็จ (Strength)
 การสั่งคอนกรีตผสมเสร็จมาเทยังสถานที่ก่อสร้าง จำเป็นต้องเลือกคุณภาพกำลังอัดให้เหมาะสมกับงานที่วิศวกรได้ออกได้ออกแบบไว้ โดยส่วนมากสั่งตามค่ากำลังอัดของคอนกรีตที่ อายุ 28วัน โดยทั่วไปบริษัทผู้ผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ จัดจำหน่ายคอนกรีตตามกำลังอัดของคอนกรีต ดังแสดงในตาราง

วันพุธ

ความทนทานของคอนกรีตผสมเสร็จ คอนกรีตสำเร็จรูป ปูนมิกซ์ คอนกรีตซีเมนต์

ความทนทานของคอนกรีตผสมเสร็จ


       เมื่อกล่าวถึงคอนกรีต กำลังอัด เป็นคุณสมบัติประการแรกและประการสำคัญที่ผู้ออกแบบ ผู้ควบคุมงานก่อสร้างและผู้รับเหมา คำนึงถึง รวมทั้งข้อกำหนดสำหรับงานก่อสร้างต่างๆล้วนระบุถึงกำลังอัดคอนกรีตของโครงสร้างที่ออกแบบไว้ แต่คุณสมบัติที่มักจะถูกมองข้ามนั้นคือ ความทนทาน( Durability )

ความทนทานของคอนกรีตเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมากประการหนึ่งซึ่งหมายถึง ความสามารถในการทนต่อการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพแวดล้อม ทนต่อการทำลายจากสารเคมี ทนต่อแรงกระแทกหรือการกระทำอื่นๆ ตลอดอายุการใช้งานของโครงสร้างนั้น

คอนกรีตที่ทนทานจะต้องคงสภาพได้นานตลอดอายุการใช้งาน สิ่งก่อสร้างคอนกรีตจำนวนมากที่ถูกออกแบบและก่อสร้างโดยไม่คำนึงถึงความทนทานจึงส่งผลให้เกิดความเสียหาย สามารถสรุปได้ 3 ประการใหญ่ๆ คือ

1. สาเหตุด้านกายภาพ (Physical)
เช่น ความเสียหายเนื่องจาก ความร้อน น้ำหนักที่บรรทุกมากเกินไป เป็นต้น

2. สาเหตุด้านเคมี (Chemical)
เช่น มีการซึมผ่านของสารเคมีเข้ามากัดกร่อนคอนกรีตและเหล็กเสริม

3. สาเหตุด้านกล (Mechanical)
เช่น การเสียดสีจนเกิดความเสียหาย
ขอบเขตของความเสียหายขึ้นอยู่กับองค์ประกอบเฉพาะที่มาเกี่ยวข้องอันได้แก่ คุณภาพของคอนกรีต ความหนาแน่นของคอนกรีต และความรุนแรงของสภาพแวดล้อม เป็นต้น

ใช้คอนกรีตแบบไหน หมดปัญหา น้ำรั่ว น้ำซึม

ปัญหารั่วซึม น้ำจากชั้นดาดฟ้า หรือจากห้องน้ำรั่วซึมลงมา พื้นกระเบื้อง หรือ ปาเก้ชั่นล่างร่อน รวมทั้งวอลเปอร์หรือสีร่อน ปัญหาดังกล่าวล้วนมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการเลือกใช้คอนกรีตที่ไม่เหมาะสมทั้งสิ้น

การเลือกใช้คอนกรีตผสมเสร็จ ปูนมิกส์ ปูนคอนกรีตสำเร็จ

การเลือกใช้คอนกรีตผสมเสร็จ ปูนมิกส์ ปูนคอนกรีตสำเร็จ

คอนกรีต ถือเป็น วัสดุสำคัญในการสร้างบ้าน ท่านเจ้าของบ้านอาจกำลังเลือกอยู่ว่าจะใช้คอนกรีตผสมมือ หรือคอนกรีตผสมเสร็จในการสร้างหรือซ่อมแซมบ้าน ซึ่งคอนกรีตทั้งสองประเภทถึงแม้จะทำมาจากปูนซีเมนต์ หิน ทราย น้ำและสารผสมเพิ่มเหมือนกันแต่คุณสมบัติ คุณภาพและการใช้งานมีความแตกต่างกันอยู่ จึงขอสรุปข้อความแตกต่างของคอนกรีตทั้งสองประเภทเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ

เปรียบเทียบคอนกรีตผสมมือและคอนกรีตผสมเสร็จ

การซื้อส่วนผสมคอนกรีต
คอนกรีตผสมมือ : ยุ่งยากกว่า ต้องซื้อ ปูนซีเมนต์ หิน ทรายและสารผสมเพิ่มกับร้านขายวัสดุก่อสร้างเอง
คอนกรีตผสมเสร็จ : สะดวกกว่า ซื้อเพียงอย่างเดียวที่ร้านขาย วัสดุก่อสร้างที่มีเครื่องหมายตราช้าง

ส่วนผสมคอนกรีต
คอนกรีตผสมมือ : ช่างอาจลดต้นทุนโดยใช้ปูนฉาบแทนปูนโครงสร้าง หิน ทราย น้ำไม่สะอาด ซึ่งจะมีผลต่อความแข็งแรงของโครงสร้าง
คอนกรีตผสมเสร็จ : ใช้ปูนซีเมนต์สำหรับเทโครงสร้างโดยเฉพาะ หิน ทราย สะอาด มีขนาดคละที่เหมาะสม ทำให้โครงสร้างมีความแข็งแรงกว่า

การคำนวณ การใช้คอนกรีตผสมเสร็จ ว่าต้องใช้กี่คิว


การคำนวณ การใช้คอนกรีตผสมเสร็จ ว่าต้องใช้กี่คิว

โดยปกติการซื้อขายคอนกรีตผสมเสร็จนั้นจะได้หน่วยเป็นคิว หรือ ลูกบาศก์เมตร ถ้าท่านจะสร้างบ้านใหม่ทั้งหลัง หรือต่อเติมซ่อมแซมบ้านเพียงเล็กน้อย ท่านสามารถคำนวณได้เลยตามหลักการด้านล่าง หากมีวิศวกรหรือสถาปนิกที่ออกแบบให้ท่านก็จะมีการคำนวนไว้เรียบร้อยแล้ว ท่านสามารถถามจำนวนที่ต้องการใช้ได้เลย   (สามารถศึกษา มาตราส่วนการหาพื้นที่เทคอนกรีตได้ ที่นี้ คลิก!)

ตัวอย่างการคำนวณ ปริมาณคอนกรีตที่ใช้เทคาน
ปริมาณคอนกรีตที่ต้องใช้ 
= กว้าง x ลึก x ยาว
= 0.15 x 0.3 x 4
= 0.18 คิว


ตัวอย่างการคำนวณ ปริมาณคอนกรีตที่ใช้เทเสา

ประเภทของคอนกรีตปั๊ม แบบต่างๆ

ประเภทของคอนกรีตปั๊ม แบบต่างๆ

เราสามารถแบ่งคอนกรีตปั๊มตรามลักษณะ การขับเคลื่อนคอนกรีต ออกเป็น 3 ประเภทคือ
1.คอนกรีตปั๊มแบบรีด
2.คอนกรีตปั๊มแบบใช้ลูกสูบ
3.คอนกรีตปั๊มแบบใช้ลมดัน

2.1 คอนกรีตปั๊มแบบรีด
      คอนกรีตปั๊มแบบนี้ประกอบด้วยท่อยางอ่อน และลูกกลิ้งที่หมุนอยู่ภายในห้องปั๊ม ลูกกลิ้งจะหมุนไปบีบท่อ และรีดคอนกรีตที่อยู่ในท่อยาง ออกไปตามท่อสู่บริเวณที่จะเทคอนกรีต โดยทั่วไปภายในห้องปั๊มจะมีความดันต่ำกว่าบรรยากาศ ทั้งนี้เพื่อให้ท่อยางอ่อนภายในห้องปั๊มที่ถูกบีบโดยลูกกลิ้งดันตัวกลับรูปเดิมอย่างรวดเร็ว เป็นผลให้สามารถส่งคอนกรีตออกจากปั๊มได้อย่างสม่ำเสมอ

คอนกรีตปั๊มในลักษณะนี้ไม่มีประตูปิดเปิดที่ทางเข้า-ออก จึงไม่มีการสึกหรอที่ประตูปิด-เปิด และไม่มีการรั่วซึมของน้ำปูน แต่จะเกิดการสึกหรอของท่อยางทั้งภายในและภายนอก เพราะผิวด้านนอกจะถูกลูกกลิ้งบีบ สำหรับผิวด้านในก็จะถูกขูดขีด โดยส่วนผสมต่างๆ ของคอนกรีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งหินที่มีเหลี่ยมคม นอกจากน้ำคอนกรีตปั๊มลักษณะดังกล่าวยังมีข้อจำกัดในการส่งคอนกรีต คือ สามารถส่งคอนกรีตได้สูงประมาณ 40 เมตรเท่านั้น