วันจันทร์

คอนกรีตปั๊ม คืออะไร และมีวิวัฒนาการอย่างไร

คอนกรีตปั๊ม (Concrete Pump)  คือ อะไร 

คอนกรีตปั๊ม คือ อุปกรณ์ที่ใช้การลำเลียงคอนกรีตชนิดหนึ่ง ในปัจจุบันคอนกรีตปั๊มได้เข้ามามีบทบาทในการลำเลียงคอนกรีต โดยเข้ามาทดแทนรถเข็ม , ลิฟท์ ,ทาวเวอร์เครน, สายพานลำเลียงและวีธีการลำเลียงอื่นๆ ทั้งนี้เนื่องจากคอนกรีตปั๊มสามารถตอบสนองความต้องในการเทคอนกรีตในที่สูงหรือในที่ที่มีอุปกรรค ยากต่อการเทคอนกรีตโดยวิธีอื่นๆ รวมทั้งยังให้ความสะดวกรวดเร็วในการเทคอนกรีตเมื่อเที่ยบกับวิธีอื่นๆด้วย

วิวัฒนาการของคอนกรีตปั๊ม 

แนวความคิดเกี่ยวกับการลำเลียงคอนกรีตผ่านท่อโดยอาศัยลูกสูบ ไปยังสถานที่ที่ต้องการเทคอนกรีต เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2473 และแนวความคิดนี้ได้เกิดเป็นจริงขึ้นในปี พ.ศ.2476 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้มีการใช้คอนกรีตปั๊มในการลำเลียงคอนกรีต สำหรับการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำ มิสซิสซิปปี้ ที่เมืองมินิโซต้า

วันศุกร์

สาเหตุของการแตกร้าว ของคอนกรีต(คอนกรีตผสมเสร็จ)

สาเหตุของการแตกร้าว ของคอนกรีต(คอนกรีตผสมเสร็จ)

สาเหตุของการแตกร้าว
Structural Crack   อาจมาจากสาเหตุหลัก 3 ประการ คือ
1.การแตกร้าวเนื่องจากการออกแบบไม่ถูกต้อง เช่น การคำนวณออกแบบ หรือการให้รายละเอียดการเสริมเหล็กไม่ถูกต้อง
2.การแตกร้าว ของคอนกรีตเนื่องจากการใช้วัสดุก่อสร้างไม่มีคุณภาพ เช่น ใช้หินผุ หินมีดินปน ทรายสกปรก น้ำสกปรก หรือ ทำการผสมคอนกรีตไม่ได้สัดส่วนที่ถูกต้อง รวมทั้งการใช้เหล็กเสริมที่เป็นสนิมมาก
3.การแตกร้าว ของคอนกรีตผสมเสร็จ เนื่องจากการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน เช่น การผสม การขนส่ง การเทลงแบบ การหล่อคอนกรีตไม่ดีพอ การถอดค้ำยันก่อนกำหนอ ขาดการบ่มที่ดีพอ หรือ แบบหล่อ คอนกรีตโก่งงอ

Non Stuctural Crack  อาจมาจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้
1.การหดตัวของคอนกรีต
2.การทรุดตัวของคอนกรีต
3.ความร้อน

ซึ่งการแตกร้าวพวกนี้สามารถจำแนกตามเวลาที่เกิดได้ เป็นการแตกร้าวก่อนคอนกรีตแข็งตัว และการแตกร้าวหลักจากคอนกรีตแข็งตัวแล้ว

วันพฤหัสบดี

ว่าด้วยเรื่อง การแตกร้าวของคอนกรีตผสมเสร็จ

การแตกร้าวของคอนกรีต
1.ขั้นตอนการเกิดการแตกร้าว

การแตกร้าวของคอนกรีตมีขั้นตอนของการเกิดได้อย่างไร เป็นเรื่องที่ควรทราบไว้เพื่อจะได้หาวิธีป้องกันและแก้ไขได้อย่างถูกต้อง และเพื่อแสดงถึงขั้นตอนของการแตกร้าวอย่างชัดเจน เราจะใช้แบบจำลองของแท่งคอนกรีต(คอนกรีตผสมเสร็จ)มาเป็นตัวอย่างในการพิจารณา

เริ่มแรกเรามาพิจารณาแท่งคอนกรีตที่ยังไม่แข็งตัวดีซึ่ง ยังมีความชื้นอยู่และปลายทั้งสองด้านของแท่งคอนกรีตถูกปล่อยไว้อย่างอิสระ ไม่ยึดติดกับวัตถุอื่นใด

การผสมคอนกรีต วัตถุดิบที่ใช้ : วิธีการผสมคอนกรีต

วัสดุที่ใช้ผสมคอนกรีต

ปูนซีเมนต์: ปูนซีเมนต์ที่ใช้ในงานก่อสร้างต้องเป็นปูนซีเมนต์ที่บรรจุถุงเรียบร้อยตามมาตรฐาน ม.อ.ก. หรือเป็นปูนซีเมนต์ที่เก็บในภาชนะบรรจุของบริษัทผู้ผลิตห้ามใช้ปูนซีเมนต์เสื่อมคุณภาพ เช่น ปูนซีเมนต์ซึ่งแข็งตัวจับกันเป็นก้อน เป็นต้น
มวลรวมแบบละเอียด : ส่วนมากจะเป็นทราย ทรายที่ใช้ผสมคอนกรีตจะต้องมีความละเอียดที่พอดี โดยมี Fineness Modulus (เป็นตัวบ่งบอกความละเอียดของทรายนั้น)  ระหว่าง 2.3 และ 3.1 ถ้าน้อยกว่า 2.3 จะเป็นลักษณะทรายที่สะอาดและละเอียดมากเกินไป
มวลรวมแบบหยาบ :  ธรรมดาเราใช้ทั้งหินย่อยและกรวดเป็นมวลรวมหยาบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการหาวัสดุ ปกติจะระบุไว้ในข้อกำหนด (Specification) ว่าให้ใช้แบบใด ซึ่งทางผู้ผลิตจะต้องคอยตรวจคุณภาพของวัสดุที่ส่งเข้ามาอย่างสม่ำเสมอเพราะอาจไม่ใช่วัสดุจากแหล่งเดียวกัน และอาจมีสิ่งแปลกปลอมปนมาได้ เช่น หินผุ หรือหินอื่นๆ ที่มีคุณภาพด้อยกว่าที่กำหนด
 น้ำ : ต้องเป็นน้ำสะอาด  ซึ่งโดยมากส่วนใหญ่จะใช้น้ำประปาและอาจจะต้องมีการกรองเอาสิ่งสกปรกออกในกรณีที่ไม่สามารถหาน้ำที่สะอาดได้ แล้วจำเป็นต้องใช้น้ำที่ขุ่นในการผสมคอนกรีต จะมีเทคนิคในการทำน้ำให้ใสขึ้นดังนี้ เทปูนซีเมนต์ 1 ลิตร ลงไปในน้ำขุ่น 200 ลิตร ทิ้งไว้ 5 นาที เพื่อให้สิ่งสกปรกตกตะกอนแล้วจึงสูบน้ำที่ใสแล้วจากด้านบนหมดมาใช้ได้ แต่ทั้งนี้น้ำควรจะผ่านการทดสอบคุณสมบัติอื่นๆ ก่อนนำมาใช้
สารผสมชนิดอื่นๆ  : สารเหล่านี้ใช้เพื่อปรับคุณสมบัติของคอนกรีต เช่น สารเพิ่มความแข็งแรง สารเพิ่มความยืดหยุ่นของคอนกรีต เป็นต้น

วันพุธ

การควบคุมคุณภาพคอนกรีต

การควบคุมคุณภาพคอนกรีต

การควบคุมคุณภาพคอนกรีตมีบทบาทสำคัญมากต่อวงการก่อสร้าง กระบวนการควบคุมคุณภาพคอนกรีตไม่ใช้เพียงการทดสอบค่ายุบตัว และการทดสอบกำลังอัดของก้อนตัวอย่างคอนกรีตเท่านั้น แต่รวมไปถึงการคัดเลือกวัตถุดิบและสัดส่วนผสมการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ การควบคุมเครื่องจักรและอุปกรณ์ การควบคุมขบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพคอนกรีตสด และคอยกรีตแข็งตัวแล้ว โดยวัตถุประสงค์ที่สำคัญของการควบคุมคุณภาพ คือ ต้องการให้เกิดความมั่นใจว่าคอนกรีตที่ผลิต มีคุณภาพสูงตามที่มาตรฐานงานกำหนด

ความแตกต่างของคอนกรีตและวัสดุก่อสร้างอื่นๆ 

การควบคุมคุณภาพ จำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับขบวนการผลิตสินค้าวัสดุก่อสร้างทุกชนิด แต่เนื่องจากคอนกรีตมีคุณลักษณะพิเศษต่างๆที่แตกต่างออกไปจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องให้ความใส่ใจอย่างมาก กล่าวคือ 
1.คอนกรีตยังไม่ใช่วัสดุสำเร็จ ณ เวลาที่เทลงแบบเพราะขณะนั้นคอนกรีตยังอยู่ในสภาพที่เหลวแต่การใช้งานจริงใช้คอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว
2.คุณภาพและความสม่ำเสมอของคอนกรีต ผันแปรค่อนข้างมาก เนื่องจากปัจจัยต่่างๆ ทั้งที่สามารถควบคุมได้และที่ยากต่อการควบคุม
3.คุณภาพของคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว จะถูกกระทบจากปัจจัยต่างๆในหลายขั้นตอนตั้งแต่
-การเลือกและการผันแปรของส่วนผสม
-คุณสมบัติของวัสดุผสม
-สัดส่วนผสม
-การสม่ำเสมอในการผสม
-การขนส่งและการเทลงแบบ
4.การรับรองกำลังอัด จะรับรองหลังจากที่เทคอนกรีต นั้นไปแล้ว 3,7,14, หรือ 28 วัน ซึงแตกต่างจากเหล็ก ไม้ หรือวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ซึ่งสามารถทดสอบหาคุณสมบัติต่างๆ ได้ก่อน นำไปใช้งาน
5.ในขณะที่สินค้าอื่นๆพยายามที่จะทำสินค้าให้เป็ฯมาตรฐาน แต่อุตสาหกรรมคอนกรีต จำเป็นต้องดัดแปลง ปรับปรุงสัดส่วนผสมเพื่อให้เพราะกับงานก่อสร้างแต่ละโครงการและจำเป็นต้องใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด