คอนกรีตความร้อนต่ำซีแพค CPAC Low Heat Concrete
การเทคอนกรีตในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่มีขนาดกว้างยาวมากกว่า
1 เมตร และความหนามากกว่า 0.5 เมตร
เช่น เขื่อนคอนกรีต ตอม่อ ฐานรากแผ่ กำแพงพืด (Diaphragm Wall) ความร้อนจากปฏิกิริยาระหว่างปูนซีเมนต์กับน้ำ (Heat of Hydration) จะสะสมอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อุณหภูมิในเนื้อคอนกรีตสูงขึ้นมากกว่า 70
องศาเซลเซียส
ความร้อนที่สะสมในโครงสร้างคอนกรีตนั้นจะถูกถ่ายเทสู่ภายนอก
ความร้อนที่อยู่ภายในจะถ่ายเทออกได้ช้ากว่าบริเวณผิวคอนกรีต
ก่อให้เกิดความแตกต่างของอุณหภูมิที่ผิว และภายในโครงสร้าง (Differential
Temperature) ทำให้โครงสร้างของคอนกรีตเกิดการหดตัวและการยึดรั้งที่ต่างกันในที่สุดคอนกรีตจะแตกร้าว(Thermal
Crack)
หลังการแตกร้าว น้ำและความชื้นจะซึมผ่านโครงสร้างคอนกรีต เข้าทำลายเหล็กเสริม ทำให้โครงสร้างไม่สามารถรับกำลังตามที่ออกแบบไว้ และความทนทานของโครงสร้างจะลดลงอย่างมาก
หลังการแตกร้าว น้ำและความชื้นจะซึมผ่านโครงสร้างคอนกรีต เข้าทำลายเหล็กเสริม ทำให้โครงสร้างไม่สามารถรับกำลังตามที่ออกแบบไว้ และความทนทานของโครงสร้างจะลดลงอย่างมาก
CPAC Low Heat Concrete คือ คอนกรีตพิเศษที่ซีแพควิจัย
และพัฒนาขึ้นเพื่อควบคุมปริมาณความร้อนที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาไฮเดรชั่นโดยตรง
ด้วยการควบคุมปริมาณแคลเซียมออกไซด์ ที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดความร้อนในคอนกรีต
โดยการเพิ่มวัสดุปอซโซลาน ประเภท PFA (Pulverized Fuel Ash) เข้าไปในส่วนผสมคอนกรีต
นับเป็นวิธีการแก้ปัญหาการแตกร้าวจากความร้อนที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง
ปัจจุบัน ซีแพคได้มีการพัฒนาส่วนผสมคอนกรีตอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมปริมาณความร้อนที่เกิดขึ้นให้เหมาะกับขนาดของโครงสร้าง และเป็นไปตามข้อกำหนดเพื่อลดปัญหาการแตกร้าวภายในโครงสร้างคอนกรีต
ปัจจุบัน ซีแพคได้มีการพัฒนาส่วนผสมคอนกรีตอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมปริมาณความร้อนที่เกิดขึ้นให้เหมาะกับขนาดของโครงสร้าง และเป็นไปตามข้อกำหนดเพื่อลดปัญหาการแตกร้าวภายในโครงสร้างคอนกรีต
คอนกรีตงานดาดฟ้าซีแพค CPAC Roof - Slab Concrete
พื้นดาดฟ้าเป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่ปกป้องตัวอาคารจากความร้อนและฝนโดยตรง ดังนั้น คอนกรีตที่ใช้ก็ควรจะต้องมีคุณสมบัติในเรื่องของความทึบน้ำและความทนทานเป็นอย่างดี แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดสำหรับโครงสร้างประเภทนี้ที่มีผิวสัมผัสอากาศมาก (อัตราส่วนของพื้นที่ผิวต่อปริมาตรสูง) โดยเฉพาะในช่วงกลางวันหรือสถานที่ก่อสร้างที่มีลมแรง คุณสมบัติกันซึมเพียงอย่างเดียวกับโครงสร้างดาดฟ้าจึงไม่เพียงพอ มักจะพบปัญหารอยแตกร้าวหดตัวพลาสติก (Plastic Shrinkage Cracks)
พื้นดาดฟ้าเป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่ปกป้องตัวอาคารจากความร้อนและฝนโดยตรง ดังนั้น คอนกรีตที่ใช้ก็ควรจะต้องมีคุณสมบัติในเรื่องของความทึบน้ำและความทนทานเป็นอย่างดี แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดสำหรับโครงสร้างประเภทนี้ที่มีผิวสัมผัสอากาศมาก (อัตราส่วนของพื้นที่ผิวต่อปริมาตรสูง) โดยเฉพาะในช่วงกลางวันหรือสถานที่ก่อสร้างที่มีลมแรง คุณสมบัติกันซึมเพียงอย่างเดียวกับโครงสร้างดาดฟ้าจึงไม่เพียงพอ มักจะพบปัญหารอยแตกร้าวหดตัวพลาสติก (Plastic Shrinkage Cracks)
ซึ่งเป็นรอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นหลังจากเทคอนกรีตเพียงไม่กี่ชั่วโมง
ความรุนแรงมีตั้งแต่เป็นรอยแตกแบบเส้นผม (Hair Cracks) ที่บริเวณผิวหน้าหรือจนกระทั่งถึงแตกร้าวแบบทะลุ
ทำให้เกิดการรั่วซึมของน้ำได้ ส่งผลกระทบต่อความทนทานของโครงสร้างรวมไปถึงปัญหาการใช้งานอาคาร
CPAC
Roof - Slab Concrete คืออีกขั้นหนึ่งของคอนกรีตกันซึม (Waterproof
Concrete) ที่ซีแพคได้ทำการพัฒนาขึ้นให้เหมาะสมกับการใช้งานในโครงสร้างพื้นดาดฟ้าเพื่อแก้ปัญหาทั้งระบบกล่าวคือ มีคุณสมบัติกันซึมและลดปัญหาการแตกร้าวแบบหดตัวพลาสติก (Plastic
Shrinkage Cracks) โดยการออกแบบส่วนผสมให้มีคุณสมบัติข้างต้น
ด้วยการใช้สารผสมเพิ่มพิเศษ
ซึ่งช่วยลดโอกาสการเกิดรอยแตกร้าวแบบหดตัวพลาสติกอย่างมาก
แต่ทั้งนี้ก็ยังคงคุณสมบัติกันซึมไว้
คอนกรีตงานห้องเย็นซีแพค CPAC Freezing Room Concrete
คอนกรีตถึงแม้จะเป็นวัสดุที่มีความแข็งแกร่งทนทานสูงในสภาพอุณหภูมิปกติก็ตาม แต่เมื่อต้องอยู่ในสภาพอากาศที่หนาวเย็นถึงระดับจุดเยือกแข็ง เช่น ในแช่แข็งหรือห้องเย็นที่มีอุณหภูมิที่ต่ำถึง -40 องศาเซลเซียสนั้น คอนกรีตก็จะเกิดปัญหาการแตกร้าวหลุดร่อนออกหลังการใช้งาน การซ่อมแซมนั้นแทบต้องทำเกือบทุกปี นอกจากทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมที่มากมายแล้วยังต้องปิดห้องเย็นเพื่อซ่อม ซึ่งทำให้การค้าต้องหยุดชะงัก อีกทั้งยังต้องเสียค่าพลังงานในการลดอุณหภูมิหลังการซ่อมให้ได้ ณ จุดเดิมอีกจากปัญหาดังกล่าวซีแพคจึงพัฒนาคอนกรีตพิเศษที่เหมาะกับการใช้งานในห้องแช่เย็นและห้องเย็นโดยเฉพาะ
คอนกรีตถึงแม้จะเป็นวัสดุที่มีความแข็งแกร่งทนทานสูงในสภาพอุณหภูมิปกติก็ตาม แต่เมื่อต้องอยู่ในสภาพอากาศที่หนาวเย็นถึงระดับจุดเยือกแข็ง เช่น ในแช่แข็งหรือห้องเย็นที่มีอุณหภูมิที่ต่ำถึง -40 องศาเซลเซียสนั้น คอนกรีตก็จะเกิดปัญหาการแตกร้าวหลุดร่อนออกหลังการใช้งาน การซ่อมแซมนั้นแทบต้องทำเกือบทุกปี นอกจากทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมที่มากมายแล้วยังต้องปิดห้องเย็นเพื่อซ่อม ซึ่งทำให้การค้าต้องหยุดชะงัก อีกทั้งยังต้องเสียค่าพลังงานในการลดอุณหภูมิหลังการซ่อมให้ได้ ณ จุดเดิมอีกจากปัญหาดังกล่าวซีแพคจึงพัฒนาคอนกรีตพิเศษที่เหมาะกับการใช้งานในห้องแช่เย็นและห้องเย็นโดยเฉพาะ
โดยปกติในคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว
จะยังมีน้ำอยู่จำนวนหนึ่งที่หลงเหลืออยู่ใน Capillary Pores ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงที่อุณหภูมิปกติ
แต่ในห้องแช่แข็งหรือห้องปรับอุณหภูมินั้น เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงถึงจุดเยือกแข็ง
น้ำที่หลงเหลืออยู่ในช่องว่างจะมีปริมาตรเพิ่มขึ้นและขยายตัวดันให้คอนกรีตแตกร้าว
และต่อมาเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น (ห้องปรับอุณหภูมิ)
น้ำในช่องว่างจะละลายและเคลื่อนที่ไปอยู่ตามรอยแตกที่เกิดขึ้น
ซึ่งเมื่อมีการลดอุณหภูมิอีกครั้งน้ำในรอยแตกเหล่านี้ก็จะขยายตัวดันให้รอยแตกขยายใหญ่ขึ้นอีก
กระบวนการเช่นนี้จะเกิดสลับกันไปเรื่อยๆ จนคอนกรีตแตกร้าวเสียหาย
ทั้งที่บริเวณผิวและภายในจนสูญเสียความสามารถในการใช้งานและความสามารถในการรับกำลังในที่สุด
CPAC Freezing Room Concrete คือ นวัตกรรมของคอนกรีตที่ทีมวิศวกรของซีแพคได้วิจัย
และพัฒนาขึ้นเพื่อให้มีความสามารถสูงในการต้านทานการแตกร้าวซึ่งเกิดจากการแข็งตัวของน้ำในคอนกรีต
และมีความทนทานต่อการขัดสีจากรถขนถ่ายสินค้า (Forklift) บริเวณผิวหน้า
จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับงานห้องแช่แข็ง ห้องเย็น ห้องปรับอุณหภูมิ (Anti
Room) อย่างแท้จริง
คอนกรีตชายฝั่งทะเลซีแพค CPAC Marine Concrete
โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่ต้องสัมผัสน้ำทะเล น้ำกร่อยหรืออยู่บริเวณชายฝั่ง รวมทั้งโครงสร้างใต้ดินบริเวณนั้นจะประสบปัญหาความเสียหายอย่างมากจากสภาพแวดล้อม ดังนั้นในการออกแบบให้โครงสร้างมีอายุการใช้งานตามที่ต้องการจะต้องคำนึงถึงความต้านทานความเสียหายที่จะเกิดขึ้นด้วย ซึ่งคอนกรีตถือว่าเป็นส่วนสำคัญเนื่องจากเป็น "ด่านแรก" ของโครงสร้างที่จะต้านทานความเสียหาย
โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่ต้องสัมผัสน้ำทะเล น้ำกร่อยหรืออยู่บริเวณชายฝั่ง รวมทั้งโครงสร้างใต้ดินบริเวณนั้นจะประสบปัญหาความเสียหายอย่างมากจากสภาพแวดล้อม ดังนั้นในการออกแบบให้โครงสร้างมีอายุการใช้งานตามที่ต้องการจะต้องคำนึงถึงความต้านทานความเสียหายที่จะเกิดขึ้นด้วย ซึ่งคอนกรีตถือว่าเป็นส่วนสำคัญเนื่องจากเป็น "ด่านแรก" ของโครงสร้างที่จะต้านทานความเสียหาย
เดิมมีความเข้าใจกันว่า
คอนกรีตที่มีส่วนผสมของปูนซีเมนต์ประเภทที่ 5 ซึ่งมีปริมาณ C3A
ที่ต่ำจะเหมาะสำหรับโครงสร้างที่สัมผัสน้ำทะเล
แต่เมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบใน้ำทะเลโดยแท้จริงแล้วพบว่าวิธีการนี้ไม่เพียงพอเสียแล้ว
ทั้งนี้เพราะในน้ำทะเล มีปริมาณซัลเฟตอยู่ประมาณ 10% ส่วนคลอไรด์นั้นกลับมีปริมาณถึง
90% ดังนั้นการคำนึงถึงทุกองค์ประกอบของน้ำทะเล
ดูจะมีเหตุผลมากกว่าการพิจารณาแต่เพียงซัลเฟตเท่านั้น
นอกจากโครงสร้างสัมผัสน้ำทะเลแล้ว โครงสร้างที่สัมผัสไอทะเล
ที่อาจจะอยู่ห่างชายฝั่งหลายกิโลเมตรก็ยังจัดว่าเป็นโครงสร้างที่ต้องคำนึงถึงความต้านทานต่อน้ำทะเลเช่นกัน
เนื่องจากเกลือในอากาศสามารถแพร่ไปถึงโครงสร้างที่ห่างจากทะเลถึง 3 กิโลเมตร
คลอไรด์
สาเหตุสำคัญของการกัดกร่อนในเหล็กเสริม
คลอไรด์ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในน้ำทะเลจะซึมเข้าสู่เนื้อคอนกรีต โดยคลอไรด์อิสระ(Free Chloride) จะเป็นส่วนสำคัญ ทำให้เหล็กเสริมภายในเกิดสนิม สนิมเหล็กจะทำให้คอนกรีตสูญเสียแรงยึดเกาะกับเหล็กเสริม และจะขยายตัวดันให้คอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมหลุดร่อนนอกจากนั้นพื้นที่หน้าตัดเหล็กเสริมก็จะลดลงจนทำให้โครงสร้างพังทลายได้
จากการวิจัย และศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อความเสียหายของคอนกรีตบริเวณชายฝั่งทะเล ทำให้ซีแพคสามารถพัฒนาCPAC Marine Concrete ให้มีคุณสมบัติครบถ้วนเหมาะสมกับงานโครงสร้างบริเวณชายฝั่งทะเล
โดยเฉพาะ
คลอไรด์ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในน้ำทะเลจะซึมเข้าสู่เนื้อคอนกรีต โดยคลอไรด์อิสระ(Free Chloride) จะเป็นส่วนสำคัญ ทำให้เหล็กเสริมภายในเกิดสนิม สนิมเหล็กจะทำให้คอนกรีตสูญเสียแรงยึดเกาะกับเหล็กเสริม และจะขยายตัวดันให้คอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมหลุดร่อนนอกจากนั้นพื้นที่หน้าตัดเหล็กเสริมก็จะลดลงจนทำให้โครงสร้างพังทลายได้
จากการวิจัย และศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อความเสียหายของคอนกรีตบริเวณชายฝั่งทะเล ทำให้ซีแพคสามารถพัฒนาCPAC Marine Concrete ให้มีคุณสมบัติครบถ้วนเหมาะสมกับงานโครงสร้างบริเวณชายฝั่งทะเล
โดยเฉพาะ
ความสามารถทนทานต่อการแพร่ของคลอไรด์
การเพิ่มความสามารถในการจับยึดคลอไรด์ในคอนกรีต(Chloride Binding Capacity) การใช้วัสดุเชื่อมประสานที่เหมาะสม ได้แก่ ปูนซีเมนต์ชนิดที่มีปริมาณ C3A เหมาะสม และวัสดุปอซโซลานจะช่วยลดการแพร่ของคลอไรด์
ความสามารถทนทานต่อแมกนีเซียมซัลเฟต ด้วยความทึบน้ำที่ดีเยี่ยมของ CPAC Marine Concrete แมกนีเซียมอิออนจะแพร่เข้าไปทำลาย CSH ได้ยาก นอกจากนั้น Ca(OH)2 ซึ่งเป็นสารประกอบที่ก่อให้เกิดการขยายตัวก็จะลดลงจากปฏิกริยาปอซโซลานด้วยเช่นกัน
การเพิ่มความสามารถในการจับยึดคลอไรด์ในคอนกรีต(Chloride Binding Capacity) การใช้วัสดุเชื่อมประสานที่เหมาะสม ได้แก่ ปูนซีเมนต์ชนิดที่มีปริมาณ C3A เหมาะสม และวัสดุปอซโซลานจะช่วยลดการแพร่ของคลอไรด์
ความสามารถทนทานต่อแมกนีเซียมซัลเฟต ด้วยความทึบน้ำที่ดีเยี่ยมของ CPAC Marine Concrete แมกนีเซียมอิออนจะแพร่เข้าไปทำลาย CSH ได้ยาก นอกจากนั้น Ca(OH)2 ซึ่งเป็นสารประกอบที่ก่อให้เกิดการขยายตัวก็จะลดลงจากปฏิกริยาปอซโซลานด้วยเช่นกัน
ความสามารถทนทานต่อแรงกระทำทางกายภาพ
คุณสมบัตินี้ออกแบบมาเพื่อให้สามารถต้านทานต่อแรงกระแทกของคลื่นและการขัดสีของกรวด
ทราย โดย CPAC Marine Concrete สามารถอัดแน่นได้ง่ายซึ่งจะทำให้คอนกรีตมีเนื้อสม่ำเสมอ
และได้ระยะหุ้มตามต้องการ ดังเห็นได้จากผลทดสอบความสามารถในการต้านทานการขัดสีของ CPAC
Marine Concrete ที่มีค่าสูงกว่าคอนกรีตทั่วไปอย่างชัดเจน
คอนกรีตทนกรด CPAC Acid Attack Resisting Concrete
โดยปกติคอนกรีตจะมีสภาพเป็นด่าง
หรือ ค่า pH ประมาณ 12.5 แต่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นกรดหรือ
pH ต่ำกว่า 6.5 คอนกรีตจะเริ่มเกิดความเสียหายขึ้น
ตัวอย่างของกรดที่สามารถกัดกร่อนคอนกรีตอย่างรุนแรงคือ กรด Carbonic,
Hydrochloric, Hydrofluoric, Nitric, Phosphoric, Sulfuric, Acetic, Citric,
Humic, Lactic และ Tannic
กรดมาจากไหน
1. โรงงานหรือแหล่งผลิตทีมีการใช้กรดในการผลิตหรือได้กรดเป็นผลิตผลจากการผลิต เช่นอุตสาหกรรมผักและผลไม้ดอง อุตสาหกรรมแปรรูปยางพารา เป็นต้น
กรดมาจากไหน
1. โรงงานหรือแหล่งผลิตทีมีการใช้กรดในการผลิตหรือได้กรดเป็นผลิตผลจากการผลิต เช่นอุตสาหกรรมผักและผลไม้ดอง อุตสาหกรรมแปรรูปยางพารา เป็นต้น
2. ระบบบำบัดน้ำเสียและท่อระบายน้ำเสียจากบ้านเรือน
ซึ่งโดยระบบทางชีวภาพทำให้เกิดกรดซัลฟุริก (H2SO4)
3. ฝนกรด ซึ่งอาจจะมีกรดซัลฟุริก
หรืดคาร์บอนิก เป็นต้น
กรดทำลายคอนกรีตได้อย่างไร
กรดสามารถทำลายสารประกอบแคลเซียมทุกประเภทที่มีอยู่ในคอนกรีต
เช่น แคลเซียมซิลิเกตไฮเดรต (C-S-H) แคลเซียมอลมิเนตไฮเดรต (C-A-H)
และแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) โดยส่วนใหญ่แล้ว
กรดจะเขาไปทำปฏิกิริยากับสารประกอบแคลเซียมดังกล่าว
และได้ผลผลิตเป็นเกลือแคลเซียมซึ่งละลายน้ำได้ง่าย
เมื่อสารประกอบแคลเซียมในคอนกรีตถถูกเปลี่ยนไปเป็นเกลือ
จะทำให้บริเวณที่ถูกกัดกร่อนสูญเสียความสามารถในการยึดเกาะระหว่างกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างซีเมนต์เพสต์กับมวลรวม
เกลือที่เกิดขึ้นจะสามารถถูกชะล้างออกไปได้ง่าย ทำให้เนื้อคอนกรีตถูกทำลายหายไป
และมวลรวมจึงหลุดออกจากคอนกรีตได้ง่าย
ผลกระทบต่อคุณสมบัติทางวิศวกรรม
- โครงสร้างสูญเสียกำลังและความแข็งแกร่ง
- ความพรุน
และความสามารถซึมผ่านของน้ำในคอนกรีตเพิ่มขึ้น ทำให้ความทนทานลดลง
- ค่า pH ของคอนกรีตลดลงอย่างมาก
- การสูญเสียมวลหรือน้ำหนักคอนกรีต
ความรุนแรงของการกัดกร่อน
ความรุนแรงของการกัดกร่อนจะขึ้นอยู่กับชนิดและความเข้มข้นของกรด
กรดที่มีการกัดกร่อนรุนแรง
จะเป็นชนิดที่เปลี่ยนสารประกอบแคลเซียมในคอนกรีตไปเป็นเกลือแคลเซียมที่ละลายน้ำได้ง่าย
ดังนั้น กรดเกลือ (HCl) จะเป็นกรดที่มีการกัดกร่อนคอนกรีตที่รุนแรงมาก
เนื่องจากเกลือแคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) สามารถละลายน้ำได้ดีว่าเกลือแคลเซียมที่เกิดจากกรดชนิดอื่นๆ
CPAC Acid Attack Resisting Concrete คือคอนกรีตพิเศษที่ซีแพควิจัย และพัฒนาขึ้น
เพื่อยืดอายุของคอนกรีตในสภาวะกัดกร่อนโดยกรดให้ยาวนานขึ้น ด้วยหลักการลดปริมาณแคลเซียมไฮดรอกไซด์
Ca(OH)2 ในคอนกรีต
โดยการผสมวัสดุปอซโซลานที่มีปริมาณ SiO2 สูงมาก เช่น
ซิลิกาฟูม ในส่วนผสมคอนกรีตในระดับที่เหมาะสม
ประกอบกับการออกแบบส่วนผสมจากทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญของซีแพคให้มีอัตราส่วนน้ำต่อตัวเชื่อมประสานที่ต่ำที่สุด
เพื่อเพิ่มความแน่นของคอนกรีตให้ดีเยี่ยม
ซึ่งนับเป็นวิธีการแก้ปัญหาความเสียหายจากการกัดกร่อนโดยกรดที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง
คอนกรีตทนซัลเฟตซีแพค CPAC Sulphate Resisting Concrete
โครงสร้างคอนกรีตทั่วไปที่ต้องสัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่มีสารซัลเฟต
เช่น ในดิน หรือน้ำใต้ดินน้ำเสียจากบ้านเรือน
จากโรงงานอุตสาหกรรมหรือจากโรงงานผลิตสารเคมีบางประเภท จะเกิดปัญหาการผุกร่อน
พองตัว และแตกร้าว อย่างรุนแรง ทำให้โครงสร้างไม่สามารถใช้งานตามที่ออกแบบไว้ได้ในที่สุด
ดังนั้นการเลือกใช้คอนกรีตที่สามารถทนทานต่อความเสียหายจากซัลเฟตได้
จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่ต้องพิจารณา เป็นลำดับแรกสำหรับโครงสร้างดังกล่าว
ปฏิกิริยาไฮเดรชั่นของ ไตรคัลเซียมซิลิเกต(C3S)ไดคัลเซียมซิลิเกต
(C2S) และไตรแคลเซียมอลูมิเนต (C3A) ในน้ำปูนซีเมนต์กับน้ำจะก่อให้เกิดสารประกอบแคลเซียมไฮดรอกไซด์
(Ca(OH)2) แคลเซียมอลูมิเนตไฮเดรต (CAH) และแคลเซียมซิลิเกตไฮเดรต (CSH)
กระบวนการกัดกร่อนของซัลเฟตจะเริ่มจากซัลเฟตอิออนของโซเดียมซัลเฟต
(Na2So4) และ แมกนีเซียมซัลเฟต (MgSo4) แพร่กระจายเข้าในโพรงคอนกรีตแล้วทำปฏิกิริยากับสารประกอบ Ca(OH)2 และ CAH ที่เหลือจากปฏิกิริยาไฮเดรชั่น
เกิดเป็นยิปซั่ม และคัลเซียมโฟอลูมิเนต Ettringite สารประกอบ
ยิปซั่ม และ Ettringite ที่เกิดขึ้นนี้จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นจากเดิมกว่า
2 เท่า ทำให้เกิดการขยายตัวของซีเมนต์เพสท์จนแตกร้าว
หลังการแตกร้าว
น้ำและความชื้นจะซึมผ่านรอยแตกเหล่านี้เข้าทำลายเหล็กเสริมทำให้เหล็กเสริมเกิดสนิม
และพองตัวดันให้คอนกรีตแตกร้าวมากยิ่งขึ้น
จนสูญเสียความสามารถในการรับกำลังในที่สุดและสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กคือพื้นที่หน้าตัดของเหล็กเสริมจะลดน้อยลงด้วย
นอกจากนั้นปฏิกิริยาของ MgSo4 ยังก่อให้เกิดการสลายตัวของ CSH
ทำให้ความสามารถในการรับกำลังของคอนกรีตลดลงอีกด้วย
จากการวิจัยเกี่ยวกับความเสียหายจากซัลเฟตในคอนกรีตของทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญของซีแพคอย่างต่อเนื่องโดยนำปัจจัยต่างๆ
ที่มีผลต่อการกัดกร่อนมาพิจารณาอย่างละเอียด
ทำให้ซีแพคสามารถพัฒนาส่วนผสมคอนกรีตที่มีความสามารถในการต้านทานความเสียหายจากซัลเฟตได้สูงสุด
และเหมาะกับการใช้งานในประเทศ
CPAC Sulphate Resisting Concrete คือคอนกรีตพิเศษที่ซีแพควิจัย
และพัฒนาขึ้นเพื่อให้มีความสามารถในการต้านทานความเสียหายจากซัลเฟตสูงสุด
ด้วยหลักการลดปริมาณรวมของ CAH และ Ca(OH)2 ที่เป็นสาเหตุหลักของความเสียหาย
โดยการผสมวัสดุปอซโซลานในส่วนผสมคอนกรีตในระดับที่เหมาะสมประกอบกับการออกแบบส่วนผสมจากทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญของซีแพคให้มีอัตราส่วนน้ำต่อตัวเชื่อมประสานที่ต่ำที่สุด
และมีปริมาณซีเมนต์ในระดับที่เหมาะสม
นับเป็นวิธีการแก้ปัญหาความเสียหายจากซัลเฟตที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง
คอนกรีตพื้นอุตสาหกรรมซีแพค CPAC Industrial Floor Concrete
ปัญหาของงานพื้นอุตสาหกรรม : งานพื้นอุตสาหกรรม (Industrial Floor) เป็นอีกงานโครงสร้างที่กำลังเข้ามามีบทบาทในธุรกิจค้าปลีกค้าส่งประเภท Superstore รวมไปถึงอุตสาหกรรมภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมหนัก เช่น อุตสาห-กรรมผลิตและประกอบรถยนตร์ หรืออุตสาหกรรมทั่วไป เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ อุตสาห-กรรมการผลิตอาหาร ฯลฯ และเนื่องจากพื้นอุตสาห-กรรม เป็นโครงสร้างคอนกรีตที่ต้องเจอการขัดสีที่ผิวหน้าสูง ทั้งจากรถบรรทุกสินค้าหรือจากรถ Fork Lift ดังนั้น คอนกรีตที่ใช้เทพื้นอุตสาหกรรมจะต้องมีคุณสมบัติทนทาน มีความแข็งแกร่ง ต้านทานการขัดสีได้ดี และสามารถทำผิวให้เรียบได้ง่าย
โดยทั่วไปวิธีการหนึ่งเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้ผิวหน้าคอนกรีต
คือการเทคอนกรีตปกติทั่วไป แล้วตามด้วยการทำ Floor Hardener บนผิวหน้าคอนกรีตที่เท
ซึ่งเป็นวิธีการที่ยุ่งยาก คุณภาพผิวหน้าคอนกรีตไม่สม่ำเสมอ
อีกทั้งคุณภาพพื้นผิวที่ทำเสร็จแล้วจะขึ้นอยู่กับความสามารถและความชำนาญส่วนบุคคลของช่างผู้ปฏิบัติเป็นหลัก
หากช่างไม่มีความชำนาญที่เพียงพอแล้ว และการควบคุมคุณภาพไม่ดีพอ ก็มักพบปัญหา Floor
Hardener กระเทาะหลุดร่อนออกจากพื้นคอนกรีต
ทำให้ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมภายหลัง
ทางเลือกใหม่ของพื้นอุตสาหกรรม : เพื่อขจัดปัญหาการทำ
Floor Hardener ซึ่งทำการควบคุมคุณภาพได้ยาก
ใช้เวลาในการทำงานนานและมีความยุ่งยาก
CPAC Industial Floor
Concrete จึงเป็นทางเลือกใหม่ในงานพื้นอุตสาหกรรมทุกรูปแบบทางซีแพคได้พัฒนาและออกแบบคอนกรีตมาให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงานอุตสาหกรรม
ด้วยส่วนผสมคอนกรีตที่มีปริมาณน้ำและปริมาณซีเมนต์ที่เหมาะสม
ทำให้คอนกรีตพื้นอุตสาหกรรม CPAC มีคุณสมบัติทนทานต่อการขัดสี
สามารถทำงานได้ง่ายและไม่ต้องทำ Floor Hardener เมื่อเทคอนกรีตแล้วสามารถทำการขัดมันได้เลย
ทำให้ประหยัดเวลาและมีความสะดวกรวดเร็ว
คอนกรีตไหลเข้าแบบง่ายซีแพค CPAC Self-Compacting Concrete
สำหรับงานก่อสร้างคอนกรีต
การทำคอนกรีตให้แน่นเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการรับน้ำหนัก
และมีความทนทาน แต่สำหรับงานก่อสร้างหลายประเภทการทำคอนกรีตให้แน่นด้วยวิธีการปกติหรือใช้คอนกรีตปกติไม่สามารถทำได้
ได้แก่ งานโครงสร้างที่มีเหล็กเสริมซับซ้อนและหนาแน่นมากเป็นพิเศษ
หรือโครงสร้างที่การจี้เขย่าทำได้ยากหรือทำไม่ได้เลย
รวมทั้งทั้งโครงสร้างเสาหรือกำแพงสูง ที่ไม่สามารถเทได้เพียงครั้งเดียว
ล้วนก่อให้เกิดปัญหาที่หนักใจแก่วิศวกรผู้ออกแบบ ผู้รับเหมา และผู้ควบคุมงาน
ว่าจะทำอย่างไรให้คอนกรีตไหลผ่านเหล็กเสริมที่หนาแน่นมากๆ
เข้าเต็มแบบได้โดยไม่เกิดการแยกตัว
รวมทั้งเมื่อถอดไม้แบบออกคอนกรีตมีเนื้อแน่นไม่เป็นรูโพรง(Honeycomb) สามารถรับน้ำหนักตามที่ออกแบบไว้ได้
หรืองานที่มีวิธีการเทคอนกรีตที่ไม่สามารถทำด้วยวิธีปกติ เช่น
วิธีการเทด้วยท่อส่งคอนกรีต (Tremie Process) ที่ต้องการคอนกรีตที่มีคุณสมบัติไหลตัวเป็นพิเศษหรือแม้กระทั่งงานซ่อมโครงสร้าง
ที่คอนกรีตต้องมีคุณสมบัติทดแทนวัสดุเก่าได้
โดยมีวิธีการทำให้คอนกรีตแน่นได้ง่ายที่สุด แล้ววันนี้ปัญหาดังกล่าวก็หมดไปด้วย CPAC
Self-Compacting Concrete
CPAC Self-Compacting Concrete คือนวัตกรรมของคอนกรีตที่ซีแพควิจัย
และพัฒนาขึ้นให้มีคุณสมบัติของความสามารถในการเปลี่ยนรูปร่าง (Deformability)
ความสามารถในการแทรกตัว (Filling Ability) และความสามารถในการต้านทานการแยกตัว
(Segregation Resistance) สูง
สามารถไหลผ่านเหล็กเสริมที่ซับซ้อนและหนาแน่นมากๆ ได้อย่างง่ายดาย
และเนื้อคอนกรีตยังสามารถอัดแน่นเข้าไปยังทุกมุมมองแบบหล่อด้วยน้ำหนักของคอนกรีตเองโดยไม่ต้องมีการจี้เขย่า
นอกจากนี้เนื้อคอนกรีตที่แข็งตัวแล้วยังมีความทึบน้ำและความคงทนสูงทำให้โครงสร้างมีอายุการใช้งานยาวนาน
CPAC Self-Compacting Concrete ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการทำงาน
และได้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาตลอดจนข้อจำกัดต่างๆ อย่างมากในงานก่อสร้าง เช่น
1.โครงสร้างที่มีรูปแบบยากต่อการจี้เขย่า เช่น โครงสร้างประเภท Steel Composited Column, Sandwiched Composited Box, I-Girder, T-Girder, Lining
2.โครงสร้างที่ไม่สามารถเทได้ภายในครั้งเดียว หรือต้องใช้เทคนิคการเทพิเศษอื่นๆ เช่น เสา หรือกำแพงสูงๆ ทำให้ไม่ต้องเจาะแบบข้าง หรือแบ่งชั้นเท และลดรอยต่อในโครงสร้างลงได้
3.โครงสร้างที่มีเหล็กเสริมซับซ้อน และหนาแน่นมากๆ
4.งานซ่อมแซมโครงสร้างที่ต้องการคอนกรีตที่มีการไหลตัวดีเยี่ยม
5.โครงสร้างที่ต้องการผิวหน้าคอนกรีตที่เรียบ ทำให้ลดระยะเวลา และค่าใช้จ่ายในการตกแต่งผิวหน้า
6.โครงสร้างที่ต้องการความสะดวก และรวดเร็วในการเทสูง
1.โครงสร้างที่มีรูปแบบยากต่อการจี้เขย่า เช่น โครงสร้างประเภท Steel Composited Column, Sandwiched Composited Box, I-Girder, T-Girder, Lining
2.โครงสร้างที่ไม่สามารถเทได้ภายในครั้งเดียว หรือต้องใช้เทคนิคการเทพิเศษอื่นๆ เช่น เสา หรือกำแพงสูงๆ ทำให้ไม่ต้องเจาะแบบข้าง หรือแบ่งชั้นเท และลดรอยต่อในโครงสร้างลงได้
3.โครงสร้างที่มีเหล็กเสริมซับซ้อน และหนาแน่นมากๆ
4.งานซ่อมแซมโครงสร้างที่ต้องการคอนกรีตที่มีการไหลตัวดีเยี่ยม
5.โครงสร้างที่ต้องการผิวหน้าคอนกรีตที่เรียบ ทำให้ลดระยะเวลา และค่าใช้จ่ายในการตกแต่งผิวหน้า
6.โครงสร้างที่ต้องการความสะดวก และรวดเร็วในการเทสูง
CR : ศูนย์วิชาการ ซีแพค CPAC