วันอังคาร

การเคลื่อนที่ของคอนกรีตในท่อ สำหรับงานคอนกรีตปั๊ม

ส่วนผสมของคอนกรีตเป็นองค์ประกอบสำคัญ ในการลำเลียงคอนกรีตโดยใช้คอนกรีตปั๊ม

ส่วนผสมของคอนกรีตแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นของแข็งได้แก่ หิน,ทราย,ซีเมนต์ และส่วนที่เป็นของเหลว คือ น้ำ ซึ่งในส่วนผสมทั้งหมด มาผสมเป็นคอนกรีต เนื้อคอนกรีตจะสามารถปั๊มได้เมื่อส่วนผสมทั้งหมดถูกนำมาผสมกัน ด้วยอัตราส่วนที่พอเหมาะ โดยที่น้ำเป็นตัวส่งผ่านแรงดันไปยังส่วนผสม อื่นๆ

การเครื่องที่ของคอนกรีตในท่อนั้น จะเคลื่อนที่ไปในลักษณะทรงกระบอกหรือที่เรียกว่า PLUG FLOW โดยมีมอร์ตาเป็นตัวหล่อลื่น

การเคลื่อนที่ของคอนกรีตในท่อ
จากรูปคอนกรีตที่เคลื่อนที่ในท่อจะมีแรงอยู่ 3 ส่วนที่มาเกี่ยวข้อง คือ แรง P.D.R
P คือ แรงดันจากปั๊ม
R คือ แรงต้านทานการเคลื่อนที่ของคอนกรีตในท่อ ทั้งในแนวราบ แนวดิ่ง รวมทั้งตามข้อต่อ ข้องอ และส่วนคอดต่างๆ (HEAD OF MATERIAL)
D คือ แรงเสียดทาน (FRICTION) ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ 
-ความเร็ว แรงเสียดทานจะเพิ่มขึ้นตามความเร็วของคอนกรีตที่เคลื่อนที่ในท่อ
-ขนาดของท่อ แรงเสียดทานในท่อเล็กจะมากกว่าแรงเสียดทานในท่อใหญ่
-ชนิดของท่อ ท่อยางทำให้เกิดแรงเสียดทานกว่าท่อเหล็ก
จากแรงทั้ง 3 นี้ คอนกรีตจะเคลื่อนที่ไปได้ต่อเมื่อ
แรง P มากกว่า R รวมกับแรง D (P>R+D)