วันอาทิตย์

การดูรอยแตกร้าวของคอนกรีต ว่าเกิดจากสาเหตุใด

รอยแตกร้าวเป็นของคู่กันกับคอนกรีต เนื่องจากคอนกรีตเป็นวัสดุที่รับแรงดึงได้น้อย รอยแตกส่วนใหญ่ที่เกิดกับคอนกรีตจึงมักมีสาเหตุมาจากแรงดึงเป็นหลัก แต่ก็ไม่ใช่รอยแตกร้าวทุกชนิดจะบ่งชี้ถึงอันตรายของโครงสร้างหรือไความไม่มั่นคงปลอดภัยของอาคารเสมอไป รอยแตกร้าวบางชนิดอาจเกิดเพราะฝีมือการก่อสร้าง ความเสื่อมสภาพหรือเกิดตรงตำแหน่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างเลยก็เป็นได้ เพื่อให้ชัดเจนจึงควรจำแนกชนิดและสาเหตุของรอยร้าวแต่ละประเภทไว้เพื่อสะดวกในการใช้ตรวจสอบอาคารต่อไป

ประเภทของรอยร้าว..
จำแนกรอยร้าวตามสาเหตุที่เกิดได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่
1.รอยร้าวเนื่องจากคุณภาพของวัสดุและฝีมือการทำงานที่ไม่ดี
2.รอยร้าวเกิดจากความเสื่อมสภาพของวัสดุ
3.รอยร้าวเนื่องจากโครงสร้างรับน้ำหนักไม่ได้
4.รอยร้าวเนื่องจากฐานรากทรุดตัว

รูปที่ 1  รอยแตกลายงา รอยร้าวเล็กๆ สั้นๆ ไม่ลงลึก ถึอว่าเป็นตัวบ่งชี้ คุณภาพการก่อสร้าง ไม่ได้บ่งชี้ด้านความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร


รูปที่ 2 รอยแตกที่มุมวงกบ เกิดจากการยึดหดตัวของวัสดุต่างชนิดกันระหว่างวงกบกับผนังอิฐก่อ ควรทำคานทับหลังและเสาเอ็นเมื่อมีช่องเปิดจะแก้ปัญหานี้ได้

รูปที่ 3 รอยแตกแนวดิ่งที่ผนังชิดขอบเสา ถ้าความกว้างของรอยแตกมีขนาดเท่ากันโดยประมาณตลอดความยาว ส่วมมากเกิดจากการหดหัวของปูนฉาบ และไม่มีเหล็กเสริมเสียบจากเสาเพื่อยึดผนัง

รูปที่ 4 รอยแตกใต้ห้องพื้นจากการที่เหล็กเป็นสนิม เมื่อปล่อยทิ้งไว้นานคอนกรีตปิดผิวจะหลุดร่วงลง

รูปที่ 5 เหล็กเป็นสนิมแล้วบวมตัวดันจนเกิดรอยแตกบริเวณขอบใต้ท้องคาน สังเกตุได้ว่ารอยแตกมีลักษณะเป็นเส้นยาวตามแนวคาน เป็นตำแหน่งใกล้เหล็กเสริมและขนานกับเหล็กเสริมในคาน

รูปที่ 6 คานรับน้ำหนักไม่ไหวเกิดการแอ่นตัว รอยแตกเป็นรูปตัวยู รอยแตกจะเริ่มจากใต้ท้องคานและแตกลามออกทั้งสองข้างของคาน

รูปที่ 7 รอยแตกที่ปลายคาน (ปลายด้านขวา) มีลักษณะเฉียงเกิดจากรับน้ำหนักบรรทุกเกินกำลัง

รูปที่ 8 รอยแตกที่ผนังอันเนื่องจากฐานรากทรุดตัวจะมีลักษณะเฉียง หากขีดเส้นตั้งฉากกับรอยร้าว ปลายด้านที่ชี้ลงจะแสดงตำแหน่งของฐานรากที่ทรุดตัว

รูปที่ 9 ตัวอย่างรอยแตกที่ผนังเนื่องจากฐานรากทรุดตัวไม่เท่ากัน พิจารณาจากลักษณะรอยแตกพบว่าฐานรากซ้ายมือทรุดตัว

รูปที่ 10 เมื่อฐานทรุดตัวไม่เท่ากัน ปลายคานด้านที่ฐานทรุดตัวมากจะแตกจากล่างขึ้นบน ขณะที่ปลายคานอีกด้านหนึ่งจะแตกจากบนลงล่าง

รูปที่ 11 จากรอยแตกในรูปทำให้ทราบว่า ฐานรากด้านขวาและด้านซ้ายทรุดตัวมากกว่าฐานรากที่รองรับเสาต้นนี้

รูปที่ 12 รอยแตกที่พื้นถ้าเกิดเพียงด้านใดด้านหนึ่งแสดงว่า มีฐานรากทรุดตัวไม่เท่ากันส่วนมากจะเกิดกับพื้นผืนใหญ่ เช่น พื้นในโรงงาน

รูปที่ 13 รอยแยกที่เสาเป็นปล้องๆ เช่นนี้ เกิดจากฐานรากตัวอื่นทรุดตัวแล้วดึงรั้งจนเสาต้นนี้โก่งงอปลายของรอยร้าวชี้ไปยังบริเวณตำแหน่งฐานรากที่ทรุดตัว