วันจันทร์

คอนกรีตปั๊ม คืออะไร และมีวิวัฒนาการอย่างไร

คอนกรีตปั๊ม (Concrete Pump)  คือ อะไร 

คอนกรีตปั๊ม คือ อุปกรณ์ที่ใช้การลำเลียงคอนกรีตชนิดหนึ่ง ในปัจจุบันคอนกรีตปั๊มได้เข้ามามีบทบาทในการลำเลียงคอนกรีต โดยเข้ามาทดแทนรถเข็ม , ลิฟท์ ,ทาวเวอร์เครน, สายพานลำเลียงและวีธีการลำเลียงอื่นๆ ทั้งนี้เนื่องจากคอนกรีตปั๊มสามารถตอบสนองความต้องในการเทคอนกรีตในที่สูงหรือในที่ที่มีอุปกรรค ยากต่อการเทคอนกรีตโดยวิธีอื่นๆ รวมทั้งยังให้ความสะดวกรวดเร็วในการเทคอนกรีตเมื่อเที่ยบกับวิธีอื่นๆด้วย

วิวัฒนาการของคอนกรีตปั๊ม 

แนวความคิดเกี่ยวกับการลำเลียงคอนกรีตผ่านท่อโดยอาศัยลูกสูบ ไปยังสถานที่ที่ต้องการเทคอนกรีต เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2473 และแนวความคิดนี้ได้เกิดเป็นจริงขึ้นในปี พ.ศ.2476 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้มีการใช้คอนกรีตปั๊มในการลำเลียงคอนกรีต สำหรับการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำ มิสซิสซิปปี้ ที่เมืองมินิโซต้า



หลักจากปี พ.ศ. 2476 ถึงช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (ปี พ.ศ.2484) ได้มีการใช้คอนกรีตปั๊มในการก่อสร้างบ้าง แต่ยังไม่เป็นที่นิยมเพราะท่อที่ใช้มีขนาดใหญ่ คือขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-8นิ้ว ทำให้มีน้ำหนักมาก ยากต่อการเคลื่อนย้าย

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ปี พ.ศ.2488) ในยุโรป คอนกรีตปั๊มได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการบูรณะประเทศ แต่ในสหรัฐอเมริกา คอนกรีตปั๊มกลับไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากวิธีการและเทคนิคต่างๆ ในการปั๊มยังไม่แน่นอน และยังคงใช้วิธีลองผิดลองถูกอยู่

ในปี พ.ศ. 2500  ได้มีการนำคอนกรีตปั๊มแบบ 2ลูกสูบ ซึ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการใช้งาน หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาคอนกรีตปั๊มมาเป็นลำดับ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2508 ได้มีคอนกรีตปั๊มแบบติดตั้งบนรถมาใช้งานเป็นเครื่องแรก

ภายหลังปี. พ.ศ. 2513 คอนกรีตปั้มได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพราะท่อขนส่งคอนกรีตได้ถูกพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง คือมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5นิ้ว ทำให้สะดวกในการเคลื่อนย้าย และยังมีการพัฒนาคอนกรีตปั๊มแบบติดตั้งบนรถให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำให้ทำงานได้สะดวก ไม่ต้องติดตั้งท่อบ่อย ๆ อีกทั้งการเคลื่อนย้ายก็ทำได้ง่ายอีกด้วย

จนกระทั่งปี พ.ศ.2525 ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ประเทศเยอรมัน ใช้คอนกรีตปั๊มสำหรับลำเลียงคอนกรีต ประมาณ 50% ของการใช้คอนกรีตในงานก่อสร้างทั้งหมด

คอนกรีตปั๊มในประเทศไทย

คอนกรีตปั๊ม เริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยในปี พ.ศ.2522 โดยมีการนำคอนกรีตปั๊มเข้ามาใช้ในงานก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น งานสร้างเขื่อน แต่ในช่วงนั้นยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก ทั้งนี้เพราะราคาของคอนกรีตปั๊มและค่าใช้จ่ายในการปั๊มคอนกรีตสูง รวมทั้งขาดผู้ชำนาญในการใช้คอนกรีตปั๊มด้วย

ในปี พ.ศ. 2522 ประเทศไทยมีคอนกรีตปั๊มอยู่เพียง 16 เครื่อง เป็นแบบติดตั้งบนรถบรรทุก (Truck Mounted Concrete Pump) 7 เครื่อง ที่เหลือเป็นแบบติดตั้งอยู่กับที่ (Stationary Concrete Pump) ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นของผู้รับเหมารายใหญ่เท่านั้น

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 เป็นต้นมา คอนกรีตปั๊มได้ถูกใช้ในงานก่อสร้างมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในงานก่อสร้างอาคารสูง ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยหลายประการ เช่น

1.ได้มีการพัฒนาส่วนผสมคอนกรีตให้เหมาะกับงานคอนกรีตปั๊มมากขึ้น
2.มีการนำน้ำยาผสมเสร็จคอนกรีตที่ช่วยทำให้คอนกรีตลื่น และคอนกรีตแข็งตัวช้ามาใช้ ทำให้สะดวกมากขึ้นในการใช้ปั๊ม
3.มีผู้ชำนาญในการใช้คอนกรีตปั๊มมากขึ้น
4.ความต้องการให้การก่อสร้างเสร็จภายในระยะเวลาอันสั้น
5.อัตราค่าแรงงานสูงมากขึ้น รวมทั้งบุคลากรหายากขึ้น

ในปี พ.ศ.2530 ประเทศไทยมีคอนกรีตปั๊มอยุ่กว่า 60 เครื่อง ในจำนวนนี้ 40% เป็นแบบติดตั้งบนรถ ที่เหลือเป็นแบบติดตั้งอยู่กับที่ คอนกรีตปั๊มทั้งหมดส่วนใหญ่เป็นของผู้รับเหมา และของบริษัทที่ดำเนินการรับจ้างปั๊มคอนกรีต