วันเสาร์

คอนกรีตที่ดีกับคอนกรีตที่ไม่ดี

คอนกรีตที่ดี เป็นคอนกรีตที่ต้องมีคุณสมบัติ เป็นที่พอใจทั้งในสภาพคอนกรีตเหลว กล่าวคือ ตั้งแต่การผสม การลำเลียงจากเครื่องผสม การเทลงแบบหล่อ และการอัดแน่น และเป็นที่พอใจในสภาพคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว

คอนกรีตที่ไม่ดี  โดยทั่วไปจะมีความข้นเหลวไม่เหมาะสมกับการใช้งาน เมื่อแข็งตัวจะมีรูโพรงและไม่เป็นเนื้อเดียวกันที่งโครงสร้าง 

คุณสมบัติของคอนกรีตสดที่ต้องการ คือ จะต้องมีความข้นเหลวที่จะให้การอัดแน่นในแบบหล่อคอนกรีตตามวิธีการที่ต้องการเป็นมีการยึดเกาะกันอย่างเพียงพอสำหรับวิธีการเทคอนกรีต ที่จะใช้โดยไม่มีการแยกตัว อันจะเป็นต้นเหตุให้เกิดการไม่สม่ำเสมอในเนื้อคอนกรีต

คุณสมบัติที่ต้องการสำหรับคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว คือต้องได้กำลังอัดตามข้อกำหนด นอกจากนี้ต้องมีคุณสมบัติอื่นๆ อีก เช่น ความหนาแน่น ความทนทาน ความสามารถรับแรงดึง ความต้านทานการซึมผ่านของน้ำหรือของเหลว ความต้านทานต่อแรงกระแทกและเสียดสี การทนต่อการกัดกร่อนจากซัลเฟตและอื่นๆ


การให้ความสนใจในคุณสมบัติต่างๆที่กล่าวมานี้ ได้ถูกนำมาพิจารณาและให้ความสำคัญอย่างจริงจังเมื่อมีข้อกำหนดที่ทันสมัยซึ่งจะกำหนดคุณสมบัติของคอนกรีตที่ต้องการแทนการกำหนดส่วนผสมอย่างง่ายๆ โดยเพียงบอกปริมาณส่วนผสม

ความรู้เรื่องคุณสมับติของคอนกรีต ทำให้สามารถที่จะเลือกสัดส่วนผสมคอนกรีตได้อย่างเหมาะสมในราคาถูก ประหยัดรวมทั้งการให้ความสนใจขบวนการผลิตคอนกรีตก็มีส่วนช่วยให้ มีการพัฒนาเครื่องจักร เครื่องมือ นำมาซึ่งการปรับปรุงความสม่ำเสมอของเนื้อคอนกรีต ซึ่งเสริมให้เกิดประโยชน์ทั้งการประหยัดและประโยชน์ด้านเทคนิค

โดยสรุป การให้จะให้ได้คอนกรีตที่ดีนั้น จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องเข้าใจองค์ประกอบดังนี้
1.ต้องมีความรู้ในเรื่องคุณสมบัติวัสดุและหลักการออกแบบ
2.ต้องรู้ถึงสภาพทั่วไปของหน่วยงานก่อสร้าง
3.วัสดุดิบต่างๆ ต้องมีคุณภาพอยู่ในมาตรฐานที่กำหนด
4.ต้องให้ความระมัดระวังในเรื่อง การชั่งตวงส่วนผสมทุกชนิด
5.ต้องมีการผสม การลำเลียง การเทลงแบบ และการอัดแน่นอย่างเหมาะสม
6.ต้องทำการบ่มอย่างถูกต้อง
7.ต้องมีการควบคุมงามคอนกรีตที่ดีทุกขั้นตอน

ปัจจัยในการทำคอนกรีตที่ดี

การทำคอนกรีตต้องมีขบวนการผลิตที่เป็นขั้นตอนเพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีคุณสมบัติสม่ำเสมอทั้งทางด้านความสามารถเทได้ กำลัง(Strength) ความต้านทานการซึมผ่านของน้ำ และความทนทาน

กระบวนการทำคอนกรีตทั่วๆไปอาจเรียงลำดับขั้นตอนดังนี้
1.การเลือกหาวัสดุดิบที่เหมาะสม
2.การกำหนดอัตราส่วนผสม
3.การชั่งหรือตวงวัตถุดิบเพื่อให้ได้อัตราส่วนผสมที่ถูกต้อง
4.การผสม
5.การลำเลียงคอนกรีตสดไปเทลงแบบ
6.การเท
7.การทำให้คอนกรีตอัดแน่น
8.การแต่งผิว
9.การบ่ม
10การแกะแบบหล่อคอนกรีตตามระยะเวลาที่ถูกต้อง
กระบวนทำคอนกรีตดังกล่าวนี้ มีปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาหรือคำนึงถึง เพื่อให้ได้คอนกรีตที่ดีและมีราคาเหมาะสม