วันพฤหัสบดี

การผสมคอนกรีต วัตถุดิบที่ใช้ : วิธีการผสมคอนกรีต

วัสดุที่ใช้ผสมคอนกรีต

ปูนซีเมนต์: ปูนซีเมนต์ที่ใช้ในงานก่อสร้างต้องเป็นปูนซีเมนต์ที่บรรจุถุงเรียบร้อยตามมาตรฐาน ม.อ.ก. หรือเป็นปูนซีเมนต์ที่เก็บในภาชนะบรรจุของบริษัทผู้ผลิตห้ามใช้ปูนซีเมนต์เสื่อมคุณภาพ เช่น ปูนซีเมนต์ซึ่งแข็งตัวจับกันเป็นก้อน เป็นต้น
มวลรวมแบบละเอียด : ส่วนมากจะเป็นทราย ทรายที่ใช้ผสมคอนกรีตจะต้องมีความละเอียดที่พอดี โดยมี Fineness Modulus (เป็นตัวบ่งบอกความละเอียดของทรายนั้น)  ระหว่าง 2.3 และ 3.1 ถ้าน้อยกว่า 2.3 จะเป็นลักษณะทรายที่สะอาดและละเอียดมากเกินไป
มวลรวมแบบหยาบ :  ธรรมดาเราใช้ทั้งหินย่อยและกรวดเป็นมวลรวมหยาบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการหาวัสดุ ปกติจะระบุไว้ในข้อกำหนด (Specification) ว่าให้ใช้แบบใด ซึ่งทางผู้ผลิตจะต้องคอยตรวจคุณภาพของวัสดุที่ส่งเข้ามาอย่างสม่ำเสมอเพราะอาจไม่ใช่วัสดุจากแหล่งเดียวกัน และอาจมีสิ่งแปลกปลอมปนมาได้ เช่น หินผุ หรือหินอื่นๆ ที่มีคุณภาพด้อยกว่าที่กำหนด
 น้ำ : ต้องเป็นน้ำสะอาด  ซึ่งโดยมากส่วนใหญ่จะใช้น้ำประปาและอาจจะต้องมีการกรองเอาสิ่งสกปรกออกในกรณีที่ไม่สามารถหาน้ำที่สะอาดได้ แล้วจำเป็นต้องใช้น้ำที่ขุ่นในการผสมคอนกรีต จะมีเทคนิคในการทำน้ำให้ใสขึ้นดังนี้ เทปูนซีเมนต์ 1 ลิตร ลงไปในน้ำขุ่น 200 ลิตร ทิ้งไว้ 5 นาที เพื่อให้สิ่งสกปรกตกตะกอนแล้วจึงสูบน้ำที่ใสแล้วจากด้านบนหมดมาใช้ได้ แต่ทั้งนี้น้ำควรจะผ่านการทดสอบคุณสมบัติอื่นๆ ก่อนนำมาใช้
สารผสมชนิดอื่นๆ  : สารเหล่านี้ใช้เพื่อปรับคุณสมบัติของคอนกรีต เช่น สารเพิ่มความแข็งแรง สารเพิ่มความยืดหยุ่นของคอนกรีต เป็นต้น
คอนกรีตผสมเสร็จ ( Ready Mixed Concrete)
ปัจจุบันนี้สถานที่ก่อสร้างแต่ละที่นิยมใช้คอนกรีตผสมเสร็จแทนการผสมคอนกรีตเองที่ไซต์งาน เนื่องจากสะดวก รวดเร็ว และสามารถควบคุมคุณภาพของส่วนผสมได้ ทำให้ได้คอนกรีตที่มีคุณภาพตามกำหนด ทั้งยังไม่ต้องเสียพื้นที่ในการเก็บวัสดุสำหรับผสมคอนกรีต ( ปูนซีเมนต์ ทราย และหิน) อีกด้วย ทั้งยังไม่จำเป็นต้องมีแหล่งน้ำที่สะอาดเพื่อที่จะให้ได้คอนกรีตตามที่ต้องการ นอกจากนั้นเปอร์เซ็นต์การสูญเสียคอนกรีตในระหว่างการผสมลำเลียง และเทย่อมลดน้อยลงด้วย อีกทั้งบริเวณที่ก่อสร้างก็จะสะอาดไม่เลอะเทอะ

                คอนกรีตผสมเสร็จมักจะขนส่งมาแบบเป็นคันรถแล้วใช้วิธีการปั๊มหรือเทตามจุดที่ต้องการ

      อย่างไรก็ดีผู้ควบคุมงานไม่ควรประมาทว่าเป็นคอนกรีตผสมเสร็จแล้วจะต้องดีเสมอไป เพราะหากผู้รับเหมาก่อสร้างขาดความรู้ทางด้านเทคโนโลยีคอนกรีต ก็อาจสั่งการผิด ๆ ได้ เช่น กรณีที่เกิดความล่าช้าในการขนส่งคอนกรีตที่ผสมเสร็จแล้วขณะที่คอนกรีตมาถึงไซต์งานก่อสร้างอาจจะเป็นไปได้ว่าน้ำระเหยไปมากแล้วจนคอนกรีตมีการแข็งตัว ทำให้ส่วนผสมไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ทางผู้รับเหมาอาจจะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยการเทน้ำลงไปผสมเพื่อให้คอนกรีตใช้งานได้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อันจะเป็นเหตุให้คอนกรีตมีกำลังต่ำได้

1. วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตคอนกรีตมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานงานก่อสร้าง
2. การควบคุมสัดส่วนผสมของคอนกรีต ด้วยการชั่งน้ำหนักควรจะใช้มิเตอร์คุณภาพสูง โดยทางนิตยสารเพื่อนวิศวกรได้แนะนำมิเตอร์จากแบรนด์ RED LION CONTROLSจากประเทศอเมริกาในฉบับที่แล้วที่สามารถทำให้ได้ส่วนผสมคอนกรีตที่ถูกต้องแน่นอนและสม่ำเสมอ
3. โรงงานคอนกรีตผสมเสร็จได้นำเทคโนโลยีมาพัฒนากระบวนการผลิตทำให้สามารถผลิตคอนกรีตได้ตั้งแต่ 30 -150 ลบ.ม./ชั่วโมง ซึ่งสามารถช่วยให้งานเทคอนกรีตดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว และลดจำนวนคนงานที่ใช้ในการผสมคอนกรีตและเทคอนกรีตลง
4. แก้ปัญหางานก่อสร้างที่มีบริเวณงานก่อสร้างจำกัด ไม่สามารถวางหรือเก็บกองหิน ทราย ได้ หรือในงานก่อสร้างที่จะต้องเปลี่ยนสถานที่ที่เทคอนกรีตตลอดเวลา เช่น งานถนน งานคลองส่งน้ำ เป็นต้น
5. แก้ปัญหางานก่อสร้างที่ต้องการใช้คอนกรีตปริมาณครั้งละมาก ๆ หรืองานที่ต้องการใช้คอนกรีตเป็นระยะเวลาห่าง ๆ กันซึ่งไม่คุ้มกับการลงทุนซื้อวัสดุผสมมาเก็บไว้ใช้งานเอง
6. ในงานก่อสร้างที่อัตราเทคอนกรีตค่อนข้างช้าสามารถแก้ไขได้โดยการเติมน้ำยาผสมคอนกรีตที่มีคุณลักษณะยืดระยะเวลาการก่อตัวของคอนกรีต
7. คอนกรีตผสมเสร็จจะมีราคาแพงกว่า คอนกรีตผสมเองอยู่บ้างเล็กน้อย แต่สามารถทดแทนด้วยคุณภาพของคอนกรีตที่ดีและสม่ำเสมอ และที่สำคัญคือประหยัดเวลาในการก่อสร้าง
8. ผู้ผลิตมีหน้าที่ที่จะต้องรับรองคุณภาพของคอนกรีตผสมเสร็จด้วยการทดสอบภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด
หลายๆ ท่านอาจจะเคยดูโฆษณาของผู้ผลิตคอนกรีตผสมเสร็จแบรนด์หนึ่งที่แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างความวุ่นวายในการผสมคอนกรีตเอง กับความสะดวกในการใช้คอนกรีตผสมเสร็จ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสะดวกสบายในงานก่อสร้าง ซึ่งไม่ว่างานใหญ่หรืองานเล็กก็สามารถใช้บริการคอนกรีตผสมเสร็จได้เช่นกัน ทางเพื่อนวิศวกรจึงได้นำสาระน่ารู้กับทางเลือกใหม่ของคนทันสมัยมาให้วิศวกรยุคใหม่

การใช้น้ำยากันซึมในการผสมคอนกรีต

          มักจะมีการถามถึงการป้องกันการรั่วซึมของพื้นคอนกรีตดาดฟ้าอยู่เสมอ วิธีการหนึ่งที่นิยมใช้ก็คือ การใส่น้ำยากันซึมผสมในคอนกรีตที่ใช้งานด้วย จากประสบการณ์ของผมเองในแวดวงของงานก่อสร้างบ้านพักอาศัย มักจะเห็นว่าผู้รับเหมาก่อสร้าง หรือแม้แต่ผู้ควบคุมงานก่อสร้างนั้น ยังขาดความเข้าใจในการใช้น้ำยากันซึมอยู่มาก โดยส่วนใหญ่มักจะคิดว่า การใส่น้ำยากันซึมเข้าไปในส่วนผสมคอนกรีตนั้น คือน้ำยาวิเศษที่ช่วยให้คอนกรีต มีความสามารถกันน้ำได้ แล้วก็มีการใช้กันอย่างผิดๆซะเป็นส่วนใหญ่ ก็เลยคิดว่าข้อความในกระทู้นี้คงจะเป็น ประโยชน์บ้างกับเพื่อนๆที่จะใช้น้ำยากันซึมในการผสมคอนกรีต ความสามารถกันน้ำของคอนกรีตนั้นจะเพิ่มขึ้นตามค่ากำลังหรือความแข็งแรงของคอนกรีต ซึ่งโดยปกติแล้ว คอนกรีตที่ใช้ในงานก่อสร้างทั่วไป(ค่ากำลังอัดทรงกระบอกที่อายุ 28 วัน มากกว่า 210 กก/ตร.ซม.ขึ้นไป) ถ้ามีเนื้อคอนกรีตสม่ำเสมอที่ดี ก็จะมีความสามารถป้องกันการซึมของน้ำได้ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว แต่ถ้าต้องการให้คอนกรีตมีความสามารถในการกันน้ำมากขึ้น เช่นพื้นห้องน้ำหรือพื้นดาดฟ้า ก็จะต้องใช้คอนกรีต ที่มีกำลังสูงขึ้น

          ซึ่งค่ากำลังของคอนกรีตนั้น จะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำในส่วนผสมคอนกรีต ซึ่งจะเป็นสัดส่วนกับปูนซีเมนต์ ที่เรียกว่าค่า water cement ratio (w/c) เช่นปูนซีเมนต์ 1 ถุง น้ำหนัก 50 กก. ถ้าใส่น้ำ 25 กก.จะได้ค่าw/c=50/25=0.5

          ซึ่งคอนกรีตที่มีความสามารถกันน้ำได้ดีควรจะมีค่า w/c ต่ำกว่า 0.4 หมายถึงว่าผสมคอนกรีตโดยใช้ปูน 1 ถุงจะใส่น้ำได้ 20 กก. ถ้าผสมโดยใช้ส่วนผสมเช่นนี้ได้ก็ไม่น่าจะมีปัญหา แต่มักจะพบว่าถ้าทำการผสมคอนกรีตโดยใช้ปริมาณน้ำดังกล่าว เมื่อใส่ทราย และหินลงไปแล้ว คอนกรีตจะค่อนข้างข้นซึ่งจะนำไปใช้งานหรือเทลงในแบบได้ยาก ซึ่งจะเรียกว่ามีความสามารถเทได้(workability) ต่ำ ค่าดังกล่าวนี้นิยมวัดที่ค่าการยุบตัวของคอนกรีตที่เรียกกันว่าslump จะขอข้ามในรายละเอียดไปเพราะจะทำให้ยืดยาว แต่เอาเป็นว่า ถ้าคอนกรีตเหลวมาก ก็จะมีค่าslumpมากจะทำงานได้ง่าย แต่ถ้าจะให้คอนกรีตเหลวเพิ่มขึ้น ก็ต้องใส่น้ำเพิ่มขึ้น ถ้าน้ำมากขึ้น ค่า w/c ก็จะเพิ่มขึ้น กำลังคอนกรีตก็จะลดลง ดังนั้น น้ำยากันซึมก็จะเข้ามามีบทบาทตรงนี้คือ ทำให้คอนกรีตเหลวขึ้นโดยไม่ต้องเพิ่มน้ำ แต่ใช้การลดปริมาณน้ำลง แล้วเพิ่มน้ำยากันซึมเข้าไปแทน ซึ่งแท้ที่จริงแล้วน้ำยากันซึมก็คือ สารลดน้ำ ในส่วนผสมคอนกรีตนั่นเอง ซึ่งในการใช้งาน ถ้าใส่น้ำยากันซึมในส่วนผสมโดยไม่ลดปริมาณน้ำให้ได้ค่า w/c ที่ต่ำ แล้วใส่น้ำยาลงไปก็ไม่ช่วยให้กำลังสูงขึ้น เพียงแต่จะช่วยให้คอนกรีตเหลวขึ้นเท่านั้น การใช้งานที่ไม่ถูกต้องนั้นมักจะพบว่า ไม่ทำการศึกษารายละเอียดปริมาณการใช้งานให้ถูกต้องเสียก่อน ส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพจะระบุปริมาณน้ำและน้ำยาในส่วนผสมมาให้ด้วย ซึ่งการผสมจะต้องผสมในน้ำก่อนที่จะนำไปผสมในคอนกรีต ถ้าหากใส่ลงไปภายหลังจากผสมคอนกรีตแล้ว และน้ำยาไม่กระจายตัวดีแล้วก็จะทำให้คอนกรีตไม่แข็งตัว

          สรุปสั้นๆตรงนี้ก็คือ ถ้าผสมคอนกรีตให้มีค่า w/c ต่ำกว่า0.4และนำไปใช้งานได้แล้ว คอนกรีตก็จะมีความสามารถกันน้ำได้ดี แต่ถ้าคอนกรีตแห้งไปให้เพิ่มน้ำยากันซึมเข้าไปในส่วนผสมแทนการเพิ่มปริมาณน้ำในส่วนผสมคอนกรีต แต่อย่างไรก็ตาม การใช้คอนกรีตที่มีค่า w/c ต่ำจะมีการบ่มที่ดีด้วย เนื่องจากมักจะแตกร้าวได้ง่ายเนื่องจากการใช้ปริมาณ ของปูนซีเมนต์ที่ค่อนข้างมาก ถ้าจะกล่าวถึงอีกก็จะค่อนข้างยาวและเกี่ยวพันประเด็นอื่นอีก หวังว่ากระทู้นี้คงจะเป็นประโยชน์บ้างกับผู้ที่ยังคงคิดว่า น้ำยากันซึมเป็นน้ำยาวิเศษที่ทำให้คอนกรีตป้องกันน้ำได้ แต่แท้ที่จริงแล้ว ถ้าใช้งานไม่ถูกต้องก็เป็นการสิ้นเปลืองเงินค่าน้ำยาโดยใช้เหตุ แถมคอนกรีตยังกันน้ำซึมไม่ได้อีกด้วย

          ในบางกรณีที่ต้องการใช้คอนกรีตปริมาณมากในการก่อสร้าง จะมีความจำเป็นต้องใช้คอนกรีตจากผู้ผลิตหลายแห่งในเวลาเดียวกัน ซึ่งถ้าหากสื่อสารกันไม่ดีอาจเกิดความเข้าใจผิดได้ มีกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นในไซต์งานหนึ่ง คอนกรีตที่ส่งมาจากหลายผู้ผลิตมีคุณสมบัติที่เรียกว่า Crushing Strength ต่างกัน เมื่อนำมาใช้ในงานเดียวกันจะทำให้คอนกรีตที่ใช้ไปนั้นเกิดความเสียหายอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ควบคุมงานไม่รอบคอบพอ ไม่ได้ตรวจสอบ ปล่อยให้เทคอนกรีตที่มีกำลังและคุณภาพต่างกันผสมกันลงไป จะทำให้คุณภาพของคอนกรีตที่แข็งตัวแล้วนั้นไม่เป็นไปตามที่ต้องการ สุดท้ายแล้วอาจจะต้องทุบออกทั้งหมด จึงเป็นการเสียเวลาและเงินทองเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นกรณีเช่นนี้ผู้ควบคุมงานจะต้องเอาใจใส่เป็นกรณีพิเศษ

           คุณลักษณะเด่นของคอนกรีตผสมเสร็จ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตคอนกรีตมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานงานก่อสร้าง การควบคุมสัดส่วนผสมของคอนกรีต ด้วยการชั่งน้ำหนักควรจะใช้มิเตอร์คุณภาพสูง โดยทางนิตยสารเพื่อนวิศวกรได้แนะนำมิเตอร์จากแบรนด์ RED LION CONTROLSจากประเทศอเมริกาในฉบับที่แล้วที่สามารถทำให้ได้ส่วนผสมคอนกรีตที่ถูกต้องแน่นอนและสม่ำเสมอ โรงงานคอนกรีตผสมเสร็จได้นำเทคโนโลยีมาพัฒนากระบวนการผลิตทำให้สามารถผลิตคอนกรีตได้ตั้งแต่ 30 -150 ลบ.ม./ชั่วโมง ซึ่งสามารถช่วยให้งานเทคอนกรีตดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว และลดจำนวนคนงานที่ใช้ในการผสมคอนกรีตและเทคอนกรีตลง แก้ปัญหางานก่อสร้างที่มีบริเวณงานก่อสร้างจำกัด ไม่สามารถวางหรือเก็บกองหิน ทราย ได้ หรือในงานก่อสร้างที่จะต้องเปลี่ยนสถานที่ที่เทคอนกรีตตลอดเวลา เช่น งานถนน งานคลองส่งน้ำ เป็นต้น แก้ปัญหางานก่อสร้างที่ต้องการใช้คอนกรีตปริมาณครั้งละมาก ๆ หรืองานที่ต้องการใช้คอนกรีตเป็นระยะเวลาห่าง ๆ กันซึ่งไม่คุ้มกับการลงทุนซื้อวัสดุผสมมาเก็บไว้ใช้งานเอง ในงานก่อสร้างที่อัตราเทคอนกรีตค่อนข้างช้าสามารถแก้ไขได้โดยการเติมน้ำยาผสมคอนกรีตที่มีคุณลักษณะยืดระยะเวลาการก่อตัวของคอนกรีต คอนกรีตผสมเสร็จจะมีราคาแพงกว่า คอนกรีตผสมเองอยู่บ้างเล็กน้อย แต่สามารถทดแทนด้วยคุณภาพของคอนกรีตที่ดีและสม่ำเสมอ และที่สำคัญคือประหยัดเวลาในการก่อสร้าง ผู้ผลิตมีหน้าที่ที่จะต้องรับรองคุณภาพของคอนกรีตผสมเสร็จด้วยการทดสอบภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด                                             

           หลายๆ ท่านอาจจะเคยดูโฆษณาของผู้ผลิตคอนกรีตผสมเสร็จแบรนด์หนึ่งที่แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างความวุ่นวายในการผสมคอนกรีตเอง กับความสะดวกในการใช้คอนกรีตผสมเสร็จ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสะดวกสบายในงานก่อสร้าง ซึ่งไม่ว่างานใหญ่หรืองานเล็กก็สามารถใช้บริการคอนกรีตผสมเสร็จได้เช่นกัน ทางเพื่อนวิศวกรจึงได้นำสาระน่ารู้กับทางเลือกใหม่ของคนทันสมัยมาให้วิศวกรยุคใหม่

         คอนกรีต เป็นวัสดุผสมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในงานก่อสร้าง โดยเฉพาะคอนกรีตผสมเสร็จที่มาพร้อมใช้งานในรถผสมปูน 

        การผสมคอนกรีต เป็นการนำปูนซีเมนต์ หิน ทราย น้ำ น้ำยาผสมคอนกรีตและวัสดุผสมอื่น ๆ ผสมคลุกเคล้าเข้าด้วยกันในอัตราส่วนที่พอเหมาะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเคลือบหรือหุ้มผิวของมวลรวมทั้งหมดด้วยซีเมนต์เพสต์ และเพื่อผสมส่วนผสมทั้งหมดให้เป็นเนื้อเดียวกัน อันจะส่งผลให้ได้คอนกรีตที่มีคุณภาพดี

        ส่วนผสมหลักของคอนกรีตประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ปูนซีเมนต์ วัสดุผสม (หิน ทราย หรือ กรวด) และ น้ำ ในกระบวนการนี้วัตถุดิบทั้ง 3 ชนิดจะถูกนำมาผสมเข้าด้วยกัน และเมื่อผสมเสร็จวัตถุดิบจะทำปฏิกิริยาเคมีเข้าด้วยกันซึ่งจะทำให้คอนกรีตแข็งตัวขึ้นอย่างช้าๆ ความแข็งแรงของคอนกรีตจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่ผสมเสร็จ

       หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวจากของเหลวไปเป็นของแข็งแล้ว ความแข็งแรงของคอนกรีตยังคงเพิ่มขึ้นอยู่ โดยประมาณหลังจากแข็งตัวแล้ว 28 วัน ความแข็งแรงจึงจะอยู่ที่จุดสูงสุดและคงที่               
               
วิธีการผสมคอนกรีต สามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ   การผสมด้วยมือ และ การผสมด้วยเครื่อง

(ศึกษาเพิ่มเติม : อัตราส่วนผสมคอนกรีตและหลักเกณฑ์ของปริมาตรที่ใช้ออกแบบส่วนผสม)
   
         1.การผสมด้วยมือ เหมาะกับงานขนาดเล็กที่ไมเคร่งครัดเรื่องคุณภาพ
ขั้นตอนวิธีผสมปูนด้วยมือ

1. ตวงส่วนผสมของปูนซีเมนต์กับทราย แล้วเทลงไปรวมกัน

2. ให้ผสมปูนซีเมนต์กับทรายให้เข้ากันเสียก่อน โดยอย่าพึ่งในหินลงไป (เมื่อผสมจนเข้ากันแล้วสังเกตดูจะมองเห็นวัสดุทั้งสองอย่างผสมกันจนออกเป็นสีเทาๆเหมือนปูนซีเมนต์) สาเหตุที่ต้องผสมปูนกับทรายก่อนก็เพราะจะช่วยทุ่นแรงไปได้มาก เพราะถ้าเอาวัสดุทั้งสามอย่างลงไปพร้อมกันแล้วผสมจะต้องใช้แรงเยอะมากเพราะว่าหินจะมีน้ำหนักมาก การที่เราจะผสมวัสดุให้เข้ากันทั้งสามอย่างจึงต้องออกแรงมาก แต่ถ้าผสมปูนกับทรายให้เข้ากันก่อนแล้วค่อยเอาหินใส่ทีหลังจะช่วยทุ่นแรงได้มากและประหยัดเวลากว่า)

3. เมื่อปูนซีเมนต์กับทรายเข้ากันดีแล้ว ก็โกยรวมกันเป็นกอง ใช้จอบตักตรงกลางโกยออกให้เป็นหลุมแล้วใส่น้ำลงไปทิ้งไว้ซักพักหนึ่ง สังเกตดูเมื่อน้ำซึมเข้าไปในเนื้อปูนหมดแล้ว ค่อยเริ่มทำการผสม ช่วงที่ใส่น้ำลงไปและรอให้น้ำซึมเข้าไปในเนื้อปูนก็เอาหินที่เตรียมไว้เทลงไปรอบๆกองปูนที่เราใสน้ำไว้ให้ครบตามอัตราส่วน

4. เมื่อน้ำที่เราใส่ไว้ตรงกลางกองปูนเริ่มซึมหายเข้าไปในเนื้อปูนหมดแล้ว จะมองเห็นปูน (ตรงกลางที่ใส่น้ำ) มีลักษณะเหนียวๆ ก็เริ่มผสมเลย โดยเริ่มผสมจากในหลุมตรงกลางนั่นแหละค่อยๆผสมขยายวงออกมา ให้โกยหินจากรอบๆกองเข้าไปผสมทีละน้อยๆ จากจุดที่เราเริ่มผสมจากตรงกลางก็จะผสมขยายออกมาเรื่อยๆจนหมดกอง

* สาเหตุที่ต้องทำอย่างนี้ก็เพราะว่า ถ้าเราเอาน้ำใส่ตรงกลางกองปูนแล้วทำการผสมเลย สำหรับมือสมัครเล่นอาจเจอปัญหาน้ำทะลักรั่วออกจากกองปูนที่กำลังผสมอยู่ทำให้น้ำปูนไหลออกไปด้วย จึงต้องใช้เทคนิคปล่อยให้น้ำเริ่มอิ่มตัวซึมเข้าไปในเนื้อปูนก่อน แล้วค่อยทำการผสมจะทำให้ปูนเหนียวไม่ไหลรั่วออกมา และเมื่อผสมจนปูนเหนียวพอสมควรแล้วก็ค่อยกระจากกองปูนออกเพื่อผสมให้ทั่วกอง ในช่วงที่ผสมอยู่นี้หากปูนข้นเกินไปก็เติมน้ำเข้าไปได้ โดยการตักปูนเป็นแอ่งไว้แล้วเทน้ำใส่เข้าไป ต่อจากนั้นก็ค่อยๆผสมกระจากออกมาเหมือนเดิม

วิธีที่กล่าวถึงทั้งหมดนี้เป็นวิธีผสมปูนด้วยมือที่ไม่มีกระบะผสมนะครับ
         ถ้าใช้กระบะผสมก็ง่ายครับ ไม่ต้องกลัวน้ำปูนรั่วออก ทำตามข้อ 1และ 2 เสร็จแล้วก็ใส่น้ำลงไปเลย ตามด้วยหินใส่ให้ครบ เสร็จแล้วพ่อ-แม่-ลูก ก็จับจอบคนละอันร้องเพลงสามัคคีชุมนุมแล้วก็ลงมือ คน-กวน-ผสม เลยครับไม่ต้องเปิดตำราแล้ว ผสมจนเข้ากันดีแล้วก็รีบเอาไปใช้งานให้หมดโดยเร็ว
- ควรผสมปูนให้เสร็จโดยใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที
- ควรใช้ปูนให้หมด จะเอาไปเทหรือทำอะไรก็แล้วแต่ เทปูนให้เสร็จภายในเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงหลังจากที่เริ่มผสม อย่างช้าสุดก็ไม่ควรเกินชั่วโมงครึ่ง

        2.การผสมด้วยเครื่อง เครื่องที่ใช้ทั่วๆ ไปจะเป็นแบบ Batch Mixer คือ
                   ส่วนผสมจะถูกลำเลียงเข้าไปผสม จากนั้นจะถูกปล่อยออก  แล้วจึงลำเลียงส่วนผสมอีกส่วนหนึ่งเข้าผสมใหม่      

เครื่องผสมคอนกรีต
        เครื่องผสมคอนกรีต ถ้าจำแนกตามลักษณะการผสมสามารถจำแนกได้ 2 ประเภทคือ
        1. Batch Mixer เป็นเครื่องผสมที่ผสมครั้งละ 0.5, 1 ลบ.ม. หรืออื่น ตามที่เครื่องสามารถจุได้
        2. Continuous Mixer เครื่องผสมชนิดนี้ จะผสมคอนกรีตอย่างต่อ เนื่องส่วนมากจะออกแบบไว้ใช้กับงานเฉพาะ เช่น ใช้กับงานเทคอน กรีตถนน หรือ สนามบิน เป็นต้น แต่ถ้าจำแนกตามรูปลักษณะของเครื่องผสม สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
Drum Mixer และ Pan Mixer

การผสมคอนกรีตใช้เอง (ผสมโม่)
การออกแบบส่วนผสมหน้างานให้ใช้สูตรการเผื่อ fc +85 เช่น ถ้าต้องการปูน 240 ksc หน้างานควรต้องเผื่อ+85 =(240+85 =325 ksc) รายละเอียดส่วนผสม ดังนี้.

1.ปูน 325ksc. ปริมาณ 1 ลบ ม. ใช้ส่วนผสม ดังนี้.
1.1 ปูน 333 กก.
1.2 น้ำ 190 ลิตร/หรือ กก.
1.3 ทราย 779 กก.(294 ลิตร)
1.4 หิน 1080 กก.(400 ลิตร)

2.ปูน 325 ksc ผสมโม่ ต่อ 1 ถุง ใช้ส่วนผสม ดังนี้
2.1 ปูน 1 ถุง =50 กก.
2.2 ทราย = 117 กก.
2.3 หิน = 162 กก.
2.4 น้ำ = 29 ลิตร/หรือกก.

3. น้ำหนัก หิน และทราย เป็นน้ำหนักในสภาวะปกติ อิ่มตัว และผิวแห้ง
4. เท่าที่ เคยคำนวน คร่าวๆ หิน 1 ปุ๊งกี๋ หนัก 20. กก.
ทราย 1 ปุ๊งกี๋ หนัก 22. กก. (คร่าวๆ)
5. ปูนที่ผสมเสร็จแล้ว ควรใช้ให้หมด ภายใน 2 ชั่วโมง

            สำหรับวิธีผสมปูนด้วยมือ ที่ผมกำลังพูดถึงบางคนอาจนึกแย้งในใจว่า ถ้าไม่ใช้มือผสมแล้วจะใช้อะไรผสมล่ะ? ในที่นี้ผมหมายถึง การผสมปูนโดยใช้แรงคนล้วนๆไม่ได้ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องทุ่นแรงมาช่วย สำหรับช่างมือสมัครเล่นและคนที่ต้องการผสมปูนหรือเทคอนกรีตซ่อมแซมบริเวณต่างๆภายในบ้านเอง หรือ อยากต่อเติมอะไรเล็กๆน้อยๆ เช่น เทคอนกรีตทำม้านั่ง ,หล่อปูนแท่นซิงค์ครัว, เทปูนพื้นปูบล็อกทางเดินรอบบ้าน เป็นต้น

การผสมปูนในที่นี้ยังหมายถึง การผสมที่ต้องมีส่วนผสมของหินเข้าไปด้วย ซึ่งปูนที่เราผสมออกมาโดยมีส่วนผสมของ ปูน+ทราย+หิน จะเรียกว่า คอนกรีต
การป้อนวัตถุดิบลงเครื่องผสม ทั่ว ๆ ไปจะมีขั้นตอนดังนี้

        1. เติมน้ำประมาณ 10% ลงในเครื่องผสมเสียก่อน
        2. ป้อนมวลรวม อันได้แก่หินและทราย เข้าเครื่องผสม
        3. เริ่มเติมปูนซีเมนต์หลังจากป้อนมวลรวมเข้าไปแล้ว 10%
        4. เติมน้ำ 80% ระหว่างการป้อนวัสดุอื่น ๆ และเติมน้ำ 10% สุดท้าย  เมื่อป้อนวัสดุอื่น ๆ ทั้งหมดเข้าเครื่องแล้ว
        5. หากมีการใส่น้ำยาผสมคอนกรีตประเภทผง ควรผสมรวมกับปูนซีเมนต์ก่อน หากเป็นของเหลว ควรละลายน้ำยาผสมกับน้ำ

เวลาในการผสม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ดังนี้
        - ชนิดและขนาดของเครื่องผสม
        - สภาพของเครื่องผสม
        - อัตราการหมุนของเครื่อง
        - ปริมาณคอนกรีตที่ผสม
        - ลักษณะของวัตถุดิบที่ใช้

         มาตรฐานของอเมริกา แนะนำให้ใช้เวลาอย่างน้อย 1 นาที ในการผสมคอนกรีตภายใน 1 ลบ.ม. แรก และเพิ่มเวลา 20 วินาทีต่อปริมาณคอนกรีตที่เพิ่มขึ้น 1 ลบ.ม. เวลาผสมสูงสุดไม่ควรเกิน 5 นาที
  
           2.1 Drum Mixer สามารถจำแนกออกได้อีก 3 ประเภท คือ Tilting Drum Mixer เครื่องผสมแบบนี้ ตัว Drum สามารถเอียงได้สำหรับการเทคอนกรีตออก ใบกวนอยู่ภายในการคายคอนกรีตออกทำได้รวดเร็วและไม่เกิดการแยกตัว ดังนั้นเครื่องผสมแบบนี้จะเหมาะสำหรับผสมคอนกรีตที่มีความสามารถเทได้ต่ำ ๆ หรือส่วนผสมที่ใช้หินขนาดใหญ่
           Non-Tilting Drum Mixer แกนของเครื่องผสมจะอยู่ในแนวนอนตลอดเวลา การปล่อยคอนกรีตออกจากเครื่องผสมทำโดยการสอดรางเข้าไปใน Drum หรือโดยการหมุน Drum กลับทิศทาง เนื่องจากอัตราการคาย คอนกรีตที่ช้า ดังนั้นอาจมีการแยกตัวเกิดขึ้นได้ เพราะหินอาจถูกปล่อยออกมาช้าส่วนการใส่วัตถุดิบลงในเครื่องผสมทำโดยใช้ Loading Skip
           Stationery Drum Mixer หรือ Horizontal Shaft Mixer เครื่องผสมแบบนี้ ตัว Drum จะไม่เคลื่อนที่ มีเพียงใบกวนด้านในที่เคลื่อนที่ซึ่งแตกต่างจากเครื่องผสม 2 ชนิดแรกที่ตัว Drum และใบกวนหมุนไปพร้อม ๆ กัน เครื่องผสมชนิดนี้ ประกอบด้วย Drum ทรงกระบอกวางอยู่ในแนวนอนและมีเพลาวางตัวอยู่ใน แนวนอน โดยมีใบกวนติดอยู่ซึ่งอาจเป็นเพลาเดียว หรือเพลาคู่ เครื่องผสมชนิดนี้ นิยมใช้ในโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จ เพราะสามารถผสมได้ทีละมาก ๆ ใช้เวลาผสมน้อย และคายคอนกรีต
ออกได้ง่าย
     
         2.2 Pan-Type Mixer เป็น Forced-Action Mixer แตกต่างจาก Drum Mixer ซึ่งคอนกรีตใน Drum จะตกลงอย่างอิสระ เครื่องผสมแบบนี้ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ คือ Circular Pan และมีใบกวนติดอยู่กับแกน และจะหมุนรอบแกนที่ตั้งได้ฉากกับแกนของ Pan Mixer บางชนิด Pan จะหมุน บางชนิดใบกวนจะหมุน และมีบางชนิดที่ทั้ง 2 สิ่งหมุนสวนทิศทางกันในเวลาเดียวกันคอนกรีตจะถูกผสมอย่างดีมาก เครื่องผสมแบบนี้จะมีอุปกรณ์ที่ปัดมอร์ตาร์ไม่ให้ติดข้าง Pan Mixer