คอนกรีตปั๊ม (Concrete Pump) คือ อะไร
คอนกรีตปั๊ม คือ อุปกรณ์ที่ใช้การลำเลียงคอนกรีตชนิดหนึ่ง ในปัจจุบันคอนกรีตปั๊มได้เข้ามามีบทบาทในการลำเลียงคอนกรีต โดยเข้ามาทดแทนรถเข็ม , ลิฟท์ ,ทาวเวอร์เครน, สายพานลำเลียงและวีธีการลำเลียงอื่นๆ ทั้งนี้เนื่องจากคอนกรีตปั๊มสามารถตอบสนองความต้องในการเทคอนกรีตในที่สูงหรือในที่ที่มีอุปกรรค ยากต่อการเทคอนกรีตโดยวิธีอื่นๆ รวมทั้งยังให้ความสะดวกรวดเร็วในการเทคอนกรีตเมื่อเที่ยบกับวิธีอื่นๆด้วย
วิวัฒนาการของคอนกรีตปั๊ม
แนวความคิดเกี่ยวกับการลำเลียงคอนกรีตผ่านท่อโดยอาศัยลูกสูบ ไปยังสถานที่ที่ต้องการเทคอนกรีต เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2473 และแนวความคิดนี้ได้เกิดเป็นจริงขึ้นในปี พ.ศ.2476 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้มีการใช้คอนกรีตปั๊มในการลำเลียงคอนกรีต สำหรับการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำ มิสซิสซิปปี้ ที่เมืองมินิโซต้า
หลักจากปี พ.ศ. 2476 ถึงช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (ปี พ.ศ.2484) ได้มีการใช้คอนกรีตปั๊มในการก่อสร้างบ้าง แต่ยังไม่เป็นที่นิยมเพราะท่อที่ใช้มีขนาดใหญ่ คือขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-8นิ้ว ทำให้มีน้ำหนักมาก ยากต่อการเคลื่อนย้าย
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ปี พ.ศ.2488) ในยุโรป คอนกรีตปั๊มได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการบูรณะประเทศ แต่ในสหรัฐอเมริกา คอนกรีตปั๊มกลับไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากวิธีการและเทคนิคต่างๆ ในการปั๊มยังไม่แน่นอน และยังคงใช้วิธีลองผิดลองถูกอยู่
ในปี พ.ศ. 2500 ได้มีการนำคอนกรีตปั๊มแบบ 2ลูกสูบ ซึ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการใช้งาน หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาคอนกรีตปั๊มมาเป็นลำดับ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2508 ได้มีคอนกรีตปั๊มแบบติดตั้งบนรถมาใช้งานเป็นเครื่องแรก
ภายหลังปี. พ.ศ. 2513 คอนกรีตปั้มได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพราะท่อขนส่งคอนกรีตได้ถูกพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง คือมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5นิ้ว ทำให้สะดวกในการเคลื่อนย้าย และยังมีการพัฒนาคอนกรีตปั๊มแบบติดตั้งบนรถให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำให้ทำงานได้สะดวก ไม่ต้องติดตั้งท่อบ่อย ๆ อีกทั้งการเคลื่อนย้ายก็ทำได้ง่ายอีกด้วย
จนกระทั่งปี พ.ศ.2525 ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ประเทศเยอรมัน ใช้คอนกรีตปั๊มสำหรับลำเลียงคอนกรีต ประมาณ 50% ของการใช้คอนกรีตในงานก่อสร้างทั้งหมด
คอนกรีตปั๊มในประเทศไทย
คอนกรีตปั๊ม เริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยในปี พ.ศ.2522 โดยมีการนำคอนกรีตปั๊มเข้ามาใช้ในงานก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น งานสร้างเขื่อน แต่ในช่วงนั้นยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก ทั้งนี้เพราะราคาของคอนกรีตปั๊มและค่าใช้จ่ายในการปั๊มคอนกรีตสูง รวมทั้งขาดผู้ชำนาญในการใช้คอนกรีตปั๊มด้วย
ในปี พ.ศ. 2522 ประเทศไทยมีคอนกรีตปั๊มอยู่เพียง 16 เครื่อง เป็นแบบติดตั้งบนรถบรรทุก (Truck Mounted Concrete Pump) 7 เครื่อง ที่เหลือเป็นแบบติดตั้งอยู่กับที่ (Stationary Concrete Pump) ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นของผู้รับเหมารายใหญ่เท่านั้น
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 เป็นต้นมา คอนกรีตปั๊มได้ถูกใช้ในงานก่อสร้างมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในงานก่อสร้างอาคารสูง ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยหลายประการ เช่น
1.ได้มีการพัฒนาส่วนผสมคอนกรีตให้เหมาะกับงานคอนกรีตปั๊มมากขึ้น
2.มีการนำน้ำยาผสมเสร็จคอนกรีตที่ช่วยทำให้คอนกรีตลื่น และคอนกรีตแข็งตัวช้ามาใช้ ทำให้สะดวกมากขึ้นในการใช้ปั๊ม
3.มีผู้ชำนาญในการใช้คอนกรีตปั๊มมากขึ้น
4.ความต้องการให้การก่อสร้างเสร็จภายในระยะเวลาอันสั้น
5.อัตราค่าแรงงานสูงมากขึ้น รวมทั้งบุคลากรหายากขึ้น
ในปี พ.ศ.2530 ประเทศไทยมีคอนกรีตปั๊มอยุ่กว่า 60 เครื่อง ในจำนวนนี้ 40% เป็นแบบติดตั้งบนรถ ที่เหลือเป็นแบบติดตั้งอยู่กับที่ คอนกรีตปั๊มทั้งหมดส่วนใหญ่เป็นของผู้รับเหมา และของบริษัทที่ดำเนินการรับจ้างปั๊มคอนกรีต
ผู้ผลิต-จำหน่าย-ขาย บริการเทคอนกรีตผสมเสร็จ คอนกรีตสำเร็จ ปูนผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนน้ำ ซีเมนต์ เทพื้น เทคาน หล่อเสา ปูนกันซึม คอนกรีตสลั๊มปั๊ม เข็มเจาะ แพล้นปูน บางพูน ลำลูกกา ธัญบุรี ปทุมธานี มีนบุรี ถนนนิมิตใหม่ รามอินทรา สายไหม เอกชัย พระราม2 คลองหลวง รังสิต นวนคร บางเขน นนทบุรี บางซื่อ บางขุนเทียน บางมด ตลิ่งชัน สุขุมวิท พระราม9 ปทุมวัน ลาดกระบัง นวมินทร์ บางแค บางปู สมุทรปราการ บางนา ท่าพระ ราษฏร์บูรณะ กทม.ราคาถูก รถโม่เล็ก รถโม่ใหญ่