วันเสาร์

ส่วนผสมคอนกรีตที่ทำให้ปั๊มได้ง่าย

ในการออกแบบส่วนผสมของคอนกรีตทั่วๆไป เราจะพิจารณาเพียงให้ได้ค่ากำลังอัด ค่ายุบตัวตามต้องการและสามารถทำงานได้เท่านั้น แต่การออกแบบส่วนผสมของคอนกรีตในงานคอนกรีตปั๊มนั้นต้องออกแบบให้สามารถเคลื่อนที่ผ่านท่อปั๊มได้ง่าย โดยมีองค์ประกอบสำคัญที่ต้องพิจารณาถึงดังนี้ คือ

1.หินและทราย จะต้องมีส่วนคละที่ดี ถุกต้องตามมาตรฐาน ASTM C 33

ส่วนคละของหิน


ส่วนคละของทราย

2.ค่ายุบตัวควรอยุ่ระหว่าง 3"-5" หรือ 7.5 - 12.5 เซนติเมตร
3.ควรมีส่วนละเอียด ซึ่งได้แก่ปูนซีเมนต์ และทรายเพียงพอที่จะอุดช่องว่าง โดยปริมาณปูนซีเมนต์ ต้องไม่น้อยกว่า 300 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร
4.ควรมีทรายที่ผ่านตะแกรงมาตรฐาน 50(300u) 10-30% 
5.ขนาดโตสุดของหินไม่ควรเกิน 1/5 ของเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อ
6.ต้องใช้มอร์ตาอัตราส่วน ซีเมนต์ : ทราย = 1:2 ปั๊ม เพื่อไปเคลือบท่อก่อนการปั๊มคอนกรีตทุกครั้ง
7.ต้องใส่น้ำยาผสมคอนกรีตประเภทยืดเวลาการแข็งตัวทุกครั้งที่ใช้คอนกรีตปั๊ม

วันศุกร์

น้ำยาผสมคอนกรีตสำหรับงานคอนกรีตปั๊ม

น้ำยาผสมคอนกรีตสำหรับงานคอนกรีตปั๊ม

น้ำยาผสมคอนกรีตใช้สำหรับงานคอนกรีตปั๊มนี้จะแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย น้ำยาผสมคอนกรีตที่เหมาะสำหรับงานคอนกรีตปั๊ม คือ น้ำยาประเภทลดน้ำและยืดเวลาการแข็งตัว ซึ่งน้ำยาประเภทนี้มีประโยชน์ คือ
1.ยึดเวลาการแข็งตัวของคอนกรีต ทำให้สามารถทำงานได้นานกว่า คอนกรีตไม่ใส่น้ำยา และในกรณีที่มีปัญหา ก็มีเวลาแก้ไขก่อนที่คอนกรีตจะแข็งตัวในปั๊มหรือในท่อ
2.ทำให้คอนกรีตลื่น สามารถเคลื่อนที่ไปในท่อได้สะดวก
3.ทำให้คอนกรีตเหลวอยู่เป็นเวลานาน สะดวกในการปั๊ม

นอกจากน้ำยาประเภทลดน้ำ และยืดเวลาการแข็งตัวแล้ว ยังมีน้ำยาที่ช่วยให้ปั๊มคอนกรีตได้ง่าย (PUNPING AIDS) น้ำยาประเภทนี้เมื่อใส่ไปในคอนกรีตจะทำให้คอนกรีตลื่นไหลไปในท่อได้สะดวก ทำให้ปั๊มคอนกรีตได้ง่าย ถึงแม้ว่าคอนกรีตนี้จะใช้ปริมาณปูนซ๊เมนต์ไม่มากนัก แต่น้ำยาประเภทนี้ยังไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบันเพราะราคาแพง

วันพฤหัสบดี

อิทธิพลของ มวลรวม ต่อความสามารถในการปั๊ม คอนกรีตผสมเสร็จ

1.ขนาด (size)
ขนาดของมวลรวมมีผลต่อความสามารถในการปั๊มได้ สมมุติว่าหินมีรูปร่างเป็นรูปทรงลูกบาศก์ ขนาด 2x2x2เซนติเมตร จะมีปริมาตร 8 ลูกบาศก์เซนติเมตร และพื้นที่ผิว 6x2 เซนติเมตร x 2 เซนติเมตร = 24 ตารางเซนติเมตร

แต่ถ้าหินก้อนนี้ถูกแบ่งออกเป็น 8 ก้อนเท่าๆ กัน ปริมาตร ยังเท่าเดิมคือ 8 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่พื้นที่ผิวเพิ่มเป็น 8x6x1 เซนติเมตร x1 เซนติเมตร = 48 ตารางเซนติเมตร

จากตัวอย่างพบว่า พื้นที่ผิวจะขึ้นอยู่กับขนาดของมวลรวมแต่ละก้อนและเมื่อพื้นที่ผิวเพิ่มขึ้นจำเป็นต้องเพิ่มมอร์ตา เพื่อให้คอนกรีตสามารถปั๊มผ่านท่อไปได้

 2.รูปร่าง (SHAPE)
การผลิตคอนกรีตในประเทศไทย ส่วนใหญ่ใช้หินย่อย (CRUSHED ROCK)เป็นมวลรวมหยาบ หินย่อยในแต่ละแหล่งจะมีรูปร่างแตกต่างกัน ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเรื่องนี้มาพิจารณาในการออกแบบส่วนผสมของคอนกรีตด้วย

สมมุติว่าหินมีรูปร่างเป็นทรงลูกบาศก์ ขนาด 2x2x2 เซนติเมตร จะได้ปริมาตร 8 ลูกบาศก์เซนติเมนตร และพื้นที่ผิว 24 ตารางเซนติเมตร แต่ถ้าหินนี้มีรูปร่างยาว (FLAKY , LONGITUDINAL GRAIN) ขนาด 0.5 เซนติเมตร x2 เซนติเมตร x8 เซนติเมตร ปริมาตร 8 ลูกบาศก์เซนติเมตร พื้นที่ผิว = 2x(0.5 เซนติเมตร x2 เซนติเมตร) + 2x(0.5 เซนติเมนตร x8 เซนติเมตร) +2x(2 เซนติเมตร x8 เซนติเมตร) = 42 ตารางเซนติเมตร

จากตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่า พื้นที่ผิว จะขึ้นอยู่กับรูปร่างของหินอย่างมาก

มวลรวมที่มีพื้นผิวหยาบ เป็นเหลี่ยมมุม เช่น หินย่อย จะต้องปรับส่วนผสมให้มีส่วนละเอียดเพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันการขัดกันระหว่างมวลรวม
มวลรวมที่มีความพรุน จะดูดซึมน้ำได้เร็ว อาจทำให้ปั๊มติดขัดได้ แนวทางแก้ไขคือ พยายาม ทำให้มวลรวมเปียกชื้นอยู่เสมอ

วันพุธ

คุณสมบัติของคอนกรีตที่จะสามารถปั๊มได้

1.ต้องมีความเหลวที่เหมาะสม
-คอนกรีตที่เหมาะสมสำหรับนำไปปั๊ม ควรจะมีค่ายุบตัวอยู่ระหว่าง 7.5-12.50 ซม. หรือ 3-5 นิ้ว
-ถ้าค่ายุบตัวน้อยเกินไปคอนกรีตจะปั๊มยาก และต้องใช้แรงดันสูงมาก ซึ่งจะเกิดผลเสียคือท่อสึกหรอเร็ว และปั๊มเสียได้ง่าย
-ถ้าค่ายุบตัวมากเกินไป คอนกรีตมีแนวโน้มที่เกิดการแยกตัว

ค่ายุบตัวนอกจากจะเป็นตัวชี้ชั้นตันอย่างง่ายว่า คอนกรีตมีความเหลวพอที่จะปั๊มได้หรือไม่แล้ว ยังเป็นตัวบ่งชี้ได้ด้วยว่า คอนกรีตเหมาะที่จะนำไปปั๊มหรือไม่ด้วย กล่าวคือ

เมื่อวัดค่ายุบตัวของคอนกรีตแล้ว คอนกรีตล้มแบบเฉือน สรุปได้ว่า คอนกรีตนี้ส่วนผสมยังไม่เหมาะสม ส่วนละเอียดน้อยเกินไป ควรปรับปรุงส่วนผสมใหม่

วันอังคาร

การเคลื่อนที่ของคอนกรีตในท่อ สำหรับงานคอนกรีตปั๊ม

ส่วนผสมของคอนกรีตเป็นองค์ประกอบสำคัญ ในการลำเลียงคอนกรีตโดยใช้คอนกรีตปั๊ม

ส่วนผสมของคอนกรีตแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นของแข็งได้แก่ หิน,ทราย,ซีเมนต์ และส่วนที่เป็นของเหลว คือ น้ำ ซึ่งในส่วนผสมทั้งหมด มาผสมเป็นคอนกรีต เนื้อคอนกรีตจะสามารถปั๊มได้เมื่อส่วนผสมทั้งหมดถูกนำมาผสมกัน ด้วยอัตราส่วนที่พอเหมาะ โดยที่น้ำเป็นตัวส่งผ่านแรงดันไปยังส่วนผสม อื่นๆ

การเครื่องที่ของคอนกรีตในท่อนั้น จะเคลื่อนที่ไปในลักษณะทรงกระบอกหรือที่เรียกว่า PLUG FLOW โดยมีมอร์ตาเป็นตัวหล่อลื่น

การเคลื่อนที่ของคอนกรีตในท่อ
จากรูปคอนกรีตที่เคลื่อนที่ในท่อจะมีแรงอยู่ 3 ส่วนที่มาเกี่ยวข้อง คือ แรง P.D.R
P คือ แรงดันจากปั๊ม
R คือ แรงต้านทานการเคลื่อนที่ของคอนกรีตในท่อ ทั้งในแนวราบ แนวดิ่ง รวมทั้งตามข้อต่อ ข้องอ และส่วนคอดต่างๆ (HEAD OF MATERIAL)
D คือ แรงเสียดทาน (FRICTION) ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ 
-ความเร็ว แรงเสียดทานจะเพิ่มขึ้นตามความเร็วของคอนกรีตที่เคลื่อนที่ในท่อ
-ขนาดของท่อ แรงเสียดทานในท่อเล็กจะมากกว่าแรงเสียดทานในท่อใหญ่
-ชนิดของท่อ ท่อยางทำให้เกิดแรงเสียดทานกว่าท่อเหล็ก
จากแรงทั้ง 3 นี้ คอนกรีตจะเคลื่อนที่ไปได้ต่อเมื่อ
แรง P มากกว่า R รวมกับแรง D (P>R+D)

วันอาทิตย์

การดูรอยแตกร้าวของคอนกรีต ว่าเกิดจากสาเหตุใด

รอยแตกร้าวเป็นของคู่กันกับคอนกรีต เนื่องจากคอนกรีตเป็นวัสดุที่รับแรงดึงได้น้อย รอยแตกส่วนใหญ่ที่เกิดกับคอนกรีตจึงมักมีสาเหตุมาจากแรงดึงเป็นหลัก แต่ก็ไม่ใช่รอยแตกร้าวทุกชนิดจะบ่งชี้ถึงอันตรายของโครงสร้างหรือไความไม่มั่นคงปลอดภัยของอาคารเสมอไป รอยแตกร้าวบางชนิดอาจเกิดเพราะฝีมือการก่อสร้าง ความเสื่อมสภาพหรือเกิดตรงตำแหน่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างเลยก็เป็นได้ เพื่อให้ชัดเจนจึงควรจำแนกชนิดและสาเหตุของรอยร้าวแต่ละประเภทไว้เพื่อสะดวกในการใช้ตรวจสอบอาคารต่อไป

ประเภทของรอยร้าว..
จำแนกรอยร้าวตามสาเหตุที่เกิดได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่
1.รอยร้าวเนื่องจากคุณภาพของวัสดุและฝีมือการทำงานที่ไม่ดี
2.รอยร้าวเกิดจากความเสื่อมสภาพของวัสดุ
3.รอยร้าวเนื่องจากโครงสร้างรับน้ำหนักไม่ได้
4.รอยร้าวเนื่องจากฐานรากทรุดตัว

รูปที่ 1  รอยแตกลายงา รอยร้าวเล็กๆ สั้นๆ ไม่ลงลึก ถึอว่าเป็นตัวบ่งชี้ คุณภาพการก่อสร้าง ไม่ได้บ่งชี้ด้านความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร

วันเสาร์

ลักษณะการแตกของก้อนตัวอย่างคอนกรีต

ลักษณะการชำรุดแตกหักของก้อนตัวอย่างคอนกรีตที่รับแรงอัด มันแตกออกเป็นรูปกรวยคู่ (Shear Failure) โดยมีปลายกรวยอยู่ที่กึ่งกลางของทรงกระบอก โดยเกิดจากการถูกเฉือนในระนาบที่เอียงกับแรงกด อันเนื่องมาจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่าง วัสดุผสมและความเสียดทาน ภายในดังนั้นมุมของการแตกหัก จึงมีค่าเท่ากับ 45 - ∅/2 เมื่อ ∅ เป็นมุมของความเสียดทานภายใน ของคอนกรีตซึ่งมีค่าประมาณ 20 องศา ดังนั้นระนาบของความเสียหายของตัวอย่างคอนกรีตจึง เบี่ยงประมาณ 35 องศา ลักษณะการแตกของก้อนตัวอย่างอาจเป็นการแตกแบบแยกออก (Spliting Failure) หรืออาจเป็นการรวมของลักษณะการแตกของทั้ง 2 แบบ (Combination Shear and Splitting Failure)
การแตกของก้อนตัวอย่างรูปทรงกระบอก

วันศุกร์

การประเมินผลการทดสอบกำลังอัดและสาเหตุที่กำลังอัดของคอนกรีตไม่เป็นไปตามข้อกำหนด

วัตถุประสงค์หลังของการทดสอบกำลังอัดของตัวอย่างคอนกรีตจากหน่วยงานก่อสร้าง คือ เพื่อประเมินผลและควบคุมให้แน่ใจว่า คอนกรีตที่ผลิตขึ้นมีคุณภาพและกำลังอัดที่สม่ำเสมออยู่ในระดับที่ต้องการแต่เนื่องจากคอนกรีตไม่ใช่มวลที่เกิดจากการผสมของวัตถุจนเป็นเนื้อเดียวกัน ดังนั้นคอนกรีตจึงมีคุณสมบัติที่แตกต่างกับไปในแต่ละรุ่นผสมและแม้แต่รุ่นผสมเดียวกันก็ยังมีคุณสมบัติผันแปรกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ อัตราส่วนผสมการผสม การลำเลียง การเท การบ่ม และตัวอย่างคอนกรีต นอกจากการผันแปรอันเกิดจากลักษณะของคอนกรีตเองแล้ว คุณสมบัติของคอนกรีตยังถูกทำให้เปลี่ยนแปลงออกไปได้เนื่องจากวิธีการทดสอบ เพื่อหาคุณสมบัตินั้นๆ อีกด้วย เช่น การหล่อแท่งตัวอย่าง การดูแล และการทดสอบตัวอย่างคอนกรีต เป็นต้น สรุปแล้วก็คือ ในการทดสอบกำลังอัดของตัวอย่างคอนกรีตจากสนามต้องยอมรับว่า ค่ากำลังอัดที่ได้จากการทดสอบจะมีค่าที่แตกต่างและค่าผันแปรนี้ต้องอยู่ในขอบเขตที่กำหนดไว้ด้วย สำหรับการที่จะกำหนดขอบเขตและควบคุมนั้นสามารถทำได้ด้วยวิธีการทางสถิติพร้อมกันกับความเข้าใจในลักษณะของคอนกรีตและการทดสอบคอนกรีตด้วย

ความผันแปรของกำลังอัดตัวอย่างคอนกรีต
กำลังอัดของตัวอย่างคอนกรีต จะมีค่ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับการควบคุมทั้งวัตถุดิบ ขบวนการผลิตและขบวนการทดสอบ ซึ่งเมื่อสรุปจะได้ว่ากำลังอัดของตัวอย่างคอนกรีต มีค่าผันแปรอันเนื่องจากสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ
1.การผันแปรเนื่องจากคุณสมบัติของคอนกรีต (ผันแปรในขบวนการผลิต)
2.การผันแปรเนื่องจากการทดสอบ (ผันแปรในขบวนการควบคุมคุณภาพ)
สรุปความผันแปรของกำลังอัด

การทำก้อนตัวอย่างและการทดสอบกำลังอัดคอนกรีต

คอนกรีตที่เหมาะสำหรับงานก่อสร้าง นอกจากมีความเหลวที่จะเทได้แล้ว เมื่อเป็นคอนกรีตที่แข็งตัวแล้วยังต้องสามารถรับกำลังอัดได้ตามต้องการ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องการเก็บก้อนตัวอย่าง และนำมาทดสอบตามเวลาต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้

ก้อนตัวอย่างในงานคอนกรีตที่ใช้ในประเทศไทย มีดังนี้
1.ตัวอย่างรูปลูกบาศก์ขนาด 15x15x15 ซม.
2.ตัวอย่างรูปทรงกระบอกเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 ซม. สูง 30ซม.
3.ตัวอย่างรูปคานขาด 15x15x60 ซม.

วันพฤหัสบดี

ความสัมพันธ์ระหว่างกำลังอัดก้อนตัวอย่างทรงลูกบาศก์และทรงกระบอก

การทดสอบทำโดยการหล่อก้อนตัวอย่างคอนกรีตมาตรฐานแบ่งออกเป็น 2 มาตรฐาน  คือ
1.รูปทรงลูกบาศก์ ตามมาตรฐานอังกฤษ  BS 1881:Part 3 ขนาดที่ใช้คือ 15x15x15 ซม.
2.รูปทรงกระบอก ตามมาตรฐานอเมริกัน ASTM C 192 ขนาดที่ใช้คือ ขนานเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 ซม. สูง 30 ซม.

กำลังอัดของคอนกรีตทั้ง 2 รูปทรงนี้ จะให้ค่ากำลังอัดที่แตกต่างกัน ถึงแม้ว่าจะใช้ส่วนผสมของคอนกรีตเดียวกัน โดยกำลังอัดตัวอย่างรูปทรงกระบอกจะมีค่าน้อยกว่ากำลังอัดของตัวอย่างรูปทรงลูกบาศก์ทั้งนี้เนื่องจากองค์ประกอบ

1.แรงเสียดทานระหว่างผิวของก้อนตัวอย่างกับแผ่นรองกดก่อให้เกิด Confining Stress ซึ่งจะมีผลทำให้ค่ากำลังอัดของรูปทรงลูกบาศก์ที่ได้สูงกว่าความเป็นจริง

2.องค์ประกอบเรื่องความชะรูด กล่าวคือเนื่องจากรูปทรงกระบอกมีความสูงมากกว่าด้านกว้างทำให้ผลด้าน Confining Stress ลดลงอย่างมาก

ตามมาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (มาตรฐาน วสท.) ได้ให้กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกำลังอัดรูปทรงลูกบาศก์กับกำลังอัด รูปทรงกระบอก ดังรูปที่ 9.3

ปัจจัยที่มีผลต่อกำลังอัดของคอนกรีต (4.การทดสอบกำลังอัด)

4.การทดสอบกำลังอัดคอนกรีต

การควบคุมคุณภาพคอนกรีต สำหรับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กจะทำในรูปของการซักตัวอย่างคอนกีตสดมาทำก้อนตัวอย่างโดยถือว่ากำลังของก้อนตัวอย่างเป็นตัวแทนของคอนกรีตที่หล่อเป็นโครงสร้าง ดังนั้นจึงควรพิจารณาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทดสอบตัวอย่างคอนกรีตต่อไปนี้

ขนาดและลักษณะของแท่งทดสอบ 
การใช้แท่งทดสอบที่ต่างขนาดและต่างลักษณะกันจะมีผลทำให้ค่ากำลังของคอนกรีตเกิดความแตกต่าง ดังแสดงในตารางที่ 9.1

วันพุธ

ปัจจัยที่มีผลต่อกำลังอัดของคอนกรีต (3.การบ่มคอนกรีต)

3.การบ่มคอนกรีต

ความชื้น จะมีอิทธิพลต่อกำลังของคอนกรีต เพราะปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันระหว่างปูนซีเมนต์กับน้ำนั้นจะค่อยเป็นค่อยไป นับตั้งแต่ปูนซีเมนต์เริ่มผสมกับน้ำเป็นซีเมนต์เพสต์ และซีเมนต์เพสต์จะมีกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้ามีความชื้นอยู่ตลอดเวลา ถ้าซีเมนต์เพสต์ในคอนกรีตไม่มีความชื้นอยู่ คอนกรีตก็จะไม่มีการเพิ่มกำลังอัดอีกต่อไป ในทางปฏิบัติเรามักจะบ่มคอนกรีตจนถึงอายุ  28 วัน เมื่อคอนกรีตเริ่มแข็งตัวควรทำการบ่มด้วยความชื้นทันที

ปัจจัยที่มีผลต่อกำลังอัดของคอนกรีต (2.การทำคอนกรีต)

2.การทำคอนกรีต

การชั่งตวงส่วนผสม
-  การชั่งตวงส่วนผสม หากใช้การตวงโดยปริมาตรจะมีโอกาสผิดพลาดมากกว่าการชั่งส่วนผสมโดยน้ำหนัก ซึ่งหากอัตราส่วนผสมคอนกรีตผิดไปจะทำให้คุณสมบัติของคอนกรีตเปลี่ยนแปลงได้
-  อัตราส่วนผสม จะมีอิทธิพลต่อกำลังของคอนกรีตโดยตรง  โดยเฉพาะอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์

การผสมคอนกรีต
    การผสมคอนกรีตจะต้องผสมวัสดุทำคอนกรีตให้รวมเป็นเนื้อเดียวกันให้มากที่สุด เพื่อให้น้ำมีโอกาศทำปฎิกิริยากับปูนซีเมนต์ได้อย่างทั่วถึง และเพื่อให้ซีเมนต์เพสต์กระจายแทรกตัวอยู่ในช่องว่างระหว่างมวลรวมได้เต็มที่ ดังนั้น การผสมคอนกรีตหากกระทำอย่างไม่ทั่วถึง จะมีผลทำให้กำลังของคอนกรีตมีค่าไม่คงที่ได้

ปัจจัยที่มีผลต่อกำลังอัดของคอนกรีต (1.คุณสมบัติของวัสดุผสม)

1.คุณสมบัติของวัสดุผสม

ปูนซีเมนต์ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลที่สำคัญมาก เพราะปูนซีเมนต์แต่ละประเภท จะก่อให้เกิดกำลังของคอนกรีตที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีของปูนซีเมนต์ นอกจากนี้แม้ว่าจะเป็นปูนซีเมนต์ประเภทเดียวกันแต่มีความละเอียดแตกต่างกันแล้ว อัตราการเพิ่มกำลังของคอนกรีตก็จะแตกต่างไปด้วย คือ ถ้าปูนซีเมนต์ที่มีความละเอียดมากก็จะให้กำลังสูง โดยเฉพาะหลังจากที่แข็งตัวไปแล้วไม่นาน

น้ำ น้ำมีผลต่อกำลังของคอนกรีตตามความใส และปริมาณของสารเคมีหรือเกลือแร่ที่ผสมอยู่ น้ำที่มีเกลือคลอไรด์ผสมอยู่ จะทำให้อัตราการเพิ่มกำลังของคอนกรีตในระยะต้นสูง น้ำขุ่นหรือน้ำที่มีสารแขวนลอยปนอยู่ จะทำให้กำลังของคอนกรีตต่ำลง ซึ่งอาจจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณและขนิดของสารแขวนลอยนั้น

วันอังคาร

กำลังอัดของคอนกรีต

คุณสมบัติของคอนกรีตในขณะที่ยังอยู่ในสภาพเหลวจะมีความสำคัญเพียงขณะก่อสร้างเท่านั้น ในขณะที่คุณสมบัติของคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว จะมีความสำคัญไปตลอดอายุในการใช้งานของโครงสร้างคอนกรีตนั้น ในทางปฏิบัติ คุณสมบัติของคอนกรีตทั้ง 2 ลักษณะ จะมีผลต่อกันและกัน การที่จะให้ได้คุณสมบัติของคอนกรีตที่แข็งตัวแล้วดี จะต้องมาจากการเลือกสัดส่วนผสมเพื่อให้คอนกรีตที่อยู่ในสภาพเหลวมีความเหมาะสมอย่างมากในการใช้งาน

คุณสมบัติของคอนกรีตที่แข็งตัวแล้วได้แก่ กำลัง ความทนทาน และการเปลี่ยนแปลงปริมาตร ซึ่งในบทนี้จะกล่าวเพียงกำลังอัดของคอนกรีต ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของคุณสมบัติด้าน กำลัง ส่วนคุณสมบัติอื่นๆ จะกล่าวในบทต่อๆไป

วันอาทิตย์

แผนผังเว็ปไซค์ - PSP CEMENT THAI:จำหน่ายวัสดุก่อสร้างราคาถูก สมาร์ทบอร์ด สมาร์ทวูด กระเบื้องหลังคาซีแพคโมเนีย หลังคาลอนคู่ จัดส่งทั่วประเทศ ร้านย่านมีนบุรี ปูนถุงราคาถูก สินค้าตราช้าง SCG แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป hollow core ปูนถุงตราช้าง ปูนตราเสือ มอร์ตาร์ หลังคาเซรามิค ทดแทนไม้ ไม้สังเคราะห์ แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ ราคาถูก A3DA928D48F4919488EE5DBC79D5D260

แผนผังเว็ปไซค์ - PSP CEMENT THAI:จำหน่ายวัสดุก่อสร้างราคาถูก สมาร์ทบอร์ด สมาร์ทวูด กระเบื้องหลังคาซีแพคโมเนีย หลังคาลอนคู่ จัดส่งทั่วประเทศ ร้านย่านมีนบุรี ปูนถุงราคาถูก สินค้าตราช้าง SCG แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป hollow core ปูนถุงตราช้าง ปูนตราเสือ มอร์ตาร์ หลังคาเซรามิค ทดแทนไม้ ไม้สังเคราะห์ แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ ราคาถูก A3DA928D48F4919488EE5DBC79D5D260