วันอาทิตย์

วิธีการอัดฉีดด้วยซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หดตัว (Nonshrink Cement for Grouting) สำหรับงานซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตเพื่อรับน้ำหนักได้ดังเดิม

การอัดฉีดด้วยซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หดตัว (Nonshrink Cement for Grouting)

1.วัสดุและอุปกรณ์การอัดฉีด
     1.1 วัสดุ ให้เลือกใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติตามหัวข้อ วัสดุประเภทที่มีส่วนผสมของซีเมนต์ : ซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หัวตัว
     1.2 อุปกรณ์การอัดฉีด หรือเครื่องสูบ (Pump)เครื่องสูบที่ใช้ในการอัดฉีดมีหลายประเภท เช่น เครื่องสูบแบบ Positive-Displacement หรือ เครื่องสูบแบบลูกสูบ (Piston Pump) รายละเอียดอุปกรณ์การอัดฉีดคลิก!

2.การใช้งานและข้อจำกัด
     2.1 ซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หดตัวอาจใช้เพื่อซ่อมรอยร้าวที่หยุดขยายตัว หรือเพื่อยึดคอนกรีตที่เทแต่ละครั้ง และหรือเพื่อเติมช่องว่างบริเวณรอบ ๆ หรือใต้โครงสร้างคอนกรีต ซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หดตัวมักจะมีราคาถูกกว่าสารเคมีสำหรับการเทซ่อมและเหมาะสำหรับการใช้งานในปริมาณมาก

     2.2 การใช้ซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หดตัวเทซ่อมอาจแยกตัวจากคอนกรีตเดิมหากรับแรงกระทำดังนั้นจึงอาจเติมเต็มรอยร้าวได้ไม่สมบูรณ์
     2.3 โดยทั่วไปรอยร้าวที่เหมาะสำหรับการใช้น้ำปูนเหลวนี้ควรจะมีขนาดกว้างตั้งแต่ 3 มิลลิเมตรขึ้นไป หากไม่สามารถปิ ดหรือจำกัดแนวรอยร้าวทุกด้าน การซ่อมอาจไม่ได้ผลเต็มที่ ซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หดตัวนี้ยังนำไปใช้อย่างกว้างขวางในการเติมปิดช่องว่างหรือซ่อมแท่นคอนกรีตระหว่างการก่อสร้าง
     2.4 การซ่อมแซมคอนกรีตโดยวิธีอัดฉีดซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หดตัวเหมาะสำหรับการซ่อมแซมรอยร้าว รอยแยก รูเปิด หรือแม้แต่ ผิวคอนกรีตที่เป็นรวงผึ้ง (Honeycomb)

3.ขั้นตอนการซ่อม
     3.1 การทำความสะอาดคอนกรีตตามแนวรอยร้าว ติดตั้งท่อสำหรับอัดซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หดตัวเป็นช่วง ๆ ตามแนวคอนกรีต
     3.2 ทำความสะอาดด้วยน้ำ ทดสอบแนวที่ปิดไว้ และอัดซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หดตัวให้ทั่วแนวรอยร้าว ส่วนผสมที่ใช้อาจแตกต่างกันไปตามสภาพการใช้งานโดยอาจใช้อัตราส่วนโดยปริมาตรระหว่างน้ำต่อซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หดตัวอยู่ในช่วง 1:5 ถึง 1:1 ขึ้นอยู่กับความกว้างของรอยร้าว ควรใช้อัตราส่วนของน้ำต่อซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หดตัวที่ต่ำที่สุดที่จะใช้ได้เพื่อให้ได้ความแข็งแรงสูงสุดและให้มีการหดตัวน้อยที่สุด
     3.3 อาจใช้ปืนอัดในการซ่อมปริมาณน้อย แต่ถ้ามีปริมาณมากขึ้นควรใช้เครื่องสูบในการซ่อม เมื่อเติมรอยร้าวจนเต็มแล้วควรรักษาแรงดันไว้ระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้มั่นใจว่าได้เติมรอยร้าวจนเต็มจริง ๆ
     3.4 ขั้นตอนวิธีการอัดฉีดด้วยซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หดตัวสามารถสรุปได้ดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 ขั้นตอนวิธีการอัดฉีดด้วยซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หดตัว