วันพุธ

ประเภทของคอนกรีตปั๊ม แบบต่างๆ

ประเภทของคอนกรีตปั๊ม แบบต่างๆ

เราสามารถแบ่งคอนกรีตปั๊มตรามลักษณะ การขับเคลื่อนคอนกรีต ออกเป็น 3 ประเภทคือ
1.คอนกรีตปั๊มแบบรีด
2.คอนกรีตปั๊มแบบใช้ลูกสูบ
3.คอนกรีตปั๊มแบบใช้ลมดัน

2.1 คอนกรีตปั๊มแบบรีด
      คอนกรีตปั๊มแบบนี้ประกอบด้วยท่อยางอ่อน และลูกกลิ้งที่หมุนอยู่ภายในห้องปั๊ม ลูกกลิ้งจะหมุนไปบีบท่อ และรีดคอนกรีตที่อยู่ในท่อยาง ออกไปตามท่อสู่บริเวณที่จะเทคอนกรีต โดยทั่วไปภายในห้องปั๊มจะมีความดันต่ำกว่าบรรยากาศ ทั้งนี้เพื่อให้ท่อยางอ่อนภายในห้องปั๊มที่ถูกบีบโดยลูกกลิ้งดันตัวกลับรูปเดิมอย่างรวดเร็ว เป็นผลให้สามารถส่งคอนกรีตออกจากปั๊มได้อย่างสม่ำเสมอ

คอนกรีตปั๊มในลักษณะนี้ไม่มีประตูปิดเปิดที่ทางเข้า-ออก จึงไม่มีการสึกหรอที่ประตูปิด-เปิด และไม่มีการรั่วซึมของน้ำปูน แต่จะเกิดการสึกหรอของท่อยางทั้งภายในและภายนอก เพราะผิวด้านนอกจะถูกลูกกลิ้งบีบ สำหรับผิวด้านในก็จะถูกขูดขีด โดยส่วนผสมต่างๆ ของคอนกรีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งหินที่มีเหลี่ยมคม นอกจากน้ำคอนกรีตปั๊มลักษณะดังกล่าวยังมีข้อจำกัดในการส่งคอนกรีต คือ สามารถส่งคอนกรีตได้สูงประมาณ 40 เมตรเท่านั้น

คอนกรีตปั๊มแบบใช้ลูกสูบ
คอนกรีตปั๊มชนิดนี้ ประกอบด้วยลูกสูบและกระบอกสูบ การปั๊มจะกระทำโดยการเคลื่อนที่ของลูกสูบในกระบอกสูบ เมื่อลูกสูบเคลื่อนออกก็จะดันคอดกรีตออกจากกระบอกสูบ นอกจากนี้ยังมีประตูเปิดปิดให้คอนกรีตเข้าและออกจากกระบอกสูบด้วย
คอนกรีตปั๊มแบบนี้จะประกอบด้วยลูกสูบ 2ชุด ทำงานสลับกันคือ เมื่อลูกสูบชุดหนึ่งเคลื่อนเข้าจะดูดเอสคอนกรีตเข้ามาในกระบอกสูบ ลูกสูบอีกชุดหนึ่งก็จะเคลื่อนออกเพื่อดันคอนกรีตออกจากกระบอกสูบ ซึ่งจะทำให้คอนกรีตไหลออกจากท่ออย่างสม่ำเสมอ
คอนกรีตปั๊มแบบใช้ลมดัน
คอนกรีตปั๊มแบบนี้ประกอบด้วย ถังใส่คอนกรีตที่มีฝาปิดมิดชิด และแหล่งกำเนิดลม คอนกรีตจะถูกลำเลียงใส่ถัง ปิดฝาให้แน่น ใช้แรงดันพ่น พาคอนกรีตในถังไปตามท่อส่งพร้อมกับลม
คอนกรีตปั๊มชนิดนี้ นิยมใช้กับคอนกรีตที่ใช้หินขนาดเล็กเป็นส่วนผสมหรือ ใช้ปั๊มมอร์ตาสำหรับงานฉาบ หรืองาน Shotcrete
นอกจากจะแบ่งคอนกรีตปั๊มตามลักษณะการขับเคลื่อนคอนกรีตดังกล่าวข้างตันแล้ว ยังสามารถแบ่งตามลักษณะการติดตั้ง ซึ่งแบ่งออกเป็ฯ 3 ประเภท คือ
1.คอนกรีตปั๊มแบบติดตั้งอยู่กับที่
2.คอนกรีตปั๊มแบบติดตั้งบนรถบรรทุก
3.คอนกรีตปั๊มแบบติดตั้งบนรถผสมคอนกรีต

คอนกรีตปั๊มแบบติดตั้งอยุ่กับที่
คอนกรีตปั๊มชนิดนี้ ตัวปั๊มและท่อส่งจะถูกแยกออกจากกัน ตัวปั๊มติดตั้งอยู่บนล้อเลื่อน เมื่อต้องการใช้งานจะติดพ่วงตัวปั๊มไปกับรถบรรทุก สู่บริเวณก่อสร้าง หลังจากนั้นจะติดตั้งท่อและอุปกรณ์เข้ากับปั๊ม คอนกรีตปั๊มแบบนี้ มีแรงดันสูงมาก สามารถปั๊มคอนกรีตไปยังที่สูงๆได้ รวมทั้งพื้นที่ในการติดตั้งน้อย แต่ต้องเสียเวลาในการติดตั้งท่อ และการเคลื่อนย้ายปั๊มทำได้ลำบาก
คอนกรีตปั๊มแบบติดตั้งบนรถบรรทุก
คอนกรีตปั๊มแบบนี้ทั้งตัวปั๊มและท่อส่งจะถูกติดตั้งอย่างถาวรบนรถบรรทุก ท่อส่งถูกออกแบบให้สามารถพับเก็บได้ ทำให้สะดวกรวดเร็วในการใช้งาน เพราะไม่ต้องต่อท่อ เคลื่อนย้ายได้สะดวกและทำความสะอาดหลังการใช้งานได้ง่ายและรวดเร็ว อย่างไรก็ตามระยะทางที่จะปั๊มคอนกรีตถูกจำกัดโดยความยาวของท่ออีกทั้งการลงทุนครั้งแรกสูง


คอนกรีตปั๊มแบบติดตั้งบนรถผสมคอนกรีต
คอนกรีตปั๊มแบบนี้ ทั้งตัวปั๊มและท่อส่งจะถุกติดตั้งอย่างถาวรบนรถผสมคอนกรีต คอนกรีตปํ๊มชนิดนี้ไม่เป็ฯที่นิยม เพราะกรณีน้ำหนักมาก การเข้าออกในหน่วยงานก่อสร้างทำได้ยาก ในกรณีที่ปั๊มคอนกรีตจากรถผสมคอนกรีตคันดังกล่าวหมดแล้ว และจำเป็นต้องปั๊มคอนกรีตเพิ่มเติม รถผสมคอนกรีตคันที่ติดตั้งปั๊มนี้จะต้องจอดว่างรออยู่จนเสร็จสิ้นการใช้คอนกรีตปั๊ม



Cr.concrete technology C-PAC